เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จิตวิทยาและซิกมุนด์ ฟรอยด์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จิตวิทยาและซิกมุนด์ ฟรอยด์

จิตวิทยา vs. ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม. ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จิตวิทยาและซิกมุนด์ ฟรอยด์

จิตวิทยาและซิกมุนด์ ฟรอยด์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จิตวิเคราะห์จิตไร้สำนึก

จิตวิเคราะห์

ตวิเคราะห์ (psychoanalysis) เป็นชุดทฤษฎีและเทคนิคจิตวิทยาและจิตบำบัดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเดิมแพทย์ชาวออสเตรีย ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ทำให้แพร่หลายและบางส่วนกำเนิดจากงานด้านการรักษาของโยเซฟ บรอแยร์ (Josef Breuer) และอื่น ๆ นับแต่นั้น จิตวิเคราะห์ได้ขยายและมีการทบทวน ปฏิรูปและพัฒนาในทิศทางต่าง ๆ เดิมโดยผู้ร่วมงานและศิษย์ของฟรอยด์ เช่น อัลเฟรด อัดแลร์และคาร์ล กุสทัฟ ยุงผู้พัฒนาความคิดของตนเองเป็นเอกเทศจากฟรอยด์ นักจิตวิทยาฟรอยด์ใหม่ (neo-Freudian) สมัยหลังมีเอริช ฟรอมม์, คาเริน ฮอร์ไน, แฮร์รี สแทก ซัลลิแวนและฌัค ลาคา (Jacques Lacan) หลักพื้นฐานของจิตวิเคราะห์มีดังนี้.

จิตวิทยาและจิตวิเคราะห์ · จิตวิเคราะห์และซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตไร้สำนึก

จิตไร้สำนึก (unconscious mind) ประกอบด้วยกระบวนการในจิตซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและไม่สามารถพินิจภายในได้ มีกระบวนการคิด ความจำ อารมณ์และแรงจูงใจ แม้กระบวนการเหล่านี้มีอยู่ใต้ผิวของความตระหนักพิชาน (conscious) แต่มีทฤษฎีว่า จิตไร้สำนึกส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรม คำนี้บัญญัติโดย ฟรีดริช เชลลิง นักปรัชญาจินตนิยมชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และภายหลังเซมาเอล เทย์เลอร์ โคละริดจ์ กวีและผู้เขียนงานประพันธ์ นำเข้ามาในภาษาอังกฤษ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นักประสาทวิทยาและนักจิตวิเคราะห์ชาวออสเตรียพัฒนาและเผยแพร่มโนทัศน์ดังกล่าว หลักฐานเชิงประจักษ์แนะว่า ปรากฏการณ์ไร้สำนึกมีความรู้สึกที่ถูกกดเก็บ ทักษะอัตโนมัติ สัญชานใต้ระดับ (subliminal perception) ความคิด นิสัยและปฏิกิริยาอัตโนมัติ และอาจยังมีปม (complex) ความกลัวและความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เข้าใจว่ากระบวนการไร้สำนึกแสดงออกในฝันในรูปสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับการพลั้งปาก (slips of the tongue) และมุกตลก ฉะนั้น จึงมองได้ว่าจิตไร้สำนึกเป็นบ่อเกิดของฝันและความคิดอัตโนมัติ (ที่ปรากฏโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน) คลังความจำที่ถูกลืม (ซึ่งยังอาจเข้าถึงพิชานในภายหลัง) และที่ตั้งของความรู้โดยปริยาย (implicit knowledge, หมายถึง สิ่งที่สิ่งที่เรียนรู้มาอย่างดีจนทำได้โดยไม่ต้องคิด) หมวดหมู่:จิตไร้สำนึก หมวดหมู่:จิตวิทยาวิเคราะห์ หมวดหมู่:ระบบประสาทส่วนกลาง หมวดหมู่:กระบวนการทางจิต หมวดหมู่:จิตวิทยาแบบฟรอยด์.

จิตวิทยาและจิตไร้สำนึก · จิตไร้สำนึกและซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จิตวิทยาและซิกมุนด์ ฟรอยด์

จิตวิทยา มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.77% = 2 / (27 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จิตวิทยาและซิกมุนด์ ฟรอยด์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: