โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูกัดกิ๋นและศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จูกัดกิ๋นและศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว

จูกัดกิ๋น vs. ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว

จูกัดกิ๋น (Zhuge Jin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นพี่ชายแท้ ๆ คนโตของขงเบ้ง รับราชการเป็นขุนนางฝ่ายบุ๋นอยู่กับ ซุนกวน ในตอนต้นของศึกเซ็กเพ็ก ระหว่างที่ขงเบ้งมาที่กังตั๋งเพื่อยุยงให้ซุนกวนและจิวยี่ออกรบ เพราะทัพของโจโฉยกมาตั้งที่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีเจตนาเพื่อจะมายึดครองกังตั๋ง จูกัดกิ๋นได้เกลี่ยกล่อมให้ขงเบ้งมาสวามิภักดิ์กับซุนกวนด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อพี่น้องจะได้อยู่ร่วมกัน แต่ก็ไม่สำเร็จ กลับเป็นฝ่ายโดนขงเบ้งเกลี้ยกล่อมมาให้มาฝ่ายเล่าปี่เสียเอง และหลังจากที่เล่าปี่ยึดเสฉวนได้แล้ว ซุนกวนได้สั่งให้จูกัดกิ๋นไปทวงเกงจิ๋วที่เล่าปี่เคยสัญญาไว้ว่า "ถ้ายึดเสฉวนเมื่อไหร่จะยกเกงจิ๋วให้ทันที" เล่าปี่ได้ยกเมืองคืนไป 3 เมือง คือเมือง เลงเหลง, ฮุยเอี๋ยงและเตียงสา โดยเล่าปี่ได้ให้หนังสือถึงกวนอูเพื่อให้กวนอูคืนเมืองทั้งสาม แต่เมื่อจูกัดกิ๋นไปถึงเกงจิ๋วกวนอูกับไม่ยอมคืนสามเมืองให้ จึงกลับหาซุนกวน ซุนกวนจึงต่อว่าจูกัดกิ๋นว่า "ท่านวิ่งกลับมาครั้งนี้ก็ด้วยอุบายของขงเบ้งทั้งสิ้น" ในตอนที่ขงเบ้งยกทัพบุกเขากิสานครั้งที่ 5 ได้มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนกวนเพื่อให้ยกทัพง่อก๊กไปตีวุยก๊กด้วยเป็นการประสานการโจมตีพร้อมกัน ก็เป็นจูกัดกิ๋นและลกซุนเป็นแม่ทัพใหญ่ที่ยกไป ร้อนถึงพระเจ้าโจยอยต้องยกทัพมาเองจากลกเอี๋ยงเพื่อต้านทัพ เพราะสุมาอี้ แม่ทัพใหญ่ก็ติดพันศึกอยู่กับขงเบ้งที่เขากิสาน ท้ายที่สุดทัพของพระเจ้าโจยอยก็ได้รับชัยชนะทำเอาขงเบ้งถึงกับตกใจ จูกัดกิ๋นมีบุตรชายชื่อจูกัดเก๊ก ซึ่งภายหลังได้เป็นราชครูและแม่ทัพใหญ่ของง่อก๊กในรัชสมัยพระเจ้าซุนเหลียง แทนจูกัดกิ๋นผู้เป็นบิดา จูกัดกิ๋นเสียชีวิตในปี พ.ศ. 784 รวมอายุได้ 67 ปี จูกัดกิ๋น จูกัดกิ๋น. อุกิโยะของญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงเตียวหุย ดักรอบุนเพ่ง หนึ่งในขุนพลของโจโฉที่สะพานเตียงปันเกี้ยว ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว (Battle of Changban) เป็นหนึ่งในสงครามสามก๊ก เป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของ เล่าปี่ และ โจโฉ เป็นจุดเริ่มต้นของศึกผาแดงอันลือลั่นในเวลาต่อม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จูกัดกิ๋นและศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว

จูกัดกิ๋นและศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยุทธการที่ผาแดงสามก๊กจูกัดเหลียงโจโฉเล่าปี่

ยุทธการที่ผาแดง

แผนที่บริเวณศึก ยุทธการที่ผาแดง หรือ ศึกผาแดง (Battle of Red Cliffs) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก หรือ ศึกเปี๊ยะเชียะ หรือ ศึกชื่อปี้ (Battle of Chìbì) เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในประเทศจีนในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นใน..

จูกัดกิ๋นและยุทธการที่ผาแดง · ยุทธการที่ผาแดงและศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

จูกัดกิ๋นและสามก๊ก · ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

จูกัดกิ๋นและจูกัดเหลียง · จูกัดเหลียงและศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

จูกัดกิ๋นและโจโฉ · ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

จูกัดกิ๋นและเล่าปี่ · ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จูกัดกิ๋นและศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว

จูกัดกิ๋น มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 9.80% = 5 / (22 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จูกัดกิ๋นและศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »