เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

จีโรลาโม ซาโวนาโรลา vs. มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รลาโม ซาโวนาโรลา (Girolamo Savonarola) (21 กันยายน ค.ศ. 1452 - 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1498) จิโรลาโม ซาโวนาโรลาเป็นนักบวชลัทธิโดมินิกันชาวอิตาลีและผู้นำของฟลอเรนซ์ตั้งแต่ปี.. นักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเดสิเดอริอัส อีราสมัส ราว ค.ศ. 1523 เขียนโดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance humanism) คือขบวนการทางปัญญาของยุโรปซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญตัวหนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เริ่มขึ้นที่ฟลอเรนซ์ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขบวนการมนุษยนิยมเริ่มขึ้นเมื่อผู้คงแก่เรียนชาวยุโรปเริ่มพบวรรณกรรมภาษาลาตินและกรีกกันขึ้นมาใหม่ ในระยะแรกนักมนุษยนิยมก็เพียงแต่เป็นปัญญาชนหรือครูที่สองวรรณกรรมภาษาลาติน แต่เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 มนุษยนิยมก็พัฒนาขึ้นมาเป็นหลักสูตรการศึกษา — “หลักสูตรการศึกษามนุษยนิยม” (studia humanitatis) — ที่ประกอบด้วยการศึกษาไวยากรณ์, วาทศาสตร์, ปรัชญาจริยธรรม, กวีนิพนธ์ และประวัติศาสตร์ จากงานที่เขียนโดยผู้ประพันธ์เป็นภาษาลาตินและกรีก นักมนุษยนิยมมักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อขบวนการปรัชญาที่นิยมกันก่อนหน้านั้นที่เรียกว่าอัสสมาจารย์นิยม (Scholasticism) ซึ่งเป็น “ผู้ร่ำเรียน” (schoolmen) ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอิตาลี, ปารีส, อ๊อกซฟอร์ด และอื่นๆ การศึกษาของกลุ่มอัสสมาจารย์นิยมพัฒนามาจากความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และปรัชญาของกรีกโบราณและอาหรับยุคกลาง ตัวอย่างของผู้นำในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ทอมัส อควีนาสผู้ที่พยายามสังเคราะห์ปรัชญาของอริสโตเติลในบริบทของลัทธิคาทอลิก แต่แตกต่างจากหลักของมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ก็ตรงที่นักอัสสมาจารย์นิยมมิได้พึ่งวรรณกรรม หรือ ตำราประวัติศาสตร์จากสมัยกรีกโรมันเท่ากันกับเมื่อมาถึงสมัยมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ การกลับมาพบและกลับมาให้ความสนใจกับวรรณกรรม และ ตำราประวัติศาสตร์, วาทศิลป์ และ เทวปรัชญาที่ยังไม่ได้รับการศึกษาโดยนักปรัชญาอัสสมาจารย์นิยม ทำให้มนุษยนิยมเรอเนสซองซ์เปลี่ยนแนวทางทางวัฒนธรรมและทางปรัชญาของยุโรปอย่างสิ้นเชิง ทางด้านปรัชญานักมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์มักจะเน้นบทเขียนของเพลโต ที่บางชิ้นนำกลับมาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เริ่มเสื่อมโทรมลงเป็นครั้งแรก และให้ความสนใจน้อยกว่าในปรัชญาของอริสโตเติลที่ได้รับการศึกษาอย่างลึกซึ้งแล้วโดยนักอัสสมาจารย์นิยมในระหว่างยุคกลางตอนกลางแล้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟลอเรนซ์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอาริสโตเติลทอมัส อไควนัสเอรัสมุส

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและฟลอเรนซ์ · ฟลอเรนซ์และมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและอาริสโตเติล · มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส อไควนัส

นักบุญทอมัส อไควนัส (Thomas Aquinas (ค.ศ. 1225-1274) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกสังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี สนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง อไควนัสได้พัฒนาแนวความคิดของเขาโดยได้รับอิทธิพลจากอาริสโตเติล ในขณะที่นักคิดคนอื่นมีความเห็นตรงกันข้าม อควีนาสได้ดำเนินการศึกษา สรุปผลที่เป็นแบบตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้ง ตามแนวความคิดของอไควนัส ระเบียบวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออควีนาสเริ่มหันมาสนใจศึกษาค้นคว้าแนวความคิดของอาริสโตเติล และได้มีอิทธิพลตลอดชีวิตการทำงานของอไควนัส จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา งานเขียนของอไควนัส ในระยะนี้พยายามอธิบายสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา และพระผู้เป็นเจ้า อไควนัสพยายามกำหนดความสำคัญและหน้าที่ใหม่ของศาสนาที่มีต่อสังคม โดยให้ศาสนายังคงมีอำนาจทางธรรมตามคำสอนของศาสนา อไควนัสก็เหมือนกับนักปราชญ์คนอื่น คือมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถกำหนดควบคุมการกระทำของตนเองได้ด้วยสติปัญญา มนุษย์จะตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่ยอมรับระบบสังคม อไควนัสจึงเน้นเอกภาพในสังคมมนุษย์ที่มีพลังอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกภาพทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้สังคมมีเอกภาพอย่างสันติไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น วิธีการดังกล่าวเปรียบเสมือนมนุษย์ได้รับการอบรมทางจิต จิตที่อบรมแล้ว จะสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ในสังคม ดังนั้น การปกครองโดยรัฐบาลที่มีผู้นำเพียงคนเดียวจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กษัตริย์อันเป็นราชาแห่งปราชญ์คนเดียวจะปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม โครงสร้างทางสังคมก็เหมือนกับธรรมชาติที่พระเจ้าปกครอง คนในสังคมจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าสัมคมมีเอกภาพโดยมีผู้นำเพียงคนเดียว.

จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและทอมัส อไควนัส · ทอมัส อไควนัสและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เอรัสมุส

อรัสมุส เมื่อ พ.ศ. 2066 วาดโดยฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก) เดซีเดริอุส เอรัสมุส โรเตโรดามุส (Desiderius Erasmus Roterodamus) หรือ เดซีเดริอุส เอรัสมุส แห่งรอตเทอร์ดามเอรัสมุส เป็นชื่อเมื่อเขารับศีลล้างบาป โดยตั้งตามนักบุญเอรัสม.

จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและเอรัสมุส · มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและเอรัสมุส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

จีโรลาโม ซาโวนาโรลา มี 48 ความสัมพันธ์ขณะที่ มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 8.20% = 5 / (48 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จีโรลาโม ซาโวนาโรลาและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: