โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและมาตราริกเตอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและมาตราริกเตอร์

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว vs. มาตราริกเตอร์

'''จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว'''คือตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสของการเกิดแผ่นดินไหว (ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว) จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter, epicentre จาก epicentrum หรือ ἐπίκεντρος) คือจุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว หรือจุดโฟกัส (ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางที่เกิดการถ่ายเทพลังงานเมื่อเกิดแผ่นดินไหว) ตามที่ได้นิยามไปข้างต้น จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเป็นจุดบนผิวโลกที่อยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดที่รอยเลื่อนเกิดจากแตกหัก โดยทั่วไปจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวนี้จะเป็นจุดที่เกิดความเสียหายสูงสุดเนื่องจากแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดีสำหรับในแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ๆ ความยาวของการแตกหักของรอยเลื่อนสามารถกินระยะทางที่ยาวกว่าและก่อให้เกิดความเสียหายตลอดรอยเลื่อน ตัวอย่างเช่นแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ในปี 2545 ที่เดนาลี อะแลสกา ซึ่งมีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในบริเวณตะวันตกของรอยแตก แต่ความเสียหายสูงสุดกลับพบที่ระยะห่างออกไป 330 กิโลเมตรที่จุดสิ้นสุดของบริเวณรอยแตก. มาตราริกเตอร์ (Richter magnitude scale) หรือที่รู้จักกันว่า มาตราท้องถิ่น (local magnitude scale; ML) เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อบอกปริมาณของพลังงานแผ่นดินไหวที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวครั้งหนึ่ง มันเป็นมาตราส่วนเชิงลอการิทึมฐานสิบ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากลอการิทึมของแอมพลิจูดการสั่นของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากศูนย์บนเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวบางประเภท (Wood–Anderson torsion) ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่สามารถวัดค่าได้ 5.0 ตามมาตราริกเตอร์จะมีแอพลิจูดการสั่นมากเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวที่วัดค่าได้ 4.0 ตามมาตราริกเตอร์ ขีดจำกัดบนที่มีประสิทธิภาพของการวัดตามมาตราริกเตอร์นี้ควรต่ำกว่า 9 และต่ำกว่า 10 สำหรับมาตราโมเมนต์แมกนิจูด เมื่อตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ปัจจุบันมาตราริกเตอร์ถูกแทนที่ด้วยมาตราขนาดโมเมนต์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะให้ค่าที่โดยทั่วไปแล้วจะมีค่าใกล้เคียงกันสำหรับแผ่นดินไหวขนาดกลาง (3-7 แมกนิจูด) แต่ที่ไม่เหมือนกับมาตราริกเตอร์คือ มาตราโมเมนต์แมกนิจูดจะรายงานสมบัติพื้นฐานของแผ่นดินไหวจากข้อมูลเครื่องตรวจวัด แทนที่จะเป็นการรายงานข้อมูลเครื่องตรวจวัด ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในแผ่นดินไหวทุกครั้ง และค่าที่ได้จะไม่สมบูรณ์ในแผ่นดินไหวความรุนแรงสูง เนื่องจากมาตราโมเมนต์แมกนิจูดมักจะให้ค่าที่ใกล้เคียงกันกับมาตราริกเตอร์ แมกนิจูดของแผ่นดินไหวที่ได้รับรายงานในสื่อมวลชนจึงมักจะรายงานโดยไม่ระบุว่าเป็นการวัดความรุนแรงตามมาตราใด พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาของแผ่นดินไหว ซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพลังทำลายล้างของมัน สามารถวัดได้จาก 3/2 เท่าของแอมพลิจูดการสั่น ดังนั้น แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน 1 แมกนิจูดจึงมีค่าเท่ากับพหุคูณของ 31.6 (.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและมาตราริกเตอร์

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและมาตราริกเตอร์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและมาตราริกเตอร์

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ มาตราริกเตอร์ มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (5 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและมาตราริกเตอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »