โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จี๋ (อาวุธ)

ดัชนี จี๋ (อาวุธ)

ี๋ หรือ ทวนวงเดือน (Ji; 戟) เป็นอาวุธของจีนโบราณ จัดเป็นอาวุธยาวประเภททวนหรือหอกชนิดหนึ่ง มีอายุเก่าแก่ยาวนานกว่า 3,000 ปี นับตั้งแต่ยุคต้นราชวงศ์ซาง จนกระทั่งถึงสิ้นสุดราชวงศ์ชิง มีลักษณะปลายยาวแหลม ด้านข้างตีโลหะเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวคล้ายง้าวเอาไว้ จึงใช้ทั้งแทงทั้งฟันได้ ในพงศาวดารจีน ขุนพลที่ใช้อาวุธนี้เด่น ๆ คือ ลิโป้ ในยุคสามก๊ก และซิ ยิ่นกุ้ย ในยุคราชวงศ์ถัง แบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ ทวนวงเดือนกรีดฟ้า (方天戟; พินอิน: fangtian ji) ที่มีพระจันทร์เสี้ยวทั้งสองข้าง และทวนวงเดือนมังกรเขียว (青龍戟; พินอิน: qinglong ji) ที่มีพระจันทร์เสี้ยวข้างเดียว.

9 ความสัมพันธ์: พินอินยุคสามก๊กราชวงศ์ชางราชวงศ์ชิงราชวงศ์ถังลิโป้ทวนง้าวซิ ยิ่นกุ้ย

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: จี๋ (อาวุธ)และพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: จี๋ (อาวุธ)และยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชาง

ราชวงศ์ชาง (Shang dynasty) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์อิน" (Yin dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป แสดงถึงความเชื่อในอำนาจแห่งสวรรค์ ถือว่าทุกสิ่ง สวรรค์เป็นผู้กำหนด ราชวงศ์ชางมีกษัตริย์ 30 องค์ กษัตริย์องค์สุดท้ายชื่อ พระเจ้าอินโจวหรือ โจ้ว (ติวอ๋อง) ซึ่งในประวัติศาสตร์ประณามไว้ว่า เป็นคนโหดร้ายทารุณมาก นิยมการสงคราม และหลงใหลในอิสตรี โดยเฉพาะสนมเอกชื่อ ต๋าจี หรือขันกี ซึ่งเป็นคนวิปริตผิดมนุษย์ คอยยุยงให้โจ้วฆ่าคนเป็นผักปลา สร้างสระเหล้าดงเนื้อขึ้น (เอาน้ำเหล้ามาใส่ในสระ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาห้อยไว้ตามต้นไม้) ต่อมาโจวอู่หวัง เจ้าผู้ครองแคว้นโจวทางตะวันตก ได้ยกทัพมาปราบโจ้วอ๋อง โดยอ้างว่า ได้รับ "อาณัติ" หรือ "เทียนมิ่ง" จากสวรรค์ให้มาปราบ และได้ชัยชนะ โจ้วอ๋องจึงฆ่าตัวตายโดยกระโดดลงกองไฟ แต่จริง ๆ แล้ว นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก ว่าโจ้วอ๋องจะโหดร้ายเช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับต๋าจีด้วย เรื่องราวในตอนท้ายราชวงศ์ชางนี้ ได้มีการนำไปแต่งเป็นนิยายหลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ "นาจา" และ "เทพประยุทธ์พิชิตฟ้า" นั่นเอง และหนังสือพงศาวดารชื่อว่า "ฮ่องสิน" โดยจะเน้นหนักไปทางอิทธิปาฏิหาริย์เสียมาก หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ชาง หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: จี๋ (อาวุธ)และราชวงศ์ชาง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: จี๋ (อาวุธ)และราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: จี๋ (อาวุธ)และราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

ลิโป้

ลิโป้ (吕布; Lü Bu;ค.ศ.155 — ค.ศ. 198) เป็นยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก หรือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม มีร่างที่สูงใหญ่กำยำ มีสำนวนในสามก๊กกล่าวไว้ว่า “ หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่ ” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์ ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินยุคสามก๊ก ทั้งยังได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญศึกอย่างยิ่ง แม้แต่ เล่าปรี่, กวนอู้ และเตียวหูย ที่ร่วมมือกันสู้รบกับลิโป้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ โดยที่ตราบใดที่เขายังถือทวนกรีดขอบตา และนั่งอยู่บนหลังม้าเซ็กเธาว์ ก็ไม่มีใครล้มเขาลงได้ ในตามตำนาน ลิโป้แม้จะเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ลาภยศ เป็นบุคคลที่เตียวหุยด่าว่าเป็น "ไอ้พ่อสามลูก" จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน และเต๊งหงวนไว้ใจ ถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองกับม้าเซ็กเธาว์ ลิโป้ก็ยอมทรยศเต๊งหงวน มาอยู่กับตั๋งโต๊ะ ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม (เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลังจากถูกโจโฉจับตัวได้ เพราะทหารฝ่ายลิโป้ทรยศ เมื่อจะโดนประหารได้อ้อนวอนเล่าปี่ ให้บอกโจโฉว่าอย่าประหารตน แต่เล่าปี่ยืนยันให้โจโฉฆ่าลิโป้ ด้วยการยกตัวอย่างของ เต๊งหงวน กับ ตั๋งโต๊ะ ให้โจโฉได้ระลึกและสั่งประหารลิโป้ในที่สุด เป็นอันปิดฉากตำนานเทพเจ้าสงครามอันเลื่องชื่อ.

ใหม่!!: จี๋ (อาวุธ)และลิโป้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวน

ทหารม้านอร์มันเข้าตีกำแพงโล่แองโกล-แซกซอนที่ยุทธการที่แฮสติงส์ ทวนในสมัยยุโรปกลาง และชุดของหอกซัด หัวเป็นเหล็กกล้าหลอมด้วยมือ ด้ามทำจากไม้จากต้นแอช ทวน เป็นอาวุธด้ามที่มีด้ามทำจากไม้ หัวแหลม ที่หัวอาจเป็นแหลมที่ตัวด้ามยู่แล้ว อย่างเช่นทวนที่กำจัดความชื้นออกแล้ว หรืออาจทำจากวัสดุทนทาน เช่น หินเหล็กไฟ หินออบซิเดียน เหล็ก เหล็กกล้า หรือสัมฤทธิ์ รัดที่ปลายด้าม ทวนแบบที่พบได้ทั่วไปสำหรับล่าสัตว์หรือต่อสู้จะมีหัวทวนโลหะรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือใบไม้ หัวขอทวนล่าปลาจะมีเงี่ยงหรือขอบคล้ายฟันเลื่อย ทวนสามารถแบ่งเป็นสองประเภทกว้าง ๆ ได้แก่ ประเภทที่ออกแบบให้แทงในการต่อสู้ระยะประชิด และประเภทที่ออกแบบให้ขว้าง (มักหมายถึง หอกซัด) ทวนถูกใช้ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ทั้งใช้ล่าสัตว์และตกปลา และเป็นอาวุธ ทวน เช่นเดียวกับขวาน มีด และตะบอง เป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในยุคแรก ๆ และพัฒนาโดยมนุษย์ยุคแรก เมื่อใช้เป็นอาวุธ อาจถือด้วยมือเดียวหรือสองมือ ทวนใช้ในสงครามทุกสงครามจนถึงสมัยใหม่ และเป็นไปได้ว่าเป็นอาวุธที่ใช้มากที่สุดในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: จี๋ (อาวุธ)และทวน · ดูเพิ่มเติม »

ง้าว

ง้าว และของ้าวไทย คนถือง้าว ง้าว เป็นอาวุธจีนโบราณ สำหรับต่อสู้บนหลังม้า พบว่าส่วนใหญ่ง้าวจะใช้โดยขุนพล แม่ทัพ โดยส่วนมาก ง้าวมีลักษณะเป็นอาวุธด้ามยาว คล้ายกับ ทวน และ หอก แต่จะมีความยาวด้ามจับสั้นกว่า คือสูงเท่าลำตัว ส่วนใหญ่หัวของง้าวนั้นคล้ายจะมีลักษณ์คล้ายลิ้นของมังกร และมีความโค้งเป็นเสี้ยวพระจันทร์ ลักษณะการต่อสู้โดยการใช้ง้าวนั้นจะต่างกับการใช้หอกคือ หอกจะใช้สำหรับการโจมตีโดยการแทงไปที่เป้าหมายเท่านั้น แต่ง้าวจะใช้โจมตีโดยการฟัน และด้วยลักษณะเด่นของง้าวที่มีส่วนหัวที่ใหญ่จึงมักจะใช้ปัด เบี่ยง หรือ รับ การโจมตีจากศัตรู ซึ่งจะเห็นได้บ่อยๆในฉากรบกันของหนังจีนโบราณ จุดเสียของง้าวนั้นเนื่องจากมีส่วนหัวที่ใหญ่จึงทำให้มีน้ำหนักมาก ดังนั้นผู้ใช้ง้าวส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ที่มีกำลังมากเท่านั้น ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยนั้นได้พบว่า ได้มีการใช้ง้าวเป็นอาวุธด้วยเช่นกัน ดังเช่น ประวัติสมเด็จพระสุริโยไท เป็นต้น หมวดหมู่:อาวุธมีคม หมวดหมู่:อาวุธด้ามยาว.

ใหม่!!: จี๋ (อาวุธ)และง้าว · ดูเพิ่มเติม »

ซิ ยิ่นกุ้ย

ซิ ยิ่นกุ้ย (อังกฤษ: Xue Rengui) เป็นบุคคลที่ตัวตนจริง ๆ ในพงศาวดารของจีน เป็นเรื่องราวของแม่ทัพที่มีพละกำลังมาก และไม่เคยแพ้ใคร และเป็นแม่ทัพที่งัก ฮุย วีรบุรุษอีกคนในวัฒนธรรมจีนรุ่นต่อมานับถืออีกด้วย แต่เรื่องราวของซิ ยิ่นกุ้ยมักถูกเล่าจนเป็นตำนานจนคล้ายเป็นเรื่องแต่งมากกว่าเรื่องจริง เรื่องราวของซิ ยิ่นกุ้ยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่ได้มีการแต่งเนื้อเรื่องต่อมาในรุ่นลูกและรุ่นหลาน คือ ซิ ติงซาน (薛丁山, Xue Dingshan) และซิ กัง (薛剛, Xue Gang) ซิ ยิ่นกุ้ย เกิดที่มณฑลซานซี ในปี ค.ศ. 614 ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้สุย หยางตี้ แห่งราชวงศ์สุย โดยไม่ทราบประวัติก่อนหน้านี้ ทราบแต่เพียงว่าซิ ยิ่นกุ้ยและภรรยามี แซ่เล่า (柳) มีชื่อเดิมว่า ซิ หลี่ (Xue Li, 薛禮) และมาจากครอบครัวชาวนาที่ยากจน ก่อนจะสมัครเป็นทหารจนเติบโตในหน้าที่จนถึงเป็นแม่ทัพใหญ่ รับราชการถึง 2 รัชกาล ในรัชกาลฮ่องเต้ถัง ไท่จง และฮ่องเต้ถัง เกาจง เป็นแม่ทัพที่มีบทบาทสำคัญในยุคราชวงศ์ถังกับการทำสงครามกับอาณาจักรทางทิศตะวันออก ในปี ค.ศ. 640 (อาณาจักรโกคูรยอ) และอาณาจักรทางทิศตะวันตก ในปี ค.ศ. 670 (ทิเบตในปัจจุบัน) ก่อนที่จะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 683.

ใหม่!!: จี๋ (อาวุธ)และซิ ยิ่นกุ้ย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทวนวงเดือน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »