โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูเซปเป แวร์ดีและแซกโซโฟน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จูเซปเป แวร์ดีและแซกโซโฟน

จูเซปเป แวร์ดี vs. แซกโซโฟน

Verdi จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากอุปรากรเรื่อง ลา ทราเวียตตา ไอด้า โอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเชโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรแวร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของอุปรากรเรื่อง กัลบกแห่งเมืองเซวิลล์ (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคคิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโซ ลาวินยา ผลงานประพันธ์อุปรากรเรื่องแรกของเขาคือ Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์อุปรากรชวนหัวเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไก นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของแวร์ดี เขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขา หลังจากที่อุปรากรเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกัน ในปีต่อมา อุปรากรเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดี แต่เขาเห็นว่าการแสดงงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงอุปรากรเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่าง ๆ ทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซ ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้งจากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก อุปรากรเรื่องอื่น ๆ ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) แวร์ดีได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่าง ๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่ามาแก้ไขเล็กน้อย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาได้ประพันธ์ให้แก่ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงชาวยิวสำหรับกลุ่มนักร้องประสานเสียงขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ) เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้เริ่มการปลุกระดมที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») แวร์ดีทราบเรื่องการนำชื่อของเขาไปใช้ ซึ่งโดยหลักแล้วเขาควรจะห้าม แต่เขาก็ไม่ได้ห้าม เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกนำเสนอในบทอุปรากรเรื่อง I Lombardi แวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสน์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี. รอบครัวแซกโซโฟน (เรียงลำดับใหญ่-เล็ก) คอนทร่าเบสแซกฯ, เบสแซกฯ, บาริโทนแซกฯ, เทนเนอร์แซกฯ, C เทนเนอร์แซก, อัลโต้แซกฯ, F อัลโต้แซก, โซปราโน่แซกฯ, C โซปราโน่แซกฯ และโซปรานิโน่แซกฯ อัลโต้ แซกโซโฟน (ยามาฮ่า รุ่น YAS-275 MK1) แซกโซโฟน (saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า "คลาริเนตทองเหลือง" (brass clarinet) โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงอย่างมาก CR:"NiCEkUNG.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จูเซปเป แวร์ดีและแซกโซโฟน

จูเซปเป แวร์ดีและแซกโซโฟน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จูเซปเป แวร์ดีและแซกโซโฟน

จูเซปเป แวร์ดี มี 70 ความสัมพันธ์ขณะที่ แซกโซโฟน มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (70 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จูเซปเป แวร์ดีและแซกโซโฟน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »