โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูล่งและห้าทหารเสือ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จูล่งและห้าทหารเสือ

จูล่ง vs. ห้าทหารเสือ

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี.. รูปปั้น 5 ทหารเสือในเมืองเฉิงตู ประเทศจีน ห้าทหารเสือ หรือ ห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊ก หรือห้าขุนพลพยัคฆ์ ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ห้าทหารเสือเป็นตำแหน่งเรียกขานขุนศึกผู้มีฝีมือเก่งกาจ เป็นที่เลื่องลือกล่าวขานทั่วทั้งแผ่นดินจำนวน 5 คนของพระเจ้าเล่าปี่ในสมัยยุคสามก๊ก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทหารเสือที่เอก ภายหลังจากเล่าปี่ครองเมืองเสฉวนและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าฮันต๋งแห่งแคว๊นจ๊ก ห้าทหารเสือที่ได้รับการแต่งตั้งได้แก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จูล่งและห้าทหารเสือ

จูล่งและห้าทหารเสือ มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บุนทิวกวนอูกองซุนจ้านศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวสามก๊กอ้วนเสี้ยวจูกัดเหลียงซุนกวนซุนฮูหยินโจโฉเล่าปี่เล่าเสี้ยนเตียวหุย

บุนทิว

บุนทิว ตามสำเนียงกลาง (Wen Chou) เป็นแม่ทัพของอ้วนเสี้ยว เป็นหนึ่งในสองขุนพลของอ้วนเสี้ยวทีมีฝีมือเลื่องชื่อ แต่ก่อนได้รับฉายาว่าเจ้าแห่งทวนเพราะใช้ทวนเก่งมาก (ขุนพลของอ้วนเสี้ยวอีกคนคือ งันเหลียง) เคยประมือกับจูล่งถึง 60 เพลงก่อนหนีกลับค่ายไป และเมื่อรู้ว่างันเหลียงถูกฆ่าตายในสนามรบก็คิดจะออกไปแก้แค้น บุนทิวถูกฆ่าตายในการศึกกับทัพของโจโฉ เมื่อ ค.ศ. 200 ในสามก๊กของหลอกว้านจง เล่าว่าบุนทิวถูกกวนอูสังหาร แต่บางตำรากล่าวว่าบุนทิวถูกอาวุธของเตียวเลี้ยวขณะทำการรบติดพันจนเสียชีวิต หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ง่อก๊ก.

จูล่งและบุนทิว · บุนทิวและห้าทหารเสือ · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

กวนอูและจูล่ง · กวนอูและห้าทหารเสือ · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนจ้าน

กองซุนจ้าน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนจ้าน (Gongsun Zan) มีชื่อรองว่า โป๋กุย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองปักเป๋ง กองทัพส่วนใหญ่ของกองซุนจ้านส่วนใหญ่ขี่ม้าสีขาว เนื่องจากกองซุนจ้านปราบพวกชนเผ่าพื้นเมืองเกียง เข้าผนวกทัพของตน กองซุนจ้านเป็นเพื่อนกับเล่าปี่มาตั้งแต่ครั้งยังเรียนหนังสือด้วยกัน ในสงครามปราบตั๋งโต๊ะ ในที่ประชุมพล อ้วนเสี้ยวถามว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหลังกองซุนจ้านเป็นใคร กองซุนจ้านจึงแนะนำว่า ผู้นี้เป็นสหายข้าพเจ้า ชื่อเล่าปี่ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น บรรดาขุนพลจึงได้รู้จักเล่าปี่เป็นครั้งแรก และเป็นที่มาของวีรกรรมกวนอู เมื่ออาสาตัดหัวฮัวหยงได้โดยที่สุราที่โจโฉรินอวยพรให้ ยังอุ่น ๆ อยู่ เมื่อครั้งเล่าปี่ตกอับ กองซุนจ้านได้เขียนฎีกาทูลฮ่องเต้ ให้อภัยโทษแก่เล่าปี่ ต่อมาอ้วนเสี้ยวอยากได้กิจิ๋ว ซึ่งเจ้าเมืองกิจิ๋วคือฮันฮก เป็นคนอ่อนแอ อ้วนเสี้ยวคิดแผนการไม่ออก ฮองกี๋จึงแนะแผนการใช้กองซุนจ้านนำทัพมา แล้วให้อ้วนเสี้ยวนำทัพไปกิจิ๋ว อ้างว่ามาช่วย สุดท้ายอ้วนเสี้ยวยึดเมืองกิจิ๋วไว้เอง กองซุนจ้านส่งกองซุนอวดน้องชายตนไปเจรจา แต่กลับถูกทหารอ้วนเสี้ยวปลอมเป็นทหารตั๋งโต๊ะดักยิงตาย กองซุนจ้านโกรธเป็นอย่างมาก จึงได้รบกับอ้วนเสี้ยวอยู่หลายครั้ง เมื่อครั้งกองซุนจ้านนำทัพมาเผชิญหน้ากับกองทัพของอ้วนเสี้ยวที่สะพานจีเกี้ยว บุนทิวนายทหารเอกของอ้วนเสี้ยว ได้บุกมาจับกองซุนจ้าน จนกองซุนจ้านจนตรอก แต่ดีที่จูล่ง มาช่วยไว้ทันและได้เป็นทหารของกองซุนจ้านในกาลต่อมา ภายหลังกองซุนจ้านสติวิปลาส ไม่ดูแลลูกน้องของตนเองให้ดี เมื่ออ้วนเสี้ยวยกทัพมา ก็ไม่ส่งทหารไปช่วยเหล่าเมืองขึ้น จนสุดท้ายอ้วนเสี้ยวบุกมาถึงเมืองอี้จิง กองซุนจ้านสั่งทหารสร้างกำแพงแน่นหนา แต่ก็ไม่วาย อ้วนเสี้ยวส่งทหารขุดอุโมงค์ไปจับกองซุนจ้าน กองซุนจ้านเมื่อจนตรอก จึงฆ่าบุตรและภรรยา และก็ฆ่าตัวตาย ในปี พ.ศ. 742 อันเป็นปีเดียวกับที่อ้วนสุด น้องชายอ้วนเสี้ยวตาย รูปกองซุนจ้านจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 กองซุนจ้าน.

กองซุนจ้านและจูล่ง · กองซุนจ้านและห้าทหารเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว

อุกิโยะของญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงเตียวหุย ดักรอบุนเพ่ง หนึ่งในขุนพลของโจโฉที่สะพานเตียงปันเกี้ยว ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว (Battle of Changban) เป็นหนึ่งในสงครามสามก๊ก เป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของ เล่าปี่ และ โจโฉ เป็นจุดเริ่มต้นของศึกผาแดงอันลือลั่นในเวลาต่อม.

จูล่งและศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว · ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวและห้าทหารเสือ · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

จูล่งและสามก๊ก · สามก๊กและห้าทหารเสือ · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

จูล่งและอ้วนเสี้ยว · ห้าทหารเสือและอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

จูกัดเหลียงและจูล่ง · จูกัดเหลียงและห้าทหารเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

จูล่งและซุนกวน · ซุนกวนและห้าทหารเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮูหยิน

ซุนฮูหยิน หรือเดิมชื่อ ซุนซ่างเซียง เป็นธิดาเพียงคนเดียวของซุนเกี๋ยนและนางง่อก๊กไท่ เป็นพระราชกนิษฐาต่างพระมารดาของพระเจ้าซุนกวน เมื่อยังเยาว์วัยชอบฝึกฝนอาวุธ เป็นลูกสาวที่ง่อก๊กไท่ไทเฮารักมาก เมื่อจิวยี่คิดยึดเมืองเกงจิ๋ว ได้คิดอุบายลวงเล่าปี่มาแต่งงานกับซุนฮูหยินและจับเล่าปี่เป็นตัวประกันแลกกับเกงจิ๋ว แต่ขงเบ้งแก้ลำจิวยี่ได้ เล่าปี่จึงได้นางซุนฮูหยินนเป็นภรรยา ตัวเล่าปี่เองก็ไม่ต้องถูกจับ เกงจิ๋วก็ปลอดภัย ทั้งจิวยี่ก็กระอักเลือดด้วยความแค้นจนสลบไป ต่อมา เล่าปี่ไปตีเสฉวนโดยทิ้งนางซุนฮูหยินไว้ที่เกงจิ๋ว ซุนกวนใช้จิวเสี้ยนไปลวงนางซุนฮูหยินว่าแม่ป่วยหนักมาก ให้กลับกังตั๋งไปเยี่ยมแม่และให้เอาอาเต๊าบุตรชายของเล่าปี่ไปด้วย ซุนฮูหยินจึงพาอาเต๊าขึ้นเรือไปกังตั๋ง แต่จูล่งและเตียวหุยมานำตัวอาเต๊าคืน นางซุนฮูหยินจึงเดินทางไปกังตั๋งเพียงผู้เดียว ต่อมาจึงรู้ภายหลังว่าถูกหลอก พระเจ้าซุนกวนได้สั่งให้กักตัวนางไว้ ต่อมา พระเจ้าเล่าปี่สวรรคต พระนางซุนฮูหยินรู้ข่าวจึงเสียพระทัยเป็นอันมาก พระนางจึงกระโดดน้ำสิ้นพระชนม์ตามพระเจ้าเล่าปี่ไป.

จูล่งและซุนฮูหยิน · ซุนฮูหยินและห้าทหารเสือ · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

จูล่งและโจโฉ · ห้าทหารเสือและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

จูล่งและเล่าปี่ · ห้าทหารเสือและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเสี้ยน

ระเจ้าเล่าเสี้ยน หรือ หลิวส้าน หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิเซี่ยวหวย พระมหาจักรพรรดิผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดของยุคสามก๊ก ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชสกุลเล.

จูล่งและเล่าเสี้ยน · ห้าทหารเสือและเล่าเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหุย

ตียวหุย (เสียชีวิต ค.ศ. 221) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเฟย์ มีชื่อรองว่า เอ๊กเต๊ก หรือ อี้เต๋อ เป็นแม่ทัพในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เป็นบุคคลคนหนึ่งที่อยู่ในสังกัดห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊กเป็นคนที่ 2.

จูล่งและเตียวหุย · ห้าทหารเสือและเตียวหุย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จูล่งและห้าทหารเสือ

จูล่ง มี 43 ความสัมพันธ์ขณะที่ ห้าทหารเสือ มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 17.81% = 13 / (43 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จูล่งและห้าทหารเสือ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »