โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และอารยธรรมอีทรัสคัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และอารยธรรมอีทรัสคัน

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม) vs. อารยธรรมอีทรัสคัน

“เทพจูปิเตอร์และนิมฟ์ธีทิส” โดย ฌอง โอกุสต์ โดมินิค อิงเกรส์, ค.ศ. 1811 จูปิเตอร์ หรือโจฟ ทรงเป็นราชาแห่งพระเจ้าและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและฟ้าผ่าในเรื่องปรัมปรา จูปิเตอร์ทรงเป็นพระเจ้าหลักของศาสนารัฐโรมันตลอดสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิ จนศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาครอบงำในจักรวรรดิ ในเทพปกรณัมโรมัน พระองค์ทรงเจรจากับนูมา ปอมปีลีอัส พระมหากษัตริย์โรมพระองค์ที่สอง เพื่อสถาปนาหลักการของศาสนาโรมันอย่างการบูชายัญ ปกติคาดว่าจูปิเตอร์กำเนิดขึ้นเป็นเทพเจ้าท้องฟ้า สิ่งที่บอก คือ ฟ้าผ่า และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์หลักของพระองค์ คือ นกอินทรี ซึ่งถือว่าดีกว่านกอื่นในการยึดลาง (augury) และกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยที่สุดอันหนึ่งของกองทัพโรมัน สองสัญลักษณ์นี้มักรวมกันเพื่อแสดงจูปิเตอร์ในรูปอินทรีกำฟ้าผ่าในกรงเล็บ ซึ่งเห็นได้บ่อยในเหรียญกรีกและโรมัน ในฐานะเทพเจ้าท้องฟ้า พระองค์ทรงเป็นพยานศักดิ์สิทธิ์ของคำสาบาน ความไว้วางใจศักดิ์สิทธิ์ซึ่งความยุติธรรมและธรรมาภิบาลยึดถือ หลายหน้าที่ของพระองค์ได้รับความสนใจบนเนินแคพิทะไลน์ ("เนินรัฐสภา") อันเป็นที่ตั้งของป้อม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าหลักในสามแคพิทะไลน์ (Capitoline Triad) ช่วงต้นร่วมกับมาร์สและควิไรนัส ในสามแคพิทะไลน์ช่วงหลัง พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์กลางของรัฐร่วมกับจูโนและมิเนอร์วา ไม้ต้นศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ คือ โอ๊ก ชาวโรมันถือว่าจูปิเตอร์เทียบเท่าซูสของกรีก และในวรรณคดีละตินและศิลปะโรมัน รับเรื่องปรัมปราและสัญรูปของซูสมาภายใต้พระนาม Iuppiter ในประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก จูปิเตอร์ทรงเป็นพระอนุชาของเนปจูนและพลูโต ซึ่งทรงเป็นประธานเหนือหนึ่งในสามอาณาเขตแห่งเอกภพ อันได้แก่ ท้องฟ้า มหาสมุทรและโลกบาดาล มักถือว่า ทิเนียเป็นภาคอิทรัสคัน. อารยธรรมอีทรัสคัน (Etruscan civilization) เป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกอารยธรรมและวิธีการใช้ชีวิตของชนในอิตาลีโบราณและคอร์ซิกาที่ชาวโรมันเรียกว่า “อีทรัสคิ” (Etrusci) หรือ “ทัสคิ” (Tusci) ภาษากรีกแอตติคสำหรับชนกลุ่มนี้คือ “Τυρρήνιοι” (Tyrrhēnioi) ที่แผลงมาเป็นภาษาลาติน “Tyrrhēni” (อีทรัสคัน), “Tyrrhēnia” (อีทรูเรีย (Etruria)) และ “Mare Tyrrhēnum” (ทะเลไทเรเนียน (Tyrrhenian Sea)) ชาวอีทรัสคันเองเรียกตนเองว่า “Rasenna” (ราเซนา) ที่แผลงมาเป็น “Rasna” หรือ “Raśna” (ราซนา) ชาวอีทรัสคันมีภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองแต่ไม่ทราบที่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการก่อตั้งกรุงโรมมาจนกระทั่งกลืนไปกับชาวโรมันโบราณในสาธารณรัฐโรมัน ในจุดที่รุ่งเรืองสูงสุดระหว่าสมัยการก่อตั้งกรุงโรมและราชอาณาจักรโรมันอีทรัสคันประกอบด้วยสามรัฐในสมาพันธรัฐ: ในอีทรูเรีย, ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโป (Po Valley) กับทางตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ และในบริเวณละติอุมและคัมปาเนีย กรุงโรมเองก็อยู่ในดินแดนที่เป็นของอีทรัสคัน และมีหลักฐานว่าในสมัยแรกของโรมเป็นสมัยที่ครอบคลุมโดยอีทรัสคันจนกระทั่งเวอิอิ (Veii) โจมตีกรุงโรมในปี 396 ก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมที่กล่าวว่าเป็นอารยธรรมอีทรัสคันอย่างแน่นอนวิวัฒนาการขึ้นในอิตาลีหลังจากราวปี 800 ก่อนคริสต์ศักราชในบริเวณที่เป็นอารยธรรมวิลลาโนวัน (Villanovan culture) ของยุคเหล็กก่อนหน้านั้น อารยธรรมอีทรัสคันมาเสื่อมโทรมลงราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อมาได้รับอิทธิพลจากนักการค้าชาวกรีกและเพื่อนบ้านของกรีซกรีซใหญ่ (Magna Graecia), อารยธรรมกรีกทางตอนใต้ของอิตาลี หลังจากปี 500 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจทางการเมืองของอีทรัสคันก็สิ้นสุดลงCary, M.; Scullard, H. H., A History of Rome. Page 28.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และอารยธรรมอีทรัสคัน

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และอารยธรรมอีทรัสคัน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สาธารณรัฐโรมัน

สาธารณรัฐโรมัน

รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และสาธารณรัฐโรมัน · สาธารณรัฐโรมันและอารยธรรมอีทรัสคัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และอารยธรรมอีทรัสคัน

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม) มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ อารยธรรมอีทรัสคัน มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.00% = 1 / (9 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และอารยธรรมอีทรัสคัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »