โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และสีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และสีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม) vs. สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)

“เทพจูปิเตอร์และนิมฟ์ธีทิส” โดย ฌอง โอกุสต์ โดมินิค อิงเกรส์, ค.ศ. 1811 จูปิเตอร์ หรือโจฟ ทรงเป็นราชาแห่งพระเจ้าและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและฟ้าผ่าในเรื่องปรัมปรา จูปิเตอร์ทรงเป็นพระเจ้าหลักของศาสนารัฐโรมันตลอดสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิ จนศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาครอบงำในจักรวรรดิ ในเทพปกรณัมโรมัน พระองค์ทรงเจรจากับนูมา ปอมปีลีอัส พระมหากษัตริย์โรมพระองค์ที่สอง เพื่อสถาปนาหลักการของศาสนาโรมันอย่างการบูชายัญ ปกติคาดว่าจูปิเตอร์กำเนิดขึ้นเป็นเทพเจ้าท้องฟ้า สิ่งที่บอก คือ ฟ้าผ่า และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์หลักของพระองค์ คือ นกอินทรี ซึ่งถือว่าดีกว่านกอื่นในการยึดลาง (augury) และกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยที่สุดอันหนึ่งของกองทัพโรมัน สองสัญลักษณ์นี้มักรวมกันเพื่อแสดงจูปิเตอร์ในรูปอินทรีกำฟ้าผ่าในกรงเล็บ ซึ่งเห็นได้บ่อยในเหรียญกรีกและโรมัน ในฐานะเทพเจ้าท้องฟ้า พระองค์ทรงเป็นพยานศักดิ์สิทธิ์ของคำสาบาน ความไว้วางใจศักดิ์สิทธิ์ซึ่งความยุติธรรมและธรรมาภิบาลยึดถือ หลายหน้าที่ของพระองค์ได้รับความสนใจบนเนินแคพิทะไลน์ ("เนินรัฐสภา") อันเป็นที่ตั้งของป้อม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าหลักในสามแคพิทะไลน์ (Capitoline Triad) ช่วงต้นร่วมกับมาร์สและควิไรนัส ในสามแคพิทะไลน์ช่วงหลัง พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์กลางของรัฐร่วมกับจูโนและมิเนอร์วา ไม้ต้นศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ คือ โอ๊ก ชาวโรมันถือว่าจูปิเตอร์เทียบเท่าซูสของกรีก และในวรรณคดีละตินและศิลปะโรมัน รับเรื่องปรัมปราและสัญรูปของซูสมาภายใต้พระนาม Iuppiter ในประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก จูปิเตอร์ทรงเป็นพระอนุชาของเนปจูนและพลูโต ซึ่งทรงเป็นประธานเหนือหนึ่งในสามอาณาเขตแห่งเอกภพ อันได้แก่ ท้องฟ้า มหาสมุทรและโลกบาดาล มักถือว่า ทิเนียเป็นภาคอิทรัสคัน. “Azure” สีน้ำเงินทางซ้าย หรือ ขีดตามแนวนอนทางขวา สีน้ำเงิน หรือ เอเชอร์ (Azure) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีน้ำเงิน ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “เอเชอร์” ก็จะเป็นขีดตามแนวนอน หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “az.” หรือ “b.” ของคำว่า “Azure” คำว่า “Azure” มาจากภาษาเปอร์เซีย “لاژورد” (lazhward) ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันว่ามีแหล่งหินที่มีสีน้ำเงินเข้มที่ปัจจุบันเรียกว่าหินลาพิส ลาซูไล (lapis lazuli หรือ หินจาก lazhward) คำนี้เข้ามาในภาษาภาษาฝรั่งเศสเก่าในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และแผลงไปใช้ในการบรรยายสีของผิวตราของตราอาร์ม “Azure” ที่แปลว่า “น้ำเงิน” ในภาษามุทราศาสตร์ “Azure” แปลง่ายๆ ว่า “สีน้ำเงิน” คำแรกใช้โดยขุนนางนอร์มันผู้พูดภาษาฝรั่งเศส คำหลังที่เพียงแต่เรียกชื่อสีใช้โดยชนสามัญชาวแองโกล-แซ็กซอน “สีน้ำเงิน” เป็นสีที่ใช้กันมากบนอาวุธและธง นอกไปจากสีน้ำเงินมาตรฐานแล้วก็ยังมีสีน้ำเงินอ่อนที่เรียกว่า “สีท้องฟ้า” (bleu celeste) ทั้งสองสีต่างก็มิได้มีการระบุระดับความอ่อนแก่ของสีอย่างแน่นอน แต่ “สีน้ำเงิน” จะใช้เป็นสีที่เข้มกว่า “สีท้องฟ้า” มาก ผิวตราสีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และสีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และสีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์) มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และสีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม) มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์) มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (9 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)และสีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »