โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูเลียส ซีซาร์

ดัชนี จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

22 ความสัมพันธ์: ช่องแคบอังกฤษพลูทาร์กการลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์กิแกโรกงสุลมาร์กุส ยูนิอุส บรูตุสผู้ลูกมาร์กุส อันโตนิอุสรัฐบุรุษลัทธิอิงสามัญชนวุฒิสภาโรมันสาธารณรัฐโรมันสงครามกลางเมืองซีซาร์สงครามกอลสงครามครั้งสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมันผู้เผด็จการโรมันจักรพรรดิเอากุสตุสจักรวรรดิโรมันซุเอโตนิอุสปฏิทินจูเลียนแม่น้ำรูบิคอนแม่น้ำไรน์โรม

ช่องแคบอังกฤษ

องแคบจากอวกาศ ช่องแคบอังกฤษ (English Channel; La Manche) เป็นช่องแคบในมหาสมุทรแอตแลนติกที่แยกระหว่างเกาะบริเตนใหญ่กับแผ่นดินทวีปยุโรป โดยระยะทางของช่องแคบเริ่มตั้งแต่ฝรั่งเศสทางตอนเหนือไปจนถึงทะเลเหนือที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นกัน โดยช่องแคบมีความยาวประมาณ 560 กิโลเมตร และมีความกว้างที่แตกต่างกันระหว่าง 240 กิโลเมตรซึ่งกว้างที่สุด จนไปถึงส่วนที่แคบที่สุดที่มีความกว้างเพียง 34 กิโลเมตรบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ช่องแคบอังกฤษถือเป็นทะเลน้ำตื้นที่เล็กที่สุดในบริเวณไหล่ทวีปยุโรป โดยครอบคลุมพื้นที่เพียง 75,000 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และช่องแคบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พลูทาร์ก

ลูทาร์ก (Plutarch) เมื่อเกิดมีชื่อว่า ปลูตาร์โคส (Πλούταρχος) ต่อมาเมื่อเป็นพลเมืองโรมันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส (Lvcivs Mestrivs Plvtarchvs; ราว ค.ศ. 46 – ราว ค.ศ. 120) เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ และนักปรัชญาเพลโตชาวชาวโรมันเชื้อสายกรีกผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนชีวประวัติและสาขาวิชาต่าง ๆ ''Moralia'', 1531 งานเขียนที่สำคัญของพลูทาร์กก็คือ ชีวิตของชาวกรีกและโรมันชนชั้นขุนนาง (Parallel Lives) และ โมราเลีย (Moralia) พลูทาร์กเกิดในครอบครัวจากตระกูลสูงในเคโรเนียที่อยู่ทางตะวันออกของเดลฟีราว 20 ไมล.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และพลูทาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

การลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์

ภาพวาดการลอบสังหารซีซาร์ โดยฌอง-เลออง เจอโรม การลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์เป็นผลแห่งการคบคิดโดยสมาชิกวุฒิสภาโรมันหลายคน มีไกอัส แคสซัส ลอนไจนัสกับมาร์คัส จูนิอัส บรูตัสเป็นผู้นำ สมาชิกวุฒิสภาเหล่านี้ใช้มีดแทงจูเลียส ซีซาร์จนเสียชีวิต ณ ที่ติดกับโรงละครปอมปีย์ในวันไอดส์มีนาคม (15 มีนาคม) 44 ปีก่อนคริสตกาล ขณะนั้นซีซาร์เป็นผู้เผด็จการแห่งสาธารณรัฐโรมัน โดยวุฒิสภาเพิ่งประกาศให้เป็นผู้เผด็จการตลอดกาล (dictator perpetuo) การประกาศดังกล่าวทำให้สมาชิกวุฒิสภาหลายคนเกรงว่าซีซาร์ต้องการโค่นล้มวุฒิสภาแล้วเป็นทรราชแทน ทว่าผู้คบคิดไม่สามารถฟื้นฟูสาธารณรัฐโรมัน ผลของการลอบสังหารนี้นำไปสู่สงครามกลางเมืองผู้ปลดปล่อย และการกำเนิดจักรวรรดิโรมันในบั้นปลาย หมวดหมู่:สาธารณรัฐโรมัน หมวดหมู่:การลอบสังหาร หมวดหมู่:พ.ศ. 500.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และการลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กิแกโร

มาร์กุส ตุลลิอุส กิแกโร (Marcvs Tvllivs Cicero; 3 มกราคม 106 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 7 ธันวาคม 43 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คือนักปรัชญา รัฐบุรุษ นักกฎหมาย นักทฤษฎีการเมือง และนักนิยมรัฐธรรมนูญชาวโรมันโบราณ เขาเกิดในตระกูลขุนนางอันมั่งคั่งในตำแหน่งขุนคลัง เป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะนักพูดและกวีที่มีชื่อเสียงที่สุดของโรมัน เขาเป็นผู้ริเริ่มโรงเรียนผู้นำด้านปรัชญากรีกในโรมัน และสร้างศัพท์ทางปรัชญาในภาษาละตินขึ้นใหม่หลายคำ (เช่น humanitas, qualitas, quantitas, และ essentia) ทำให้เขาโดดเด่นในฐานะนักภาษาศาสตร์ นักแปล และนักปรัชญาด้วย กิแกโรเป็นทั้งนักพูดที่มีพลัง และเป็นนักกฎหมายผู้ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันเขาเป็นที่ยกย่องจากงานเขียนเชิงมนุษยนิยม ปรัชญา และการเมือง ทั้งสุนทรพจน์และจดหมายของกิแกโรหลายฉบับยังคงหลงเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งข้อมูลชั้นต้นที่สำคัญที่สุดในช่วงยุคท้าย ๆ ของสาธารณรัฐโรมัน.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และกิแกโร · ดูเพิ่มเติม »

กงสุล

กงสุล (Consul) เป็นตำแหน่งทางการเมือง ใช้กับผู้แทนอย่างเป็นทางการของรัฐบาลของรัฐหนึ่งในดินแดนของอีกรัฐหนึ่ง ตามปกติมีหน้าที่ช่วยเหลือและคุ้มครองพลเมืองของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุล และเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและไมตรีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ กงสุลแตกต่างจากเอกอัครราชทูตตรงที่เอกอัครราชทูตเป็นผู้แทนจากประมุขแห่งรัฐหนึ่งกับประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เอกอัครราชทูตจากประเทศหนึ่งไปประจำอีกประเทศหนึ่งสามารถมีได้เพียงคนเดียว ขณะที่กงสุลอาจมีได้หลายคน ประจำอยู่นหัวเมืองหลักต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเด็นทางราชการแก่ทั้งพลเมืองของประเทศผู้แต่งตั้งหรือที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ และพลเมืองของประเทศที่กงสุลประจำอยู่ซึ่งต้องการท่องเที่ยวในหรือค้าขายกับประเทศผู้แต่งตั้ง.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และกงสุล · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กุส ยูนิอุส บรูตุสผู้ลูก

มาร์กุส ยูนิอุส บรูตุส (Marcvs Ivnivs Brvtvs, ต้นเดือนมิถุนายน 85 ปีก่อน ค.ศ. - ปลายเดือนตุลาคม 42 ปีก่อน ค.ศ.) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ บรูตุส เป็นนักการเมืองสมัยปลายสาธารณรัฐโรมัน เป็นที่รู้จักกันดีในสมัยใหม่ว่ามีบทบาทแกนนำในการลอบสังหารจูเลียส ซีซาร.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และมาร์กุส ยูนิอุส บรูตุสผู้ลูก · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กุส อันโตนิอุส

มาร์กุส อันโตนิอุส มาร์กี ฟีลิอุส มาร์กี แนโปส (MARCVS ANTONIVS MARCI FILIVS MARCI NEPOS, M·ANTONIVS·M·F·M·N; 14 มกราคม 83 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 1 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หรือที่เรียกทั่วไปว่า มาร์ก แอนโทนี (Mark Antony) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพของสาธารณรัฐโรมัน ในฐานะผู้บัญชาการทหารและผู้ปกครอง เขาเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญและเพื่อนผู้ภักดีของลูกพี่ลูกน้องของมารดา จูเลียส ซีซาร์ หลังการลอบสังหารซีซาร์ แอนโทนีตั้งพันธมิตรทางการเมืองอย่างเป็นทางการกับอ็อกตาวิอานุส (หรือจักรพรรดิเอากุสตุสในเวลาต่อมา) กับมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส ซึ่งนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า คณะสามผู้นำที่สอง (Second Triumvirate) คณะสามผู้นำแตกเมื่อ 33 ปีก่อน..

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และมาร์กุส อันโตนิอุส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบุรุษ

รัฐบุรุษคือ บุคคลผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินในฐานะต่าง ๆ อาทิ ผู้นำทางการเมือง หรือผู้นำทางทหาร โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งได้ประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และได้ช่วยเหลือจงรักภักดีต่อชาตินั้น ๆ จนเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และรัฐบุรุษ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอิงสามัญชน

ประชานิยม (populism) นิยามว่าเป็นอุดมการณ์ หรือที่พบได้น้อยกว่าว่าเป็น ปรัชญการเมือง, p. 3 หรือเป็นวาทกรรมประเภทหนึ่ง นั่นคือ แนวคิดทางสังคมการเมืองซึ่งเปรียบ "ประชาชน" กับ "อภิชน" และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมและการเมือง นอกจากนี้ ประชานิยมยังสามารถนิยามได้ว่าเป็นรูปแบบวาทศิลป์ซึ่งสมาชิกความเคลื่อนไหวภาคการเมืองหรือสังคมหลายคนใช้ พจนานุกรมเคมบริดจ์นิยามว่าเป็น "แนวคิดและกิจกรรมทางการเมืองอันมีเจตนาเพื่อเป็นตัวแทนของความต้องการและความปรารถนาทั่วไปของประชาชน" ประชานิยมสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นวาทกรรมการเมืองซึ่งดึงดูดใจประชากรส่วนใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของชนชั้นและการถือพวกทางการเมือง ประชานิยมนั้นตรงกันข้ามกับรัฐนิยม ซึ่งถือว่านักการเมืองอาชีพเพียงจำนวนหนึ่งมีความรู้ดีกว่าประชาชนและการตัดสินใจของรัฐในนามของพวกนั้น อย่างไรก็ตาม มีการอธิบายว่าผู้นิยมประชานิยมนั้นค้ำจุนรัฐบาลอำนาจนิยม อันเกิดจากกระบวนการปลุกระดมทางการเมืองซึ่งผู้นำจะปราศรัยแก่มวลชนโดยปราศจากการประนีประนอมของพรรคหรือสถาบันใ.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และลัทธิอิงสามัญชน · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาโรมัน

“Senatus Populusque Romanus”(วุฒิสภาและประชาชนโรมัน) วุฒิสภาโรมัน (Senatvs Romanvs) เป็นสถาบันทางการเมืองของโรมันโบราณที่ก่อตั้งก่อนที่พระมหากษัตริย์แห่งโรมพระองค์แรกจะขึ้นครองราชย์ (ที่กล่าวกันว่าเป็นเวลา 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระบบนี้รอดการล่มสลายของราชอาณาจักรโรมันเมื่อ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช, การล่มสลายของสาธารณรัฐโรมันเมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช และการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี..

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และวุฒิสภาโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโรมัน

รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และสาธารณรัฐโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองซีซาร์

มหาสงครามกลางเมืองโรมัน (49–45 ปีก่อน ค.ศ.) หรือเรียก สงครามกลางเมืองซีซาร์ (Caesar's Civil War) เป็นความขัดแย้งทางการเมือง-การทหารหนึ่งในสาธารณรัฐโรมันก่อนการสถาปนาจักรวรรดิโรมัน สงครามนี้เริ่มจากการเผชิญหน้าทั้งทางการเมืองและการทหารหลายครั้งระหว่างจูเลียส ซีซาร์ ผู้สนับสนุนทางการเมืองของเขา (รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า Populare) และลีเจียน กับ Optimate (หรือ Boni) กลุ่มแยกอนุรักษนิยมทางการเมืองและประเพณีนิยมทางสังคมของวุฒิสภาโรมัน ผู้ได้รับการสนับสนุนโดยปอมปีย์กับลีเจียนของเขา หลังการต่อสู้ทางการเมือง-การทหารนานสี่ปี ซึ่งสู้รบกันในอิตาลี อัลเบเนีย กรีซ อียิปต์ แอฟริกา และฮิสปาเนีย ซีซาร์พิชิต Optimate กลุ่มสุดท้ายในยุทธการที่มุนดา และกลายเป็นผู้เผด็จการตลอดชีพ (Dictator perpetuo) แห่งโรม การเปลี่ยนแปลงการปกครองโรมันที่เกิดขึ้นพร้อมกับสงครามส่วนใหญ่กำจัดประเพณีทางการเมืองของสาธารณรัฐโรมัน และนำไปสู่จักรวรรดิโรมันในที.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และสงครามกลางเมืองซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกอล

งครามกอล เป็นชุดการทัพซึ่งจูเลียส ซีซาร์ โปรกงสุลโรมัน เป็นผู้ดำเนินต่อชนเผ่ากอลหลายเผ่า สงครามกินเวลาตั้งแต่ 58 ปีก่อน..

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และสงครามกอล · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครั้งสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมัน

งครามครั้งสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมัน หรือเรียก สงครามกลางเมืองของแอนโทนี หรือ สงครามระหว่างแอนโทนีกับออกเตเวียน เป็นสงครามกลางเมืองโรมันครั้งสุดท้ายในสมัยสาธารณรัฐ เป็นสงครามระหว่างคลีโอพัตรา (โดยมีมาร์ค แอนโทนีสนับสนุน) และออกเตเวียน หลังจากวุฒิสภาโรมันประกาศสงครามต่อราชินีคลีโอพัตรา แอนโทนีซึ่งเป็นทั้งคนรักและพันธมิตรของนาง ทรยศต่อโรมและเข้าร่วมสงครามโดยถือฝ่ายคลีโอพัตรา หลังจากชัยอย่างเด็ดขาดของออกเตเวียนในยุทธการที่แอคติอุม คลีโอพัตราและแอนโทนีถอยทัพไปอเล็กซานเดรีย ที่ซึ่งออกเตเวียนล้อมเมืองไว้จนศัตรูทั้งสองกระทำอัตวินิบาตกรรม หลังสงครามยุติ ออกเตเวียนนำสันติภาพมาสู่รัฐโรมันซึ่งตกอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองมาเป็นเวลานับศตวรรษ ออกเตเวียนกลายมาเป็นบุคคลทรงอำนาจที่สุดในโลกโรมัน และวุฒิสภาแต่งตั้งให้เขาเป็นจักรพรรดิออกัสตัส เมื่อ 27 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์แรก และเปลี่ยนรูปแบบสาธารณรัฐซึ่งปกครองระบอบคณาธิปไตย/ประชาธิปไตย มาเป็นจักรวรรดิโรมัน ซึ่งมีการปกครองแบบอำนาจนิยม สงครามนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของสันติภาพโรมัน ซึ่งเป็นยุคแห่งสันติภาพและเสถียรภาพของทวีปยุโรปที่ยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่มีบันทึก.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และสงครามครั้งสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผด็จการโรมัน

ในสาธารณรัฐโรมัน ผู้เผด็จการ คือ "แมจิสเทรตวิสามัญ" (magistratus extraordinarius) โดยมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินภาระนอกเหนือจากแมจิสเทรตสามัญ (magistratus ordinarius) ตำแหน่งผู้เผด็จการเป็นการประดิษฐ์กฎหมายที่เดิมชื่อ Magister Populi (นายประชาชน) คือ นายแห่งกองทัพพลเมือง คำนี้มาจากคำว่า dicto หมายถึง สั่งการ วุฒิสภาโรมันผ่านกฤษฎีกาวุฒิสภา (senatus consultum) อนุญาตกงสุลให้เสนอชื่อผู้เผด็จการ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นเดียวของหลักมีผู้ดำรงตำแหน่งเดียวกันหลายคน (collegiality) และความรับผิดชอบ (ความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง) ตามกฎหมายโรมัน มีผู้ได้รับแต่งตั้งคนเดียว และเป็นแมจิสเทรตสูงสุด ไม่มีความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง มีลิกเตอร์ (องครักษ์) 24 คนรับใช้ อนุญาตให้มีผู้เผด็จการได้คนเดียว เนื่องจากมีอำนาจสิทธิ์ขาดใหญ่ (imperium magnum) ซึ่งสามารถลบล้าง ปลดหรือประหารชีวิตคุรูเลแมจิสเทรต (curule magistrate) ซึ่งถืออำนาจสิทธิ์ขาดได้ มีผู้เผด็จการหลายแบบแตกต่างกันตามสาเหตุการสถาปนา รูปแบบที่พบบ่อยที่สุด และที่สัมพัน์กับผู้เผด็จการโรมันมากที่สุด คือ rei gerundae causa "เพื่อจัดการปัญหา" ซึ่งแทบทุกครั้งเกี่ยวข้องกับการนำกองทัพเข้าสู่สมรภูมิและเจาะจงข้าศึกให้รบ มีผู้เผด็จการอย่างน้อยหนึ่งคนได้รับกำหนดให้เป็น seditionis sedandae et rei gerundae causa "เพื่อกำราบการกบฏและจัดการปัญหา" ผู้เผด็จการยังได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ปกครองหรือทางศาสนา เช่น จัดการเลือกตั้ง (omitiorum habendorum causa เป็นรูปแบบผู้เผด็จการที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับสอง) หรือการตอกตะปูเข้าเทวสถานจูปิเตอร์อ็อปติมัสแม็กซิมัสเพื่อยุติโรคติดต่อร้ายแรง (clavi figendi causa) โรมันเลิกตั้งผู้เผด็จการหลังยุคสงครามพิวนิกครั้งที่สอง มีการฟื้นฟูตำแหน่งระหว่างสงครามกลางเมืองโรมันโดยลูเซียส คอร์นีเลียส ซุลลา เฟลิกซ์ จูเลียส ซีซาร์ยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เผด็จการในหลายโอกาส จักรพรรดิโรมันเลี่ยงการใช้ยศดังกล่าวเพื่อเลี่ยงคำตำหนิที่ตามมาซึ่งเป็นผลของผู้เผด็จการสองคนหลังสุดนี้.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และผู้เผด็จการโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเอากุสตุส

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน..

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และจักรพรรดิเอากุสตุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ซุเอโตนิอุส

กาอิอุส ซุเอโตนิอุส ตรังกวิลลุส (Caivs Svetonivs Tranqvillvs; ราว ค.ศ. 69/ค.ศ. 75 – หลัง ค.ศ. 130) เป็นขุนนางโรมัน (eques) และนักประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยจักรวรรดิโรมัน งานชิ้นสำคัญของซุเอโตนิอุสคือ ว่าด้วยชีวิตของเหล่าไกซาร์ (De Vita Caesarvm) ซึ่งเป็นงานเขียนเกี่ยวกับชีวประวัติในยุทธการของประมุขโรมัน 12 พระองค์ตั้งแต่จูเลียส ซีซาร์ ไปจนถึงจักรพรรดิดอมิติอานุส งานเขียนอื่นเป็นงานเขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในกรุงโรม, การเมือง, สุนทรพจน์ และชีวิตของนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่รวมทั้งกวี นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ บางส่วนของหนังสือเหล่านี้ยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่อีกหลายเล่มก็สูญหายไป.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และซุเอโตนิอุส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar; คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส) เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยกงสุลจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน โดยปฏิรูปจากปฏิทินโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีผลบังคับใช้ในปีถัดไปคือ 45 ปีก่อนคริสต์ศักราช รอบปีหนึ่งของปฏิทินจูเลียนมี 12 เดือน มีจำนวนวันรวม 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มอธิกวารทุก ๆ สี่ปี ดังนั้นรอบปีโดยเฉลี่ยต่อสี่ปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม) จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในปี 153 ก่อน..

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และปฏิทินจูเลียน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำรูบิคอน

เส้นทางการไหลของแม่น้ำรูบิคอนที่ได้รับการสันนิษฐาน รูบิคอน (Rubicon), รูบีโคเน (Rubicone) หรือ รุบิโก (Rvbico) เป็นแม่น้ำตื้น ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี ยาวประมาณ 80 กิโลเมตร ทอดยาวจากเทือกเขาแอเพนไนน์ไปจนถึงทะเลเอเดรียติก ผ่านแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาตอนใต้ สำหรับ rvbico ในภาษาละติน มาจากคำคุณศัพท์ rvbevs แปลว่า "สีแดง" แม่น้ำรูบิคอนได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากน้ำในแม่น้ำมีสีแดงจากโคลนที่ทับถมกัน สำนวน "ข้ามแม่น้ำรูบิคอน" มีความหมายว่า ผ่านจุดที่ไม่มีทางหวนกลับ และหมายถึง การข้ามแม่น้ำดังกล่าวของจูเลียส ซีซาร์ เมื่อ 49 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งพิจารณาว่าเป็นการประกาศสงคราม เนื่องจากเส้นทางการไหลของแม่น้ำได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากนับตั้งแต่นั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันอย่างชัดเจนว่าแม่น้ำรูบิคอนมีเส้นทางการไหลอย่างไรเมื่อซีซาร์และกองทหารลีเจียนของเขาข้ามแม่น้ำไป หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศอิตาลี หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์อิตาลี.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และแม่น้ำรูบิคอน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไรน์

แผนที่แดงเส้นทางแม่น้ำจากเทือกเขาแอลป์สู่ทะเลเหนือ ไรน์ (Rhine; Rein; Rhein; Rhin; Rijn) เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญ สามารถขนสินค้าเข้าสู่ภายในแผ่นดินยุโรปได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และภูมิศาสตร์ในการเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่สำคัญของยุโรป ร ร ร ร ร ร ร หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: จูเลียส ซีซาร์และโรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Julius Caesarจูเลียส ซีซ่าร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »