โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จีเมล

ดัชนี จีเมล

ีเมล (Gmail) เป็นบริการอีเมลฟรีของกูเกิลผ่านทางระบบเว็บเมล POP และ IMAP โดยในขณะที่โปรแกรมยังอยู่ในระยะพัฒนา (บีตา) จีเมลเปิดให้ผู้ที่ได้รับคำเชิญทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 และให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นจึงออกจากระยะพัฒนาพร้อมกับบริการอื่น ๆ ของกูเกิล แอปส์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบันจีเมลรับรองการใช้งาน 54 ภาษารวมถึงภาษาไทย จีเมลเป็นผู้บุกเบิกการใช้ AJAX ที่ใช้งานจาวาสคริปต์และการใช้งานผ่านทางคีย์บอร์ด ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ปัจจุบัน จีเมลเป็นบริการอีเมล์บนเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก กล่าวคือมากกว่า 425 ล้านคน.

95 ความสัมพันธ์: บล็อกเกอร์พ.ศ. 2547พ.ศ. 2550พ.ศ. 2552พ็อปกูเกิลกูเกิล ทอล์กกูเกิล แอปส์กูเกิล โครมกูเกิล ไดรฟ์กูเกิล+ภาษาบัลแกเรียภาษาฟินแลนด์ภาษากรีกภาษากันนาดาภาษากาตาลาภาษาญี่ปุ่นภาษาฝรั่งเศสภาษามราฐีภาษามลายูภาษามาลายาลัมภาษายูเครนภาษารัสเซียภาษาลัตเวียภาษาลิทัวเนียภาษาสวีเดนภาษาสิงหลภาษาสโลวักภาษาสโลวีเนียภาษาสเปนภาษาอังกฤษแบบบริติชภาษาอังกฤษแบบอเมริกันภาษาอาหรับภาษาอิตาลีภาษาอินโดนีเซียภาษาอูรดูภาษาฮังการีภาษาฮินดีภาษาฮีบรูภาษาจาวาภาษาทมิฬภาษาดัตช์ภาษาตากาล็อกภาษาตุรกีภาษาปัญจาบภาษานอร์เวย์ภาษาโรมาเนียภาษาโอริยาภาษาโครเอเชียภาษาโปรตุเกส...ภาษาโปแลนด์ภาษาไอซ์แลนด์ภาษาไทยภาษาเช็กภาษาเกาหลีภาษาเยอรมันภาษาเวียดนามภาษาเอสโตเนียภาษาเดนมาร์กภาษาเตลูกูภาษาเซอร์เบียมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ยาฮู!ลิขสิทธิ์ลินุกซ์วันเมษาหน้าโง่วินโดวส์ไลฟ์ ฮอตเมลสแปมอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็มอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์อีเมลจาวาสคริปต์จิกะไบต์คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)ซอฟต์แวร์ระยะพัฒนาซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ซาฟารี (เว็บเบราว์เซอร์)ประเทศอียิปต์ป็อป (แก้ความกำกวม)โอเปร่า (เว็บเบราว์เซอร์)ไวรัสคอมพิวเตอร์ไอแมปเว็บเบราว์เซอร์เว็บเมลเอชทีเอ็มแอลเอสเอ็มทีพีเอแจ็กซ์เอโอแอลเซิร์ฟเวอร์เน็ตสเคปK-Meleon1 เมษายน7 กรกฎาคม7 กุมภาพันธ์ ขยายดัชนี (45 มากกว่า) »

บล็อกเกอร์

ล็อกเกอร์ (Blogger) เป็นบริการบล็อกของกูเกิล ภายหลังจากทดลองให้บริการในช่วงระยะพัฒนา และลงทะเบียนได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับกูเกิล หรือไม่จำเป็นต้องใช้จีเมลมาระยะหนึ่ง ปัจจุบันการใช้บริการบล็อกเกอร์จำเป็นต้องใช้จีเมล์ในการกรอกเป็นรหัสผ่าน และสิ้นสุดเบต้าเมื่อเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: จีเมลและบล็อกเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: จีเมลและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: จีเมลและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: จีเมลและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พ็อป

กณฑ์วิธีที่ทำการไปรษณีย์ หรือ พ็อป (Post Office Protocol: POP) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานอยู่บนชุดโพรโทคอล TCP/IP POP3 เป็นการพัฒนาจากโพรโทคอลรุ่นก่อนหน้านี้ คือ POP1 และ POP2 ในปัจจุบันคำว่า POP หมายความถึง POP3 POP3 ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จำกัด (เช่น ต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสายโทรศัพท์) ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ตรงกันข้ามกับโพรโทคอลในการรับอีเมลที่ใหม่กว่า คือ Internet Message Access Protocol (IMAP) ที่สนับสนุนการอ่านอีเมลทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน.

ใหม่!!: จีเมลและพ็อป · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล

กูเกิล (Google Inc.) (และ) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา เช่น กูเกิล ดีปไมด์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่างกูเกิล เอกซ์กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน"." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน วันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: จีเมลและกูเกิล · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล ทอล์ก

กูเกิลทอล์ก (Google Talk) เป็นโปรแกรมประยุกต์สำหรับวีโอไอพีและเมสเซนเจอร์ พัฒนาโดยกูเกิล รุ่นทดสอบรุ่นแรกได้เริ่มแจกจ่ายเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เมสเซนเจอร์ในกูเกิลทอล์กได้ใช้โพรโทคอลเปิด ชื่อว่า XMPP ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานที่มีความหลากหลายภายใต้ XMPP สามารถสื่อสารกันได้ วีโอไอพีในกูเกิลทอล์กอยู่บนพื้นฐานของ Jingle โพรโทคอล นอกจากนี้กูเกิลทอล์กสามารถใช้งานผ่านแกเจตได้ โดยทำงานผ่านอะโดบี แฟล.

ใหม่!!: จีเมลและกูเกิล ทอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล แอปส์

Google Apps for Work (ชื่อเดิม Google Apps for Business) เป็นชุดโปรแกรมการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการทำงานร่วมกัน และเป็นซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ที่ Google ให้บริการโดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิก ชุดโปรแกรมนี้รวมเว็บแอปพลิเคชันยอดนิยมของ Google ซึ่งรวมถึง Gmail, Google ไดรฟ์, Google แฮงเอาท์, Google ปฏิทิน และ Google เอกสารแม้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะให้บริการสำหรับผู้บริโภคแบบไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ Google Apps for Work เพิ่มคุณลักษณะสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ เช่น ที่อยู่อีเมลแบบกำหนดเองที่โดเมนของคุณ (@บริษัทของคุณ.com) พร้อมพื้นที่จัดเก็บอย่างน้อย 30 GB สำหรับเอกสารและอีเมล รวมถึงการสนับสนุนทางโทรศัพท์และอีเมลทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงในฐานะที่เป็นโซลูชันการประมวลผลแบบคลาวด์ Google Apps จึงมีแนวทางที่แตกต่างไปจากซอฟต์แวร์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่วางจำหน่ายทั่วไป โดยจะจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าในเครือข่ายศูนย์ข้อมูลปลอดภัยของ Google แทนการจัดเก็บแบบดั้งเดิมที่เก็บรักษาไว้ในเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรที่ตั้งอยู่ภายในบริษัท Google ได้ระบุไว้ว่ามีองค์กรกว่า 5 ล้านองค์กรทั่วโลกใช้ Google Apps โดย 60 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ก็ใช้โปรแกรมดังกล่าวเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: จีเมลและกูเกิล แอปส์ · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล โครม

กูเกิล โครม (Google Chrome) เป็นซอฟต์แวร์เว็บเบราว์เซอร์ พัฒนาโดยกูเกิล เปิดตัวครั้งแรกในปี 2008 โดยยังรองรับระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ก่อนจะออกโปรแกรมให้กับ ลินุกซ์, แมคโอเอส, ไอโอเอส และ แอนดรอยด์ ในภายหลัง กูเกิล โครม ยังเป็นองค์ประกอบหลักของ โครม โอเอส ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นหน้าจอหลักสำหรับการเรียกใช้เว็บแอป กูเกิล โครม เป็นตัวพัฒนาจากโค้ดของโครงการโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ โครเมียม ซึ่งใช้สัญลักษณ์เดียวกัน แต่คนละสี โดยจะมีองค์ประกอบหรือคุณสมบัติบางอย่างที่ถูกเพิ่มเข้าไปเช่นการฝัง อะโดบี แฟลชเพลเยอร์ ลงไปในโครม (ซึ่งปัจจุบันนั้นกูเกิล โครมได้ปิดกั้นองค์ประกอบนี้แล้ว) ปัจจุบัน กูเกิล โครมพัฒนาโดยใช้ Blink เป็นเรนเดอริงเอนจินหลักสำหรับวาดหน้าจอ ยกเว้นเพียง ไอโอเอสที่ยังใช้เว็บคิตเป็นเรนเดอริงเอนจินหลัก โลโก้เดิมของกูเกิล โครม โลโก้ปัจจุบันของกูเกิล โครม.

ใหม่!!: จีเมลและกูเกิล โครม · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล ไดรฟ์

กูเกิล ไดรฟ์ (อังกฤษ: Google Drive) เป็นบริการ Online Service ประเภท Cloud Technology ที่ให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บข้อมูล ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์ประเภทต่างๆ ลงไปได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (จะต้องสมัคร Gmail ก่อน) ผู้ใช้จะสามารถเปิดดูไฟล์ต่างๆนั้นที่ใดก็ได้บนอุปกรณ์ต่างๆ และยังสามารถเชิญผู้ใช้อื่นๆเข้ามาดูไฟล์ของคุณได้ทางGmail โดยการใช้ฟรีนั้น จะมีเนื้อที่ให้จัดเก็บถึง 15 GB (Gigabytes: จิกะไบต์) ซึ้งถือว่ามีเนื้อที่มากพอสมควรสำหรับผู้ใช้ทั่วไป แต่ถ้าหากต้องการเนื้อที่เพิ่มเติมมากกว่านั้น สามารถทำได้โดยการเสียค่าบริการรายเดือน หรือรายปี หมวดหมู่:กูเกิล.

ใหม่!!: จีเมลและกูเกิล ไดรฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล+

อคอนแบบใหม่ของ Google+ กูเกิล+ (Google+, อ่านว่า กูเกิล พลัส) เป็นบริการเครือข่ายสังคมให้บริการโดยกูเกิล โดยเปิดให้ใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน..

ใหม่!!: จีเมลและกูเกิล+ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบัลแกเรีย

ษาบัลแกเรียเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน โดยเป็นสมาชิกของแขนงใต้ของภาษากลุ่มสลาวิก.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟินแลนด์

ษาฟินแลนด์ เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ (เป็นภาษาแม่ถึง 92%) รวมถึงชาวฟินน์ที่อาศัยนอกฟินแลนด์ด้วย เป็นภาษาทางการในฟินแลนด์และภาษาชนกลุ่มน้อยในสวีเดน ทั้งในรูปแบบมาตรฐานและ ภาษาเมแอนเคียลิ (Meänkieli) และในนอร์เวย์ในรูปของภาษาคเวน ภาษาฟินแลนด์เป็นภาษากลุ่มฟินโน-ยูกริก และจัดเป็นภาษาติดต่อคำ (agglutinative language) ภาษาฟินแลนด์แปลงรูปของคำนาม คำวิเศษณ์, คำสรรพนาม, คำเลข, คำกริยา ตามบทบาทในประโยค ภาษาฟินแลนด์เป็นภาษาที่แตกจากภาษาอื่น ๆ โดยทั่วไปในยุโรปมาก จุดเด่นของภาษาตระกูลฟินโน-อูกริกคือ เป็นภาษาที่ไม่มีคำบุพบท แต่จะใช้วิธีการผันคำแทน การเขียนภาษาฟินแลนด์ ใช้ตัวอักษรละตินซึ่งประกอบด้วย29ดังนี้ A-อา B-เบ C-เซ D-เด E-เอ F-แอฟ G-เก H-โฮ I-อี J-ยี K-โก L-แอล M-แอม N-แอน O-โอ P-เป Q-กู R-แอรฺ S-แอส T-เต U-อู V-เว W-กักโชยส์-เว (Kaksois-Vee) X-แอกซ์ Y-อวี Z-เซตตา Å-โอของสวีเดน (Ruotsin-Oo) Ä-แอ Ö-เออวฺ โดยที่ตัว C Q W X Z และ Å ใช้ในคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น การสะกดคำของภาษาฟินแลนด์เป็นลักษณะการเขียนตามเสียงที่อ่านเหมือนภาษามาเลเซีย ภาษาอินโดนีเซียและภาษาเวียดนาม.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: จีเมลและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากันนาดา

ษากันนาดา (ಕನ್ನಡ) เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่สำคัญภาษาหนึ่ง ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ เขียนด้วยอักษรกันนาดา เช่นเดียวกับภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ในรัฐกรณาฏกะ ได้แก่ ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานีที่เขียนด้วยอักษรกันนาดาเช่นกัน ภาษากันนาดาได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ วรรณคดีรุ่นแรก ๆ ที่เขียนด้วยภาษานี้คือ กาวิราชมาร์กา ของกษัตริย์นริปาตุง.

ใหม่!!: จีเมลและภาษากันนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาตาลา

ษากาตาลา (català) หรือ ภาษาแคทาแลน (Catalan) เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาโรมานซ์ รวมทั้งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศอันดอร์ราและภาษาราชการร่วมในแคว้นปกครองตนเองหมู่เกาะแบลีแอริก บาเลนเซีย (ในชื่อ ภาษาบาเลนเซีย) และกาตาลุญญาของประเทศสเปน มีผู้พูดหรือผู้รู้ภาษานี้ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งอาศัยทั้งในสเปน อันดอร์รา รวมไปถึงภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส (โดยเฉพาะในจังหวัดปีเรเน-ออเรียงตาล) และเมืองอัลเกโรบนเกาะซาร์ดิเนีย ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: จีเมลและภาษากาตาลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: จีเมลและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามราฐี

ษามราฐี (मराठी) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป หรืออินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ที่พูดกันในประเทศอินเดีย และใช้เป็นประจำรัฐอย่างเป็นทางการของรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง โดยใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรเทวนาครี นอกจากนี้ภาษามราฐียังเป็นหนึ่งใน 18 ภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการของอินเดียด้วย โดยมีผู้ใช้เกือบร้อยล้านคน เฉพาะในรัฐมหาราษฏระ มีผู้ใช้ภาษามราฐีราว 90 ล้านคน ทั้งยังนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน จารึกภาษามราฐีที่เก่าที่สุด พบครั้งแรกในรัฐกรณาฏกะ เป็นจารึก ของอินเดีย สันนิษฐานจารึกไว้เมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว.

ใหม่!!: จีเมลและภาษามราฐี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: จีเมลและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลายาลัม

ษามาลายาลัมเป็นภาษาราชการของรัฐเกราลาทางภาคใต้ของอินเดีย มีผู้พูดประมาณ 36 ล้านคน และมีผู้พูดในเกาะลักษทวีปด้วย จัดอยู่ในภาษาตระกูลดราวิเดียน ใกล้เคียงกับภาษาทมิฬ เขียนด้วยอักษรมาลายาลัม ภาษามาลายาลัมจัดอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนใต้ คาดว่ามีกำเนิดร่วมกับภาษาทมิฬเมื่อราว..

ใหม่!!: จีเมลและภาษามาลายาลัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายูเครน

ภาษายูเครน (украї́нська мо́ва, ukrayins'ka mova) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกตะวันออก เป็นภาษาทางการของยูเครน ระบบการเขียนใช้อักษรซีริลลิก และใช้คำร่วมกับภาษาของประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะภาษาเบลารุส ภาษาโปแลนด์, ภาษารัสเซีย และภาษาสโลวัก ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กัน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศยูเครน ยูเครน.

ใหม่!!: จีเมลและภาษายูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: จีเมลและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลัตเวีย

ภาษาลัตเวีย เป็นภาษาราชการของประเทศลัตเวีย อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศลัตเวีย.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลิทัวเนีย

ษาลิทัวเนีย (lietuvių kalba) เป็นภาษาทางการของประเทศลิทัวเนีย และเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่งของสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสวีเดน

แผนที่แสดงบริเวณที่มีผู้พูดภาษาสวีเดน ภาษาสวีเดน (svenska) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ (หรือภาษาสแกนดิเนเวีย) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก สาขาของภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ภาษาสวีเดนเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของสวีเดน เป็นภาษาราชการหนึ่งในสองภาษาของฟินแลนด์ (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาฟินแลนด์) และเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งเป็นเขตการปกครองตนเองของฟินแลนด์ ภาษาสวีเดนสามารถใช้แทนกันกับภาษาสแกนดิเนเวียอีก 2 ภาษาคือ ภาษาเดนมาร์ก และภาษานอร์เวย์ ภาษาสวีเดนมาตรฐาน เป็นภาษาประจำชาติที่วิวัฒนาการมาจากภาษาย่อยของสวีเดนกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และมีความมั่นคงในช่วงตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในขณะที่ภาษาย่อยตามภูมิภาคที่สืบมาจากภาษาพื้นเมืองในชนบทยังคงมีอยู่ ภาษาพูดและ ภาษาเขียน มีมาตรฐาน และมีอัตราความสามารถในการอ่านและเขียน 99% ในกลุ่มผู้ใหญ่ ภาษาพื้นเมืองบางภาษาต่างจากภาษามาตรฐานทั้งเรื่องไวยากรณ์และคำศัพท์ และไม่สามารถเข้าใจกับภาษาสวีเดนมาตรฐานได้เสมอไป ภาษาพื้นเมืองเหล่านี้จะจำกัดเฉพาะพื้นที่ชนบทและส่วนใหญ่คนพูดเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีความเคลื่อนไหวทางสังคมต่ำ ถึงแม้ว่าจะไม่สูญพันธุ์ในเร็ว ๆ นี้ ภาษาพื้นเมืองเหล่านี้ได้ถดถอยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีการวิจัยเป้นอย่างดี และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นส่งเสริมการใช้ ภาษาสวีเดนมีลักษณะเด่นในเรื่องฉันทลักษณ์ ซึ่งจะแตกต่างกันตามชนิดต่าง ๆ มีทั้งเสียงเน้นที่ต่างกันตามแต่ละคำ และ เสียงวรรณยุกต์ ภาษาสวีเดนมีเสียงสระค่อนข้างมาก โดยที่มีเสียงสระถึง 9 เสียงที่ต่างกันด้วยความยาว และลักษณะเสียง ทำให้มีหน่วยเสียงสระ (vowel phoneme) ถึง 17 หน่วย นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนยังมีเสียง voiceless dorso-palatal velar fricative ซึ่งสามารถพบได้ในภาษาพื้นเมืองหลายภาษา รวมถึงภาษามาตรฐานชั้นสูง และไม่ปรากฏในภาษาอื่น.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิงหล

ษาสิงหล (සිංහල) เป็นภาษาของชาวสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา เป็นภาษาในสาขาอินโด-อารยันของตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษามัลดีฟส์ของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 15 ล้านคน เจ้าชายวิชายาและพรรคพวกนำชาวสิงหลอพยพเข้าสู่เกาะลังกาเมื่อราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช วรรณคดีจำนวนมากในศรีลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย การติดต่อกับชาวทมิฬทำให้มีศัพท์ภาษาทมิฬปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมากเพราะเคยถูกปกครองโดยชาติเหล่านี้ เขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. 2499 และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ ไม่พอใ.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาสิงหล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสโลวัก

ภาษาสโลวัก (slovenčina, slovenský jazyk) เป็นภาษากลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก (กลุ่มเดียวกับภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ และภาษาซอร์เบีย) ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาสโลวักมีความใกล้ชิดกับภาษาเช็กเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ภาษาสโลวักและภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาสลาฟสมัยใหม่สองภาษาเท่านั้นที่ชื่อท้องถิ่นของตนเองมีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า "สลาวิก (Slavic) " (ชาวสโลวาเกีย: slovenčina และชาวสโลวีเนีย: slovenščina) (ส่วน slověnskii เป็นภาษาสลาโวนิกเก่า) ภาษาสโลวักพูดในประเทศสโลวาเกีย (ประมาณ 5 ล้านคน) สหรัฐอเมริกา (500,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศเช็กเกีย (320,000 คน เนื่องมาจากอดีตเชโกสโลวาเกีย) ประเทศฮังการี (20,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โบราณ) ประเทศเซอร์เบีย-วอยวอดีนาภาคเหนือ (60,000 คน ผู้สืบเชื้อสายจากผู้ตั้งถิ่นฐานรุ่นแรก ๆ ในช่วงที่อยู่ภานใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) ประเทศโรมาเนีย (22,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เก่าแก่) ประเทศโปแลนด์ (20,000 คน) ประเทศแคนาดา (20,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรเลีย (เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรีย ประเทศยูเครน ประเทศบัลแกเรีย ประเทศโครเอเชีย (5,000 คน) และประเทศอื่น ๆ บางประเทศ สโลวัก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสโลวาเกีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาในประเทศแคนาดา หมวดหมู่:ภาษาในสาธารณรัฐเช็ก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศเซอร์เบีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศโรมาเนีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศฮังการี.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาสโลวัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสโลวีเนีย

ษาสโลวีเนีย (Slovenian language) หรือ ภาษาสโลวีน (Slovene language; slovenski jezik หรือ slovenščina) เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาวิกใต้ มีผู้พูดอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคนทั่วโลก เป็นภาษาราชการของประเทศสโลวีเนีย และยังเป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรปอีกด้ว.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาสโลวีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษแบบบริติช

ภาษาอังกฤษแบบบริติช (British English, BrE) เป็นคำที่ใช้แยกแยะรูปแบบของภาษาอังกฤษที่ใช้ในหมู่เกาะบริเตน (British Isles) และที่ใช้ในภูมิภาคอื่น ๆ คำว่า "ภาษาอังกฤษแบบบริติช" นี้ ยังหมายรวมถึงภาษาถิ่นย่อยทั้งหมดของภาษาอังกฤษ ทั้งที่ใช้ในหมู่เกาะบริเตนทั้งหมด (รวมสกอตแลนด์ ไอร์แลนด์ และเวลส์ด้วย) คำนี้มักจะนิยมใช้เป็นพิเศษในหมู่ชาวอเมริกัน (รวมทั้งนักภาษาศาสตร์และนักเขียนพจนานุกรม) ส่วนชาวอังกฤษนั้น ปกติแล้วจะใช้คำว่า "ภาษาอังกฤษมาตรฐาน" (Standard English) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ภาษาอังกฤษ" (English) เท่านั้น ความแตกต่างเด่นที่สุดของภาษาอังกฤษแบบบริติชกับภาษาอังกฤษแบบอเมริกันคือ แบบบริติชจะออกเสียงคำอย่างตรงตัว a จะออกเป็น อา ตรง ๆ ไม่ออกว่า แอ อย่างแบบอเมริกัน เสียง t จะเน้นมาก และชาวสหราชอาณาจักรจะไม่นิยมการออกเสียงตัว r ท้ายคำ ถึงออกก็เพียงออกไปนิดเดียว นอกจากนั้นอังกฤษแบบบริติชจะออกเสียงลงคอดั่งเช่นภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส เช่นคำว่า schedule ซึ่งภาษาอังกฤษแบบบริติชจะมีออกเสียงลงคอตรงท่อน sche ซึ่งเป็นเสียงควบระหว่าง ซ กับ ค หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:ภาษาถิ่น.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาอังกฤษแบบบริติช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (American English, AmE) เป็นกลุ่มของภาษาถิ่นของภาษาอังกฤษที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ประมาณสองในสามของเจ้าของภาษาอังกฤษอาศัยอยู่ในสหรัฐ พจนานุกรมเล่มแรกของภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เขียนโดยโนอาห์ เว็บสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1828 แสดงถึงข้อแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และอังกฤษดั้งเดิมที่มาจากบริเตน ข้อแตกต่างที่เว็บสเตอร์เขียนรวมถึง การสะกดคำ เช่นคำว่า center แทนคำว่า centre และ color แทน colour และการอ่านออกเสียงต่าง ๆ ตัวอย่างคำศัพท์หลายคำที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ซึ่งได้แก่ OK (โอเค), blizzard (บลิซซาร์ด) และ teenager (วัยรุ่น) หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาถิ่น.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอินโดนีเซีย

ษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia; Indonesian language) เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ อยู่ตลอด ชื่อท้องถิ่นของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอก.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮังการี

ษาฮังการี (Magyar nyelv: มอดยอร นแยลฟ) เป็นภาษากลุ่มฟินโน-อูกริคมีผู้พูดในประเทศฮังการีและในประเทศเพื่อนบ้าน มีผู้พูดภาษาฮังการีประมาณ 14.7ล้านคน จำนวน 10ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศฮังการี ในประเทศฮังการีและประเทศเพื่อนบ้าน ภาษาฮังการีเป็นภาษาทางการหนึ่งใน 24ภาษาของสหภาพยุโรป ภายนอกประเทศฮังการี มีผู้พูดภาษานี้ในกลุ่มชนชาวฮังการี (Magyarok: มอดยอโร็ค) ในประเทศสโลวาเกีย แถบตะวันตกของประเทศยูเครน ประเทศสโลวีเนียตอนเหนือ อาณาเขตตะวันตกและตอนกลางของประเทศโรมาเนีย (ทรานซิลเวเนีย) ประเทศเซอร์เบียตอนเหนือในเขตวอยโวดีนา และประเทศโครเอเชียตอนเหนือในเขตวอยโวดีนา เนื่องจากการถูกแยกประเทศราชอาณาจักรฮังการี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: จีเมลและภาษาฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: จีเมลและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาจาวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทมิฬ

ษาทมิฬ (தமிழ்) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร 'ழ' ซึ่งพบใน 'தமிழ்' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตากาล็อก

ษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาตากาล็อก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปัญจาบ

ษาปัญจาบ หรือ ปัญจาบี หรือ ปัญชาพี (อักษรคุรมุขี: ਪੰਜਾਬੀ Paṁjābī,อักษรชาห์มุขี: پنجابی Panjābī) เป็นภาษาของชาวปัญจาบ และภูมิภาคปัญจาบของประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถาน ภาษาปัญจาบเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในกลุ่มย่อยอินโด-อิเรเนียน เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนภาษาเดียวที่เป็นภาษาวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์เกิดจากการออกเสียงพยัญชนะชุดต่าง ๆ ด้วยเสียงสูงต่ำที่ต่างกัน ในเรื่องของความซับซ้อนของรูปศัพท์ เป็นภาษาที่ใช้คำประกอบ (agglutinative language) และมักจะเรียงคำตามลำดับ 'ประธาน กรรม กิริยา' ชาวปัญจาบได้ถูกแบ่งระหว่างอินเดียและปากีสถานระหว่างการแบ่งอินเดียเมื่อพ.ศ. 2490 อย่างไรก็ดี ภาษาและวัฒนธรรมปัญจาบมักเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวปัญจาบอยู่รวมกันไม่ว่าจะสัญชาติหรือศาสนาใด มีชาวปัญจาบอพยพจำนวนมากในหลายประเทศเช่น สหรัฐ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ภาษาปัญจาบเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ที่ใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนา เป็นภาษาที่ใช้ในดนตรีภันคระที่แพร่หลายในเอเชียใต้.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานอร์เวย์

ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokmål) (หมายถึง "ภาษาหนังสือ") และ ภาษานือนอชก์ (Nynorsk) (หมายถึง "ภาษานอร์เวย์ใหม่") หมวดหมู่:สแกนดิเนเวีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศนอร์เวย์.

ใหม่!!: จีเมลและภาษานอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโรมาเนีย

ภาษาโรมาเนีย (limba română IPA: ลิมบา โรมินะ) เป็นภาษาทางการของประเทศโรมาเนีย จัดเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ทางตะวันออกที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 26 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศโรมาเนียและวอยวอดีนา (Vojvodina) ในเชิงภาษาศาสตร์แล้ว ภาษาโรมาเนียและภาษามอลโดวา (ภาษาทางการของประเทศมอลโดวา) เป็นประเภทต่าง ๆ ของภาษาเดียวกัน อย่างไรก็ดี อาจจัดเป็นภาษาที่ต่างกันโดยเหตุผลทางการเมือง รโมานเอีย.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโอริยา

ภาษาโอริยา (Oriya, ଓଡ଼ିଆ oṛiā) เป็นภาษาที่ใช้ในรัฐโอริศาของอินเดีย และเนื่องจากมีการอพยพของแรงงาน รัฐคุชราต ก็มีคนพูดภาษาโอริยาพอสมควรด้วย (เมืองสุรัตเป็นเมืองที่มีคนพูดภาษาโอริยามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของอินเดีย) และเป็นภาษาราชการของอินเดียด้วย ภาษาโอริยาเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอินโด-อารยัน และคาดว่าน่าจะพัฒนามาจากภาษาปรากฤตที่ใช้พูดในอินเดียเมื่อ 1,500 ปีก่อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาเบงกาลี ภาษาไมถิลี และภาษาอัสสัม เป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียน้อยที่สุดในบรรดาภาษาในอินเดียเหนือด้วยกัน แต่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธและศาสนาเชนมาก เขียนด้วยอักษรโอริยา อโอริยา.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาโอริยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโครเอเชีย

ษาโครเอเชีย เป็นภาษาในกลุ่มสลาวิก เป็นภาษาราชการของประเทศโครเอเชีย และประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา center Areas where Croatian language is spoken (as of 2006).

ใหม่!!: จีเมลและภาษาโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรตุเกส

ษาโปรตุเกส (português ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสถูกขนานนามว่า A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูอิช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซีอู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปแลนด์

ษาโปแลนด์ (język polski, polszczyzna) คือภาษาทางการของประเทศโปแลนด์ ภาษาโปแลนด์เป็นภาษาหลักของแขนงเลกิติกของภาษากลุ่มสลาวิกตะวันตก มีต้นกำเนิดมาจากพื้นที่ของโปแลนด์ ในปัจจุบันจากภาษาท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะที่พูดใน Greater Poland และ Lesser Poland ภาษาโปแลนด์เคยเป็นภาษากลาง (lingua franca) ในพื้นที่ต่างๆ ของยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก เนื่องจากอิทธิพลทางการเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการทหารของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ในปัจจุบันภาษาโปแลนด์ไม่ได้ใช้กันกว้างขวางเช่นนี้ เนื่องจากอิทธิพลของภาษารัสเซีย อย่างไรก็ดี ยังมีคนพูดหรือเข้าใจภาษาโปแลนด์ในพื้นที่ชายแดนทางตะวันตกของยูเครน เบลารุส และลิทัวเนีย เป็นภาษาที่สอง อักษรที่ใช้ในภาษาโปแลน.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไอซ์แลนด์

ษาไอซ์แลนด์ (íslenska อีสฺแลนฺสฺกา) เป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือ ภาษาราชการของประเทศไอซ์แลนด์ มีผู้พูดประมาณ 300 000 คน ภาษาไอซ์แลนด์เป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือที่ใกล้เคียงกับภาษานอร์สโบราณมากที่สุด ภาษาไอซ์แลนด์ยังคงรูปแบบทางไวยากรณ์หลายอย่างของภาษาเจอร์แมนิกแบบโบราณ โดยยังคงการผันคำที่ซับซ้อน.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเช็ก

ภาษาเช็ก เป็นภาษาราชการของเช็กเกีย อยู่ในกลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก มีผู้พูดประมาณ 12 ล้านคน หมวดหมู่:ภาษาในสาธารณรัฐเช็ก.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาเช็ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกาหลี

ษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวียดนาม

ษาเวียดนาม (tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอสโตเนีย

ภาษาเอสโตเนีย เป็นภาษาในกลุ่มยูราลิก เป็นภาษาราชการของประเทศเอสโตเนีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศเอสโตเนีย.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาเอสโตเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเดนมาร์ก

ษาเดนมาร์ก (dansk แดนฺสฺก) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ(หรือภาษาสแกนดิเนเวีย) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก สาขาของภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ภาษาเดนมาร์กเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของเดนมาร์ก และเป็นภาษาราชการหนึ่งในสองภาษาของเกาะกรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโร ซึ่งมีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก นอกจากนี้ภาษาเดนมาร์กยังพูดกันในหมู่ชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือของประเทศเยอรมนี ในประเทศไอซ์แลนด์ ภาษาเดนมาร์กเป็นภาษาต่างประเทศภาษาที่สอง(ต่อจากภาษาอังกฤษ)ที่มีการเรียนการสอนกันในสถาบันการศึกษาแพร่หลายที.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตลูกู

ษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลูกู ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเซอร์เบีย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จีเมลและภาษาเซอร์เบีย · ดูเพิ่มเติม »

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552) 21 ตุลาคม 2554 ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ) ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษ.

ใหม่!!: จีเมลและมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาฮู!

ู! (Yahoo! Inc.) คือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสัญชาติอเมริกันซึ่งประกอบไปด้วยเว็บท่า, เสิร์ชเอนจิน, Yahoo! Directory, Yahoo! Mail, Yahoo! News, Yahoo! Photos (ซึ่งในวันที่ 20 กันยายน ปี 2550 ได้โอนไปรวมเข้ากับ Flickr), ฯลฯ ยาฮู! ก่อตั้งขึ้นโดยนักศึกษาปริญญาเอกสองคนจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เจอร์รี่ หยาง (Jerry Yang) และ เดวิด ฟิโล (David Filo) ในเดือนมกราคมปี 1994 และเริ่มดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทครั้งแรกในวันที่ 2 มีนาคม ปี 1995 ปัจจุบัน ยาฮู! มีบริษัทมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซันนีเวล รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อ้างอิงสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ (รวมถึงอเล็กซ่า และเน็ตคราฟต์) ยาฮู! ยังคงเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต ด้วยจำนวนผู้ใช้ 412 ล้านคน เครือข่ายของยาฮู! ทั่วโลกมีเพจวิวโดยเฉลี่ยกว่า 3.4 พันล้านหน้าต่อวัน (อัปเดตเมื่อเดือนตุลาคม 2005) ปัจจุบันยาฮู! เปิดให้บริการในประเทศไทยด้วยและเริ่มเปิดตัวในประเทศไทยด้วย หรือ Yahoo! Answers ในภาคภาษาไท.

ใหม่!!: จีเมลและยาฮู! · ดูเพิ่มเติม »

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิทางกฎหมายที่กฎหมายของประเทศหนึ่ง ๆ สร้างขึ้นซึ่งให้สิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive right) แก่ผู้สร้างสรรค์งานต้นฉบับในการใช้และการขบ บ ซึ่งปกติมีเวลาจำกัด สิทธิแต่ผู้เดียวนี้มิได้เด็ดขาด แต่ถูกจำกัดโดยข้อจำกัดและข้อยกเว้นของกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งรวมถึงการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ได้กับการนำเสนองานสร้างสรรค์ใด ๆ ลิขสิทธิ์มักแบ่งกันในหมู่ผู้ประพันธ์หลายคน ซึ่งแต่ละคนถือชุดสิทธิในการใช้หรืออนุญาตให้ใช้ (license) งานนั้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ทรงสิทธิ (rightsholder) สิทธิเหล่านี้มักรวมการทำซ้ำ การควบคุมเนืองานดัดแปลง การจำหน่าย การแสดงสาธารณะ และ "สิทธิทางศีลธรรม" เช่น การแสดงที่มา (attribution) ลิขสิทธิ์ถือเป็นสิทธิอาณาเขต หมายความว่า สิทธินี้ไม่ขยายเกินอาณาเขตของเขตอำนาจหนึ่ง ๆ แม้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศต่าง ๆ มีการปรับให้เป็นมาตรฐานผ่านความตกลงลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศก็ตาม แต่กฎหมายลิขสิทธิ์ก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ตรงแบบ ระยะเวลาของลิขสิทธิ์ คือ ชีวิตของผู้ประพันธ์บวก 50 ถึง 100 ปี (คือ ลิขสิทธิ์จะหมดอายุ 50 ถึง 100 ปีหลังผู้ประพันธ์เสียชีวิต ขึ้นอยู่กับเขตอำนาจ) บางประเทศต้องมีข้อกำหนดลิขสิทธิ์ (copyright formality) เพื่อสถาปนาลิขสิทธิ์ แต่ประเทศส่วนใหญ่ยอมรับลิขสิทธิ์ในงานเสร็จสมบูรณ์ทุกงานโดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ โดยทั่วไป ลิขสิทธิ์บังคับแบบกฎหมายแพ่ง แต่บางเขตอำนาจมีการใช้โทษทางอาญาด้ว.

ใหม่!!: จีเมลและลิขสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: จีเมลและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วันเมษาหน้าโง่

วันเอพริลฟูล (April Fool's Day) หรือ "วันโกหกโลก" เฉลิมฉลองในหลายประเทศในวันที่ 1 เมษายนของทุกปี โดยผู้คนจะเล่นมุกตลกและเรื่องหลอกลวงต่อกัน มุกตลกและคนที่ถูกหลอกจะเรียกว่าเป็น "คนโง่เดือนเมษา" ตามสำนักพิมพ์หรือสื่อต่าง ๆ อาจรายงานเรื่องหลอกลวงในวันนี้ และออกมาเฉลยในวันต่อมา วันนี้ไม่ใช่วันหยุดราชการ เริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในแคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย บราซิล และสหรัฐอเมริกา การเชื่อมโยงระหว่างวันที่ 1 เมษายนกับความเขลาที่เก่าแก่ที่สุดที่มีบันทึกสามารถพบได้ใน ตำนานแคนเตอร์บรี ของชอเซอร์ (ค.ศ. 1392) นักเขียนจำนวนมากเสนอว่า การฟื้นฟูวันที่ 1 มกราคมให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีผลต่อการสร้างสรรค์วันดังกล่าว แต่ทฤษฎีนี้มิได้อธิบายการอ้างถึงก่อนหน้านั้น.

ใหม่!!: จีเมลและวันเมษาหน้าโง่ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์ไลฟ์ ฮอตเมล

วินโดวส์ไลฟ์ ฮอตเมล (Windows Live Hotmail) หรือก่อนหน้านี้เรียกว่า วินโดวส์ไลฟ์ เมล เป็นบริการฟรีเว็บเมลจากไมโครซอฟท์ โดยปัจจุบันอยู่ในระยะพัฒนา ซึ่งได้ออกแบบเพื่อแทนที่ฮอตเมล โดยมีความสามารถเด่นคือการใช้เทคนิคเอแจ็กซ์ พื้นที่ความจุ 5 จิกะไบต์ สนับสนุนยูนิโคด และมีระบบความปลอดภัยหลายอย่างด้วยกัน ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ผู้สมัครบัญชีฮอตเมลจะถูกสร้างเป็นบัญชีวินโดวส์ไลฟ์ ฮอตเมลโดยอัตโนมัติ และผู้ใช้ปัจจุบันสามารถอัปเดตด้วยการคลิกที่ปุ่ม Join Windows Live Hotmail สีเขียว ปัจจุบันนี้วินโดวส์ไลฟ์ ฮอตเมลรองรับ 36 ภาษา ซึ่งรวมถึงภาษาไทย วันที่ 3 เมษายน..

ใหม่!!: จีเมลและวินโดวส์ไลฟ์ ฮอตเมล · ดูเพิ่มเติม »

สแปม

แปม (spam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่งอีเมลที่เราไม่ต้องการ จากที่ใดก็ได้ในโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่าผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร หรือเป็นการแอบอ้างหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันมีการส่งสแปมที่สามารถปลอมชื่อและอีเมลผู้ส่งได้ จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจากอีเมลสแปมได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และเอสเอ็มเอสสแปม การส่งสแปมเริ่มแพร่หลายเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยังไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: จีเมลและสแปม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: จีเมลและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: จีเมลและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์

วินโดวส์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Windows Internet Explorer) (ก่อนนี้เรียกว่า ไมโครซอฟท์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) โดยมีชื่อย่อว่า ไออี (IE) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของไมโครซอฟท์และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีให้พร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไออีเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่มีนิยมคนนิยมใช้มากเป็นตัวหนึ่ง โดยในปี 2545 มีสัดส่วนการใช้งานในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ประมาณ 95% และมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นจนถึงประมาณ 46% ในปี..

ใหม่!!: จีเมลและอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีเมล

อีเมล (e-mail, email) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ..

ใหม่!!: จีเมลและอีเมล · ดูเพิ่มเติม »

จาวาสคริปต์

วาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาสคริปต์ ทีมีลักษณะการเขียนแบบโปรโตไทพ (Prototyped-based Programming) ส่วนมากใช้ในหน้าเว็บเพื่อประมวลผลข้อมูลที่ฝั่งของผู้ใช้งาน แต่ก็ยังมีใช้เพื่อเพิ่มเติมความสามารถในการเขียนสคริปต์โดยฝังอยู่ในโปรแกรมอื่น ๆ ซัน ไมโครซิสเต็มส์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "JavaScript" โดยมันถูกนำไปใช้ภายใต้สัญญาอนุญาตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีโดย เน็ตสเคป และมูลนิธิมอซิลล.

ใหม่!!: จีเมลและจาวาสคริปต์ · ดูเพิ่มเติม »

จิกะไบต์

กิกะไบต์, (สืบค้นคำว่า gigabyte)อ่านได้ทั้งสองแบบ อ้างอิงจาก และ หรือ จิกะไบต์ (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ กิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ.

ใหม่!!: จีเมลและจิกะไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

ีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก.

ใหม่!!: จีเมลและคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์ระยะพัฒนา

ในทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์อัลฟา หรือ ซอฟต์แวร์เบต้า หมายถึงซอฟต์แวร์ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยในระหว่างการพัฒนาแบ่งออกเป็น รุ่นอัลฟา (alpha stage) คือช่วงที่ซอฟต์แวร์รอการเพิ่มเติมความสามารถ การพิจารณาว่าจะใส่ลูกเล่นและความสามารถอะไรเพิ่ม และ รุ่นเบต้า (beta stage) คือช่วงที่ซอฟต์แวร์อยู่ในช่วง ตรวจสอบความผิดพลาดต่างๆ หรือที่เรียกว่า ดีบัก และเมื่อซอฟต์แวร์พร้อมที่จะใช้งานโดยการแก้ไขข้อผิดพลาดทั้งหมด จะเรียกว่ารุ่นเสถียร (stable stage) ในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์เบต้าหลายตัว ได้มีการให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดเพื่อนำไปทดสอบ ข้อบกพร่องต่างๆ และรายงานผลข้อผิดพลาดกลับสู่ผู้พัฒนา เพื่อที่จะพัฒนารุ่นเสถียรต่อไป.

ใหม่!!: จีเมลและซอฟต์แวร์ระยะพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์

ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ หรือ ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ (proprietary software) คือ ซอฟต์แวร์ที่สิทธิ์ในการใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ ผู้อื่นไม่สามารถนำมาใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ได้นอกจากได้รับอนุญาตในสิทธิ์นั้นจากเจ้าของ.

ใหม่!!: จีเมลและซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาฟารี (เว็บเบราว์เซอร์)

ซาฟารี (Safari) คือเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ สำหรับเครื่องแมคอินทอช โดยมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Mac OS X รุ่น 10.3 เป็นต้นไป และสตีฟ จอบส์ ได้ประกาศในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เปิดตัวซาฟารีสำหรับวินโดวส์ แต่ปัจจุบัน ซาฟารีสำหรับวินโดวส์ได้ถูกยกเลิกการพัฒนาไปแล้ว หน้าตาของซาฟารีมีลักษณะสีเงินวาว (brush metal) เหมือนกับลักษณะของ ซอฟต์แวร์เล่นเพลง ไอทูนส์ ซาฟารีรุ่นที่สองเรียกว่า Safari RSS ใช้ได้กับ Mac OS X รุ่น 10.4 ขึ้นไป ซาฟารี ใช้ตัววาดหน้าเว็บชื่อ WebCore ซึ่งพัฒนามาจากตัววาดหน้าเว็บชื่อ เว็บคิต ที่พัฒนาต่อมาจาก KHTML ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการซอฟต์แวร์เสรี.

ใหม่!!: จีเมลและซาฟารี (เว็บเบราว์เซอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: จีเมลและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ป็อป (แก้ความกำกวม)

ป็อป หรือ พ็อป หรือ ป๊อป (pop) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: จีเมลและป็อป (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

โอเปร่า (เว็บเบราว์เซอร์)

อเปร่า (Opera) คือชื่อซอฟต์แวร์ ที่รวมเว็บเบราว์เซอร์และโปรแกรมสำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ พัฒนาโดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์ ในปัจจุบันโอเปร่าเป็นผู้นำในตลาดเว็บเบราว์เซอร์สำหรับโทรศัพท์มือถือ และพีดีเอ นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้ในระบบโทรทัศน์ที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ชม (interactive television, iTV) ในบางประเทศ เมื่อไม่นานนี้ บริษัทโอเปร่าได้ร่วมมือกับบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ด้านการสร้างสรรค์สื่อ เพื่อรวมโอเปร่ากับโปรแกรมในชุด อะโดบีครีเอทีฟสวีท และเมื่อ ทาง opera (Opera Software ASA) ได้เปิดให้ opera browser (เวอร์ชันสำหรับ desktop) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถโหลดใช้งานได้ฟรี และไม่มี Ad Banner ใด ๆ ในตัวโปรแกรม สามารถใช้งานได้เต็มรูปแบบ ชุดโอเปร่าประกอบไปด้ว.

ใหม่!!: จีเมลและโอเปร่า (เว็บเบราว์เซอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสคอมพิวเตอร์

วรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) ซึ่งเรียกชื่อเลียนแบบ ไวรัส ที่เป็นสิ่งมีชีวิต แต่เป็นคำเรียกแบบย่อของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการใดๆก็ตามเท่าที่โปรแกรมถูกเขียนขึ้นมาเพื่อการใดการหนึ่งทั้งที่มีประโยชน์ทางการทำงานตามผู้เขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมาและไวรัสสามารถทำให้คอมพิวเตอร์พังได้.

ใหม่!!: จีเมลและไวรัสคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอแมป

กณฑ์วิธีเข้าถึงข้อความบนอินเทอร์เน็ต หรือ ไอแมป (Internet Message Access Protocol: IMAP) เป็นโพรโทคอลในอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการรับอีเมลการทำงานของ IMAP จะแตกต่างกับ POP3 เนื่องจาก IMAP เป็นโพรโทคอลแบบ on-line ขณะที่ POP3 เป็นโพรโทคอลแบบ off-line โดย IMAP และ POP3 เป็นสองโพรโทคอลรับอีเมลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน IMAP ออกแบบโดย Mark Crispin ใน ค.ศ. 1981 เพื่อใช้แทนโพรโทคอล POP ซึ่งมีความสามารถน้อยกว่า ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ IMAP4.

ใหม่!!: จีเมลและไอแมป · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: จีเมลและเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเมล

เว็บเมล (web-based email / webmail) คือเว็บแอปพลิเคชันที่ให้บริการอีเมลผ่านเว็บไซต์ Webmail คือ โปรแกรมบริการรับ-ส่งเมล์ที่ติดตั้งอยู่บน server โดยสามารถเรียกใช้งานเพื่อรับและส่งเมล์ผ่าน web browser ได้ การติดตั้ง Webmail นี้คงเหมาะสำหรับ คนที่มี server เป็นของตัวเอง และต้องการจัดทำ webmail ให้กับหน่วยงานของตัวเอง แทนที่จะไปใช้ webmail ที่อื่นๆ เช่น พวก Hotmail และ Yahoo mail เป็นต้น ซึ่ง Webmail เหล่านี้ตั้งอยู่ต่างประเทศ การเรียกดูหรือส่ง mail ในแต่ละครั้งจึงเป็นการติดต่อกับ Server ที่อยู่ต่างประเทศ ทำให้ปริมาณข้อมูลที่วิ่งออกไปต่างประเทศมีจำนวนมากเปลืองวงจรที่เช่าไปต่าง ประเทศ ดังนั้นถ้าหันมาใช้ webmail ขององค์กรเองก็จะช่วยทำให้ลดปริมาณข้อมูลตรงนี้ลงได้ครับ การเรียกดูข้อมูลต่างๆ จากต่างประเทศก็จะเร็วขี้น.

ใหม่!!: จีเมลและเว็บเมล · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีเอ็มแอล

อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ใหม่!!: จีเมลและเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอสเอ็มทีพี

กณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย หรือ เอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol: SMTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต SMTP เป็นโพรโทคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโพรโทคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น.

ใหม่!!: จีเมลและเอสเอ็มทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอแจ็กซ์

อแจ็กซ์ (AJAX: Asynchronous JavaScript and XML) เป็นกลุ่มของเทคนิคในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้ความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยการรับส่งข้อมูลในฉากหลัง ทำให้ทั้งหน้าไม่ต้องโหลดใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มการตอบสนอง ความรวดเร็ว และการใช้งานโดยรวม เอแจ็กซ์นั้นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่เป็นเทคนิคที่ได้ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างที่มีอยู่แล้วรวมกันดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: จีเมลและเอแจ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เอโอแอล

อโอแอล (AOL) ย่อมาจาก American Online, Inc เป็นบริษัทอเมริกันที่ให้บริการทางด้านมัลติมีเดีย ของ Time Warner AOL เป็นผู้ให้บริการข้อมูลทางเครือข่ายรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ให้บริการในรูปแบบของศูนย์ BBS และให้บริการเข้าใช้อินเทอร์เน็ตนับตั้งแต่ปี 1993 และนับเป็นศูนย์บริการเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา America Online เปิดให้บริการที่ออกแบบมาอย่างดีและใช้งานง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย รวมไปถึงเนื้อหาสาระที่มีให้บริการในขอบเขตที่กว้างขวาง การให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐาน ผู้ขาย HW และ SW จำนวนมากจัดเก็บ SW และสถานที่รับความคิดเห็น โดยงดเว้นการใช้คำเฉพาะด้านที่จำเป็น ข่าวสารและการพยากรณ์อากาศจากสำนักข่าวรอยเตอร์และยูพีไอ รวมไปถึงเรื่องกีฬา งานอดิเรก เกม และการชอปปิ้งแบบออนไลน์ก็มีด้วย อีกอย่างหนี่ง มีแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ และบริการ ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เช่น Mapquest แผนที่ออนไลน์ที่ทำให้สามารถหาสถานที่ได้ง่ายดายรวดเร็ว T9 Text Input ซอฟต์แวร์ใช้กับมือถือ icq บริการ Instant Messaging รายแรกๆของโลก ปัจจุบันมีบริการถึง 19 ภาษา Moviefone เว็บท่าข้อมูลหนัง และดีวีดี ออนไลน์ที่มีผู้เยี่ยมชมสูง รวมทั้งเบราเซอร์อย่าง Netscape และโปรแกรมฟังเพลงอย่าง Winamp ปัจจุบัน AOL Time Warner มีพนักงานทั้งหมดประมาณ 19,000 คน มีสมาชิกออนไลน์มากกว่า 32 ล้านราย นอกจากนั้น ยังเป็นเจ้าของเคเบิลทีวีรายใหญ่ของโลก ทั้ง CNN และ HBO รวมทั้งเป็นเจ้าของ Warner Bros.

ใหม่!!: จีเมลและเอโอแอล · ดูเพิ่มเติม »

เซิร์ฟเวอร์

รื่องเซิร์ฟเวอร์ของ วิกิมีเดีย เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องบริการ หรือ เครื่องแม่ข่าย คือ เครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานให้บริการ ในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการผู้ใช้อีกทีหนึ่ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี้ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก ภายในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีก.

ใหม่!!: จีเมลและเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เน็ตสเคป

ริษัท AOL ซึ่งเป็นเจ้าของ Netscape Navigator ได้ประกาศยุติการพัฒนาตั้งแต่วันนี้ (1 มี.ค. 51) เป็นต้นไป Netscape Navigator เป็นเบราว์เซอร์ที่เคยมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 90% ในช่วงกลางทศวรรษที่ 90 ในยุคแรกของ world wide web แต่ในปัจจุบัน Netscape Navigator เหลือส่วนแบ่งตลาดอยู่เพียง 0.6% จึงไม่คุ้มค่าสำหรับ AOL ที่จะพัฒนาต่อ.

ใหม่!!: จีเมลและเน็ตสเคป · ดูเพิ่มเติม »

K-Meleon

K-Meleon เป็นโปรแกรมค้นดูเว็บสำหรับวินโดวส์ที่ใช้ตัววาดหน้าเว็บแบบ Gecko เช่นเดียวกับมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ มีจุดเด่นก็คือใช้ทรัพยากรระบบน้อยทำให้เหมาะกับเครื่องที่มีประสิทธิภาพต่ำ หมวดหมู่:เว็บเบราว์เซอร์.

ใหม่!!: จีเมลและK-Meleon · ดูเพิ่มเติม »

1 เมษายน

วันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 91 ของปี (วันที่ 92 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 274 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จีเมลและ1 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

7 กรกฎาคม

วันที่ 7 กรกฎาคม เป็นวันที่ 188 ของปี (วันที่ 189 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 177 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จีเมลและ7 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

7 กุมภาพันธ์

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 38 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 327 วันในปีนั้น (328 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: จีเมลและ7 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GmailGmail.comจีเมล์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »