โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จีโปรตีนและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จีโปรตีนและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน

จีโปรตีน vs. หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน

Phosducin-transducin beta-gamma complex - หน่วยย่อยบีตาและแกมมาของจีโปรตีนแสดงเป็นสีน้ำเงินและแดงตามลำดับ Guanosine diphosphate (GDP) จีโปรตีน (G protein) หรือ guanine nucleotide-binding proteins เป็นหมู่โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์โมเลกุลภายในเซลล์ และมีบทบาทในการส่งผ่านสัญญาณจากสิ่งเร้าในรูปแบบต่าง ๆ นอกเซลล์เข้าไปในเซลล์ แฟกเตอร์ต่าง ๆ จะควบคุมฤทธิ์ของมันโดยคุมการจับของมันกับ guanosine triphosphate (GTP) และคุมการสลาย GTP ด้วยน้ำให้เป็น guanosine diphosphate (GDP) เพราะเมื่อมันจับกับ GTP มันจึงจะมีฤทธิ์คือมีสภาพกัมมันต์ และเมื่อมันจับกับ GDP มันก็จะไร้ฤทธิ์คือมีสภาพอกัมมันต์ จีโปรตีนเป็นส่วนของกลุ่มเอนไซม์กลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า GTPase มีจีโปรตีนสองกลุ่ม กลุ่มแรกทำงานเป็น GTPase ที่เป็นมอนอเมอร์ขนาดเล็ก (monomeric small GTPase) และกลุ่มสองทำงานเป็นคอมเพล็กซ์จีโปรตีนที่มีสามส่วนโดยแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน (heterotrimeric G protein) โดยคอมเพล็กซ์กลุ่มหลังจะมีหน่วยย่อย ๆ คือ แอลฟา (α) บีตา (β) และแกมมา (γ) อนึ่ง หน่วยย่อยบีตาและแกมมายังอาจรวมเป็นคอมเพล็กซ์แบบไดเมอร์ที่เสถียร โดยเรียกว่า คอมเพล็กซ์บีตา-แกมมา (beta-gamma complex) จีโปรตีนในเซลล์จะเริ่มทำงาน/เปลี่ยนเป็นสภาพกัมมันต์โดยหน่วยรับ คือ G protein-coupled receptor (GPCR) ที่ทอดข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ คือโมเลกุลส่งสัญญาณที่หนึ่งจะจับกับโดเมนภายนอกของ GPCR และโดเมนภายในก็จะเริ่มการทำงานของจีโปรตีน โดย GPCR ที่ยังไม่เริ่มทำงานบางอย่างได้แสดงแล้วว่า จับคู่อยู่กับจีโปรตีน แล้วจีโปรตีนก็จะเริ่มลำดับการส่งสัญญาณต่อ ๆ ไปซึ่งในที่สุดมีผลเปลี่ยนการทำงานของเซลล์ GPCR และจีโปรตีนทำงานร่วมกันเพื่อส่งผ่านสัญญาณจากฮอร์โมน จากสารสื่อประสาท และจากแฟกเตอร์ส่งสัญญาณอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก จีโปรตีนควบคุมกลไกต่าง ๆ รวมทั้งเอนไซม์ ช่องไอออน โปรตีนขนส่ง และกลไกการทำงานของเซลล์อื่น ๆ ซึ่งเป็นการควบคุมการถอดรหัสยีน การเคลื่อนไหว (motility) การหดเกร็ง (contractility) และการหลั่งสารของเซลล์ ซึ่งก็เป็นการควบคุมหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายมากมายรวมทั้งพัฒนาการของตัวอ่อน การเรียนรู้ ความจำ และภาวะธำรงดุล. รงสร้างแบบ α-helix โดยมีโดเมนข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ 7 โดเมนของ G protein-coupled receptor หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน (G protein-coupled receptors ตัวย่อ GPCRs) ที่มีชื่ออื่น ๆ อีกว่า seven-(pass)-transmembrane domain receptors, 7TM receptors, heptahelical receptors, serpentine receptor, และ G protein-linked receptors (GPLR), เป็นกลุ่ม (family) โปรตีนหน่วยรับ (receptor) กลุ่มใหญ่ ที่ตรวจจับโมเลกุลนอกเซลล์ แล้วจุดชนวนวิถีการถ่ายโอนสัญญาณ (signal transduction) ภายในเซลล์ ซึ่งในที่สุดมีผลเป็นการตอบสนองของเซลล์ เป็นหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน (G protein) ที่เรียกว่า seven-transmembrane receptor เพราะมีโครงสร้างที่ข้ามผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ถึง 7 ครั้ง GPCRs จะพบแต่ในยูแคริโอตรวมทั้งยีสต์, choanoflagellate, และสัตว์ ลิแกนด์ที่จับและเริ่มการทำงานของหน่วยรับเช่นนี้รวมทั้งสารประกอบไวแสง กลิ่น ฟีโรโมน ฮอร์โมน และสารสื่อประสาท โดยมีขนาดต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่โมเลกุลเล็ก ๆ จนถึงเพปไทด์และโปรตีนขนาดใหญ่ GPCRs มีบทบาทในโรคหลายอย่าง และเป็นเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาปัจจุบันประมาณ 34% มีวิถีการถ่ายโอนสัญญาณสองอย่างเกี่ยวกับ GPCRs คือ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จีโปรตีนและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน

จีโปรตีนและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การถ่ายโอนสัญญาณการเปลี่ยนโครงรูปภาวะธำรงดุลลิแกนด์สมองสารสื่อประสาทหน่วยรับกลิ่นหน่วยรับความรู้สึกฮอร์โมนจีโนมมนุษย์โดพามีนโปรตีนเยื่อหุ้มเซลล์เซลล์

การถ่ายโอนสัญญาณ

วิถีการถ่ายโอนสัญญาณหลัก ๆ (แบบทำให้ง่าย) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเซลล์ การถ่ายโอนสัญญาณ หรือ การแปรสัญญาณ (signal transduction) เป็นกระบวนการทางเคมีหรือทางกายภาพโดยเป็นลำดับการทำงาน/ลำดับเหตุการณ์ในระดับโมเลกุล ที่โมเลกุลส่งสัญญาณ (ปกติฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาท) จะเริ่มการทำงาน/ก่อสภาพกัมมันต์ของหน่วยรับ ซึ่งในที่สุดมีผลให้เซลล์ตอบสนองหรือเปลี่ยนการทำงาน โปรตีนที่ตรวจจับสิ่งเร้าโดยทั่วไปจะเรียกว่า หน่วยรับ (receptor) แม้ในบางที่ก็จะใช้คำว่า sensor ด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการจับของลิแกนด์กับหน่วยรับ (คือการพบสัญญาณ) จะก่อลำดับการส่งสัญญาณ (signaling cascade) ซึ่งเป็นลำดับเหตุการณ์ทางเคมีชีวภาพตามวิถีการส่งสัญญาณ (signaling pathway) เมื่อวิถีการส่งสัญญาณมากกว่าหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับกันและกัน นี่ก็จะกลายเป็นเครือข่าย เป็นการประสานการตอบสนองของเซลล์ บ่อยครั้งโดยเป็นการส่งสัญญาณแบบร่วมกัน ในระดับโมเลกุล การตอบสนองเช่นนี้รวม.

การถ่ายโอนสัญญาณและจีโปรตีน · การถ่ายโอนสัญญาณและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนโครงรูป

ในสาขาเคมีชีวภาพ การเปลี่ยนโครงรูป หรือ การเปลี่ยนโครงสร้าง (conformational change) เป็นการเปลี่ยนรูปร่างในสามมิติของของแมโครโมเลกุล ของเยื่อหุ้มเซลล์ หรือของโครงสร้างอื่น ๆ แต่ปกติเป็นของโครงสร้างตติยภูมิของโปรตีน โดยมีเหตุจากสิ่งแวดล้อม จากการจับกันของลิแกนด์กับหน่วยรับ หรือจากการจับกับของซับสเตรตกับเอนไซม์ เพราะแมโครโมเลกุลปกติจะยืดหยุ่นได้และไม่อยู่คงที่ มันจึงสามารถเปลี่ยนรูปร่างตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยอื่น ๆ รูปร่างที่เป็นไปได้แต่ละอย่างจะเรียกว่าโครงรูป (conformation) และการเปลี่ยนเป็นโครงรูปต่าง ๆ เรียกว่า การเปลี่ยนโครงรูป (conformational change) โดยปัจจัยที่เป็นเหตุรวมทั้ง.

การเปลี่ยนโครงรูปและจีโปรตีน · การเปลี่ยนโครงรูปและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะธำรงดุล

วะธำรงดุล (homeostasis) หรือ การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต คือคุณสมบัติของระบบเปิดโดยเฉพาะในสิ่งมีชีวิต ที่ทำการควบคุมสภาพภายในตนเองเพื่อรักษาสถานะเสถียรภาพสภาพอย่างคงที่ โดยการปรับสมดุลพลวัตหลายอย่างซึ่งมีกลไกการควบคุมที่มีความสัมพันธ์กันมากมาย แนวคิดนี้ถูกพูดถึงครั้งแรกในปี..

จีโปรตีนและภาวะธำรงดุล · ภาวะธำรงดุลและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ลิแกนด์

ลิแกนด์ (ligand) มีความหมายตามวิชาดังนี้.

จีโปรตีนและลิแกนด์ · ลิแกนด์และหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

จีโปรตีนและสมอง · สมองและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

สารสื่อประสาท

รสื่อประสาท (neurotransmitter) คือ สารเคมีที่มีหน้าที่ในการนำ, ขยาย และควบคุมสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ตามระบอบความเชื่อ ที่ตั้งขึ้นในทศวรรษที่ 1960 โดยที่สารเคมีนั้นจะเป็นสารสื่อประสาทได้จะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขดังนี้.

จีโปรตีนและสารสื่อประสาท · สารสื่อประสาทและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับกลิ่น

รงสร้างของ rhodopsin ซึ่งเป็น G protein-coupled receptor ที่หน่วยรับกลิ่นจะมีโครงสร้างคล้าย ๆ doi.

จีโปรตีนและหน่วยรับกลิ่น · หน่วยรับกลิ่นและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับความรู้สึก

หน่วยรับความรู้สึก, ตัวรับหรือที่รับ (receptor) ในชีวเคมี เป็นโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ หรือในไซโทพลาสซึมหรือนิวเคลียสที่จะเชื่อมต่อกับโมเลกุลเฉพาะซึ่งเรียกว่า ลิแกนด์ (ligand) เช่น สารสื่อประสาท, ฮอร์โมน หรือสารประกอบอื่นๆ และทำให้เกิดการเริ่มต้นตอบสนองของเซลล์ต่อลิแกนด์นั้น.

จีโปรตีนและหน่วยรับความรู้สึก · หน่วยรับความรู้สึกและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมน

อร์โมน (hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น.

จีโปรตีนและฮอร์โมน · หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีนและฮอร์โมน · ดูเพิ่มเติม »

จีโนมมนุษย์

จีโนมของมนุษย์คือชุดของข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของมนุษย์ ข้อมูลนี้อยู่ในลำดับ DNA ซึ่งกระจายอยู่บนโครโมโซม 23 คู่ในนิวเคลียสของเซลล์แต่ละเซลล์ รวมทั้งในโมเลกุล DNA อีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในไมโตคอนเดรีย ข้อมูลในจีโนมของมนุษย์มีทั้ง DNA ส่วนที่จะถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (coding DNA) และส่วนที่จะไม่ถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (noncoding DNA) ครึ่งหนึ่งหรือส่วนที่เป็นแฮพลอยด์ของจีโนมมนุษย์ (พบในเซลล์ไข่หรือเซลล์อสุจิ) มีจำนวนสามพันล้านคู่เบส ในขณะที่จีโนมทั้งหมดหรือดิพลอยด์ของจีโนม (พบในเซลล์โซมาติกทั่วไป) มีจำนวนคู่เบสดีเอ็นเอเป็น 2 เท่า หมวดหมู่:แผนที่พันธุกรรม หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:จีโนมิกส์ หมวดหมู่:มนุษย์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการของมนุษย์ หมวดหมู่:มนุษยพันธุศาสตร์.

จีโนมมนุษย์และจีโปรตีน · จีโนมมนุษย์และหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

โดพามีน

มีน (Dopamine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มเดียวกัน แคทิคอลลามีน และ เฟนเอทิลเอมีน ซึ่งมีความสำคัญกับสมองและร่างกาย ซื่อโดพามีน ได้จากโครงสร้างทางเคมี ซึ่งสังเคราะห์โดยการเปลี่ยนหมู่กรดอินทรีย์ของ L-DOPA ( L-3,4-dihydroxyphenylalanine) ให้เป็นหมู่อะมิโน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในสมองและไต และพบว่าพืชและสัตว์บางชนิดก็สามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน ในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้น ตัวรับโดพามีน (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary) โดพามีนสามารถใช้เป็นยา ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) โดยมีผลลัพธ์คือ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโดพามีนไม่สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) โดพามีนที่ใช้เป็นยา จะไม่มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง การเพิ่มปริมาณของโดพามีนในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ เช่น พาร์คินสัน สามารถให้สารตั้งต้นแบบสังเคราะห์แก่โดพามีน เช่น L-DOPA เพื่อให้สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมองได้ โดพามีนเป็นสารสื่อประสาทกลุ่มแคทีโคลามีน (catecholamines) ที่สร้างมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซิเลส (tyrosine hydroxylase) ในสมอง มีปริมาณโดพามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้โดพามีนยังจัดเป็นนิวโรฮอร์โมน (neurohormone) ที่หลั่งจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลกตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี เมื่อโดพามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดพามีนแล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายด้าน ซึ่งได้แก.

จีโปรตีนและโดพามีน · หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีนและโดพามีน · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

จีโปรตีนและโปรตีน · หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีนและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

จีโปรตีนและเยื่อหุ้มเซลล์ · หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีนและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์

ป็นสิ่งสวยงามเซล เซลล์ เซลส์ หรือ เซลล์ส เป็นคำที่เขียนทับศัพท์มาจากคำในภาษาอังกฤษ cell, cel, Cells, sale หรือ Zales; cell: หมายถึงหน่วยย่อยที่มีการกั้นขอบเขต (หรือห้อง) โดยทั่วไปเซลล์จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า ความหมายขึ้นอยู่กับบริบท.

จีโปรตีนและเซลล์ · หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีนและเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จีโปรตีนและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน

จีโปรตีน มี 54 ความสัมพันธ์ขณะที่ หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน มี 49 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 13.59% = 14 / (54 + 49)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จีโปรตีนและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »