โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จินตนิมิตและอาหรับราตรี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จินตนิมิตและอาหรับราตรี

จินตนิมิต vs. อาหรับราตรี

นตนิมิต (fantasy) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่มีเค้าโครงหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์และเรื่องเหนือจริง มักมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในยุคกลางของยุโรป หรือมีลักษณะที่แสดงถึงยุคเดียวกันนั้น เช่นสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง เครื่องแต่งกาย หรือเทคโนโลยี โลกแห่งจินตนิมิตมักยอมรับสภาวะเหนือจริงและเวทมนตร์ต่างๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติ ความแตกต่างระหว่างจินตนิมิต กับนิยายวิทยาศาสตร์หรือนิยายสยองขวัญ คือลักษณะของเทคโนโลยีและวิธีการนำเสนอเกี่ยวกับความตาย งานจินตนิมิตประกอบด้วยผลงานประพันธ์ของนักเขียน ศิลปิน นักดนตรี หรือนักสร้างภาพยนตร์มากมาย นับแต่อดีตกาลประหนึ่งปกรณัมหรือตำนานลี้ลับ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันที่เผยแพร่แก่ผู้คนจำนวนมาก. อาหรับราตรี หรือพันหนึ่งราตรี (كِتَاب أَلْف لَيْلَة وَلَيْلَة, One Thousand and One Nights หรือ Arabian Nights) เป็นงานรวบรวมนิยายและนิทานพื้นบ้านตะวันออกกลางและเอเชียใต้ซึ่งรวบรวมไว้เป็นภาษาอังกฤษระหว่างยุคทองของอิสลาม ซึ่งฉบับภาษาอังกฤษฉบับแรก (ค.ศ. 1706) ใช้ชื่อเรื่องว่า ความบันเทิงอาหรับราตรี (The Arabian Nights' Entertainment) งานดังกล่าวมีการรวบรวมเป็นเวลาหลายศตวรรษโดยมีผู้ประพันธ์ ผู้แปลและนักวิชาการต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันตก เอเชียกลางและเอเชียใต้และแอฟริกาเหนือ ตัวนิทานเองสืบย้อนไปถึงตำนานพื้นบ้านวรรณกรรมอาหรับ เปอร์เซีย เมโสโปเตเมีย อินเดียและอียิปต์โบราณและสมัยกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิทานหลายเรื่องเดิมเป็นนิยายพื้นบ้านจากสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์ ส่วนเรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรอบเรื่อง เป็นไปได้ว่าถูกดึงมาจากงานภาษาเปอร์เซียปาห์ลาวี Hazār Afsā (هزار افسان, ท. พันนิยาย) ซึ่งอิงส่วนของอินเดียบางส่วน บางเรื่องสัมพันธ์อย่างกว้างขวางมากกับอาหรับราตรี โดยเฉพาะ "ตะเกียงวิเศษของอะลาดิน" "อาลีบาบากับโจรสี่สิบคน" และ "การเดินทางเจ็ดเที่ยวของกะลาสีซินแบด" แม้ว่าแทบเป็นนิทานพื้นบ้านตะวันออกกลางของแท้ค่อนข้างแน่นอน แต่มิใช่ส่วนหนึ่งของอาหรับราตรีในฉบับภาษาอาหรับดั้งเดิม แต่ถูกอ็องตวน ก็อลล็องและผู้แปลยุโรปคนอื่นเพิ่มเข้างาน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จินตนิมิตและอาหรับราตรี

จินตนิมิตและอาหรับราตรี มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เทพนิยาย

เทพนิยาย

วาดของกุสตาฟ ดอเร เกี่ยวกับเทพนิยายเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง เทพนิยาย (Fairy tale) หมายถึงงานประพันธ์ที่มีตัวละครจากความเชื่อพื้นบ้าน (เช่น ภูต ยักษ์ คนแคระ แม่มด สัตว์พูดได้) กับเรื่องของเวทมนตร์ และเหตุการณ์ที่ดำเนินไปเกินคาดคิด ในยุคสมัยใหม่มักใช้คำนี้ในความหมายถึงเรื่องราวที่มีมนต์เสน่ห์กับความสุขอย่างพิเศษ เช่นในคำว่า "จบแบบเทพนิยาย" (หมายถึง "จบอย่างมีความสุข") แม้ว่าในความจริงแล้ว เทพนิยายไม่ได้จบอย่างมีความสุขเสมอไปทุกเรื่อง นอกจากนี้ คำว่า "เทพนิยาย" ยังอาจใช้ในความหมายว่า เรื่องเหลือเชื่อที่เกินจะเป็นความจริงได้ ในวัฒนธรรมที่เชื่อกันว่าปีศาจกับเหล่าแม่มดมีตัวตนจริง ผู้เล่าเรื่องจะเอ่ยถึงเรื่องราวเหมือนกับว่าเป็นประวัติศาสตร์จริงๆ ที่เคยเกิดขึ้นนานมาแล้ว บางครั้ง เทพนิยาย ก็หมายรวมถึง ตำนาน ด้วย อย่างไรก็ดี ส่วนที่ไม่เหมือน ตำนาน หรือ มหากาพย์ ก็คือ เทพนิยายจะไม่อ้างอิงถึงสิ่งที่มีจริงในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถานที่ บุคคล หรือเหตุการณ์ใดๆ เหตุการณ์ในเทพนิยายเกิดขึ้นเมื่อ "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว" ที่ไม่สามารถระบุเวลาอย่างแน่ชัดได้ เป็นการยากที่จะสืบหาประวัติความเป็นมาของเทพนิยาย เพราะสิ่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันมีแต่เพียงงานเขียนที่เป็นเอกสารเท่านั้น แต่นักเล่านิทานได้สืบทอดเรื่องราวกันมานานหลายศตวรรษแล้ว ซึ่งเทพนิยายอาจเกิดขึ้นมานานพอๆ กัน แม้ในช่วงนั้นยังไม่สามารถแยกประเภทได้ชัดเจน คำว่า "เทพนิยาย" บัญญัติขึ้นใช้สำหรับวรรณกรรมประเภทนี้เป็นครั้งแรกโดยมาดามดัลนอย (Madame d'Aulnoy) ปัจจุบันยังคงมีการประพันธ์เทพนิยายและเรื่องราวที่สืบเนื่องจากเทพนิยายอยู่เสมอ เทพนิยายในยุคก่อนประพันธ์ขึ้นสำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่พอๆ กับเด็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับงานประพันธ์แบบ précieuses ในวรรณกรรมฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลกริมม์เรียกผลงานของพวกเขาว่าเป็น นิทานสำหรับเด็กและครอบครัว เมื่อเวลาผ่านไป เทพนิยายก็มีความเกี่ยวพันกับเด็กมากขึ้นเรื่อยๆ ในการศึกษาวรรณกรรมประเภทนิทานพื้นบ้าน มีการแบ่งประเภทเทพนิยายหลายวิธี ระบบที่น่าสนใจได้แก่ระบบการจัดประเภทของอาร์นี-ทอมป์สัน (Aarne-Thompson) และการวิเคราะห์ของ วลาดิเมียร์ พร็อพพ์ การศึกษาเทพนิยายในแบบอื่นนิยมการแปลความหมายของจุดสำคัญในนิยาย แต่ไม่มีโรงเรียนแห่งไหนตีความเทพนิยายแบบนั้น.

จินตนิมิตและเทพนิยาย · อาหรับราตรีและเทพนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จินตนิมิตและอาหรับราตรี

จินตนิมิต มี 40 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาหรับราตรี มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.17% = 1 / (40 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จินตนิมิตและอาหรับราตรี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »