โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชนชั้นทางสังคมและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชนชั้นทางสังคมและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ชนชั้นทางสังคม vs. สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

นชั้นทางสังคม หรือเรียกเพียง ชนชั้น เป็นกลุ่มมโนทัศน์ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเมืองซึ่งมีศูนย์กลางที่แบบจำลองการจัดชั้นภูมิทางสังคมซึ่งบุคคลถูกจัดอยู่ในกลุ่มหมวดหมู่สังคมลำดับชั้น ชนชั้นสามัญที่สุด คือ ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ชนชั้นเป็นวัตถุสำคัญแห่งการวิเคราะห์สำหรับนักสังคมวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์สังคม อย่างไรก็ดี ไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่านิยามที่ดีที่สุดของคำว่า "ชนชั้น" คืออะไร และคำนี้มีหลายความหมายบริบท ในสำนวนพูดทั่วไป คำว่า "ชนชั้นทางสังคม" โดยทั่วไปพ้องกับ "ชนชั้นทางสังคม-เศรษฐกิจ" ซึ่งนิยามว่าเป็น "บุคคลที่มีสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจหรือการศึกษาเท่ากัน" เช่น ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นวิชาชีพอุบัติใหม่ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คำว่า "ชนชั้น" เริ่มเป็นวิธีหลักในการจัดระเบียบสังคมเป็นการแบ่งลำดับชั้นแทนการจำแนกประเภทอย่างฐานันดร ยศและลำดับ ซึ่งสัมพันธ์กับการให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่ตกทอดมาลดลงโดยทั่วไป และให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งและรายได้เพิ่มขึ้นเป็นตัวชี้วัดฐานะในลำดับชั้นทางสังคม. ทธิพลเมือง (Civil Rights) หมายถึง การที่พลเมืองของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสมัยใหม่สามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมืองของสังคมนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ สิทธิพลเมืองจึงซ้อนทับอยู่กับสิทธิทางการเมือง (political rights) เนื่องจากในสังคม และการเมืองการปกครองสมัยใหม่นั้น เสรีภาพจัดได้ว่าเป็นคุณธรรมรากฐานประการหนึ่งที่ระบบการเมือง และระบบกฎหมายจะต้องธำรงรักษาไว้ ทว่าหากพลเมืองทุกคนมีเสรีภาพอย่างไม่จำกัดแล้วไซร้ การใช้เสรีภาพของพลเมืองคนหนึ่งๆ ก็อาจนำมาซึ่งการละเมิดการมีเสรีภาพของพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐได้เช่นกัน ดังนั้น เสรีภาพของพลเมืองจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่รัฐกำหนดว่า สิ่งใดที่พลเมืองไม่อาจกระทำเพราะจะเป็นการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือ สิ่งใดที่พลเมืองสามารถกระทำได้อย่างอิสระโดยปราศจากการควบคุมของรัฐ เป็นที่มาของการเกิดสิ่งซึ่งเรียกว่า สิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิพลเมือง (Kurian, 2011: 235) ซึ่งในแง่นี้สิทธิพลเมืองจะมีความหมายและขอบเขตแคบกว่าสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพราะสิทธิพลเมืองจะเป็นสิทธิที่พลเมืองทุกๆ คนมีในฐานะพลเมืองของรัฐ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามความคุ้มครองโดยกฎหมายของรัฐที่ตนเป็นพลเมืองอยู่ แต่สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิสากลที่มนุษย์ทุกผู้คนบนโลกนี้ พึงมีเหมือนๆ กันไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใด หรือ เป็นพลเมืองของรัฐใดก็ตาม สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง คือความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่มอบให้พลเมืองทุกคนตามกฎหมาย สิทธิพลเมืองนั้นเป็นสิทธิที่แยกออกจาก "สิทธิมนุษยชน" และ "สิทธิธรรมชาติ" กล่าวคือสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่มอบให้โดยชาติและมีอยู่ภายในเขตแดนนั้น ในขณะที่สิทธิธรรมชาติหรือสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิทธิที่นักวิชาการจำนวนมากอ้างว่าปัจเจกบุคคลมีอยู่แต่กำเนิดโดยธรรมชาต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชนชั้นทางสังคมและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ชนชั้นทางสังคมและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร

ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร

นันดรแห่งราชอาณาจักร (estates of the realm) เป็นระเบียบสังคมอย่างกว้างของสังคมซึ่งมีแนวคิดเป็นลำดับชั้น (hierarchically conceived society) รับรองในสมัยกลางและสมัยใหม่ตอนต้นในทวีปยุโรปที่นับถือศาสนาคริสต์ บ้างแยกเป็นสามฐานันดร ได้แก่ นักบวช ชนชั้นขุนนางและสามัญชน และมักกล่าวถึงตามการจัดอันดับความสำคัญในสมัยกลาง (เนื่องจากพระเป็นเจ้าทรงลิขิตลำดับชั้น) เป็นฐานันดรที่หนึ่ง ที่สองและที่สามตามลำดับ ในแผนดังกล่าว พระเป็นเจ้าทรงลิขิตพันธกิจ (ministry) ซึ่งจำเป็นต่อการลิขิตราชนิกุลและชนชั้นขุนนาง ผู้มอบเอกสิทธิ์แก่สามัญชนผู้ทรงเกียรติ คำว่า "ฐานันดรที่สี่" กำเนิดขึ้นภายหลัง โดยอ้างถึงแรงนอกโครงสร้างอำนาจซึ่งเป็นที่ยอมรับ และมักอ้างอิงถึงสื่อมวลชนอิสระมากที่สุด ระหว่างสมัยกลาง บุคคลเกิดในชนชั้นของตัว และแม้การเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมเป็นไปได้ก็เกิดขึ้นช้า ยกเว้น ศาสนจักรสมัยกลาง ซึ่งเป็นเพียงสถาบันเดียวซึ่งบุรุษสามารถถึงตำแหน่งสูงสุดในสังคมได้ครั้งหนึ่งในชีวิต.

ชนชั้นทางสังคมและฐานันดรแห่งราชอาณาจักร · ฐานันดรแห่งราชอาณาจักรและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชนชั้นทางสังคมและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ชนชั้นทางสังคม มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.94% = 1 / (4 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชนชั้นทางสังคมและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »