โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จิตรกรรมประวัติศาสตร์และจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จิตรกรรมประวัติศาสตร์และจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์

จิตรกรรมประวัติศาสตร์ vs. จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์

“วันสุดท้ายของปอมเปอี” (ค.ศ. 1833) เป็นตัวอย่างที่ดีของภาพเขียนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมประวัติศาสตร์ (History painting) เริ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ค.ศ. 1667 โดยอันเดร เฟลิเบียน (André Félibien) จิตกรประวัติศาสตร์, สถาปนิก, นักทฤษฎีคลาสสิกซิสม์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นลักษณะที่ระบบ “การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะ” (Hierarchy of genres) ถือว่าเป็นประเภทการเขียนภาพที่มีคุณค่าสูงที่สุดในบรรดาการเขียนภาพประเภทต่าง. ตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ (Dutch Golden Age painting) คือช่วงระยะหนึ่งของประวัติศาสตร์จิตรกรรมของเนเธอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ราว ค.ศ. 1584 มาจนถึง ค.ศ. 1702 เมื่อการค้าขาย, วิทยาศาสตร์ และศิลปะของเนเธอร์แลนด์เป็นทีเจริญถึงจุดสูงสุดและเลื่องลือไปทั่วโลก จิตรกรของสมัยนี้สร้างแบบฉบับการเขียนงานจิตรกรรม และ ทิ้งอิทธิพลงานที่เป็นอนุสรณ์ต่อนักเขียนภาพรุ่นต่อมาเป็นอันมาก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จิตรกรรมประวัติศาสตร์และจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์

จิตรกรรมประวัติศาสตร์และจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาพชีวิตประจำวันลำดับคุณค่าของศิลปะวรรณคดีศิลปะคริสเตียนศิลปะตามหลักวิชาอุปมานิทัศน์ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม

ภาพชีวิตประจำวัน

“ชาวบ้านเต้นรำ” โดย ปิเอเตอร์ บรูเกล (ผู้พ่อ)ราว ค.ศ. 1568 ภาพชีวิตประจำวัน (ภาษาอังกฤษ: Genre works หรือ Genre scenes หรือ Genre views) เป็นภาพที่ใช้สื่อหลายอย่างเช่นจิตรกรรมหรือการถ่ายภาพในการแสดงฉากจากชีวิตประจำวันเช่น ฉากตลาด, ฉากภายในบ้าน, ฉากงานเลี้ยง หรือฉากถนนหนทาง การแสดงฉากก็อาจจะเหมือนจริง, เป็นการจินตนาการ หรือเป็นภาพแบบอุดมคติ สื่อที่เขียนก็เรียกว่า “จิตรกรรมชีวิตประจำวัน”, “ภาพพิมพ์ชีวิตประจำวัน” หรือ “ภาพถ่ายชีวิตประจำวัน” ซึ่งก็แล้วแต่สื่อ.

จิตรกรรมประวัติศาสตร์และภาพชีวิตประจำวัน · จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์และภาพชีวิตประจำวัน · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับคุณค่าของศิลปะ

A จิตรกรรมประวัติศาสตร์. คริสเตียน อัลเบร็คท์ ฟอน เบนซอน (Christian Albrecht von Benzon), ''ความตายของคานูทผู้ศักดิ์สิทธิ์'', ค.ศ. 1843 ภาพชีวิตประจำวัน. อาเดรียน ฟาน โอสเตด, ''คนขายปลา'', ค.ศ. 1660-1670, สีน้ำมันบนไม้โอ้ค, 29 × 26.5 ซม., พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งบูดาเพสต์ ภาพเหมือน. คอนราด ครซิซาเนาสกี (Konrad Krzyżanowski), ''ภาพเหมือนของโยเซฟ พิลซูดสกี'', ค.ศ. 1920, พิพิธภัณฑ์กองทัพโปแลนด์, วอร์ซอว์ จิตรกรรมภูมิทัศน์. เทมิสโตเคิลส์ ฟอน เอ็คเค็นเบร็คเคอร์, ''ภูมิทัศน์ของ Laerdalsoren ที่ Sognefjord'', สีน้ำมันบนผ้าใบ, ค.ศ. 1901 ภาพนิ่ง. ไฮน์ริค อุห์ล (Heinrich Uhl), ''ภาพนิ่งกับกล่องอัญมณี, แว่นดูอุปรากร, ถุงมือ, และช่อดอกไม้'', สีน้ำมันบนผ้าใบ, 50 x 60 ซม. ลำดับคุณค่าของศิลปะ (hierarchy of genres) เป็นการจัดประเภทของงานศิลปะ (genre) ตามระดับความสำคัญทางคุณค่าที่วางไว้อย่างเป็นทางการ ในทางวรรณกรรม มหากาพย์ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีระดับคุณค่าสูงที่สุดในบรรดานักวิพากษ์วรรณกรรม ตามเหตุผลของซามูเอล จอห์นสัน ที่บรรยายใน ชีวิตของจอห์น มิลตัน ว่า: "ตามความเห็นที่พ้องกันของนักวิพากษ์, งานที่สมควรแก่การสรรเสริญในคุณค่าคืองานของนักเขียนผู้เขียนมหากาพย์, เพราการเขียนมหากาพย์ผู้เขียนต้องรวบรวมพลานุภาพทุกด้านที่แต่ละด้านเพียงพอสำหรับสร้างงานเขียนแต่ละชนิด" การจัดลำดับที่ทราบกันดีที่สุดในงานจิตรกรรมคือมาตรฐานที่สร้างขึ้นโดยสถาบันในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงสมัยใหม่ ระดับต่างๆ ที่จัดขึ้นสำหรับประเภทของงานศิลปะต่างๆ ได้รับการสนับสนุนโดยราชสถาบันแห่งจิตรกรรมและประติมากรรมแห่งฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้นำในศิลปะสถาบัน การโต้เถียงที่เกี่ยวกับความงามของจิตรกรรมที่ยังคงเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายังคงเน้นความสำคัญของอุปมานิทัศน์; การใช้องค์ประกอบในงานจิตรกรรมเช่นเส้น และ สีในการสื่อความหมายที่เป็นหัวใจของภาพ ฉะนั้นอุดมคตินิยมจึงเป็นสิ่งที่ใช้กันในงานศิลปะ โดยที่รูปทรงตามธรรมชาติเป็นสิ่งที่เห็นโดยทั่วไป ฉะนั้นจึงเป็นรองจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของงานศิลปะ ที่มีจุดประสงค์ในการแสวงหาสัจจะโดยการเลียนแบบ "ความงามของธรรมชาติ" แต่นักทฤษฎีที่มีความคิดเห็นแตกต่างออกไปมีความเชื่อมั่นว่าการเน้นการใช้อุปมานิทัศน์เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ถูกต้องของความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ และกวีนิพนธ์ที่มาจากบทเขียนของโฮราซ (Horace) "ut pictura poesis" ("ในภาพเขียนคือกวีนิพนธ์") การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะเริ่มขึ้นในปี..

จิตรกรรมประวัติศาสตร์และลำดับคุณค่าของศิลปะ · จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์และลำดับคุณค่าของศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร.

จิตรกรรมประวัติศาสตร์และวรรณคดี · จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์และวรรณคดี · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

จิตรกรรมประวัติศาสตร์และศิลปะคริสเตียน · จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์และศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตามหลักวิชา

“กำเนิดวีนัส” (Birth of Venus) โดย อเล็กซานเดอร์ คาร์บาเนล (Alexandre Cabanel) ค.ศ. 1863 ศิลปะสถาบัน (ภาษาอังกฤษ: Academic art) คือลักษณะของจิตรกรรม และ ประติมากรรมที่สร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลของสถาบันหรือมหาวิทยาลัยศิลปะในยุโรป ศิลปะสถาบัน โดยเฉพาะจะเป็นศิลปินที่ได้รับอิทธิพลจากสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฝรั่งเศส (Académie des beaux-arts) ซึ่งใช้แนวศิลปะฟื้นฟูคลาสสิกและลัทธิโรแมนติคซิสม์ (Romanticism) เป็นหลัก โดยเป็นศิลปะที่สร้างจากคุณลักษณะที่ดึงมาจากทั้งสองทฤษฏี ซึ่งจะเห็นได้จากงานของ วิลเลียม อดอล์ฟ โบกูโร (William-Adolphe Bouguereau), ซูซอร์ โคท (Suzor-Coté), ทอมัส โคโทร์ (Thomas Couture) และ อันส์ มาร์คาร์ท (Hans Makart) ในกรณีนี้จึงเรียกศิลปะนี้ว่า “ศิลปะสถาบัน” หรือ “L'art pompier” และ “คตินิยมสรรผสาน” (eclecticism) ซึ่งบางครั้งก็จะพยายามดึงลักษณะเด่นๆ มาจากศิลปกรรมในประวัติศาสตร์มาวิวัฒนาการเข้าด้วย นอกจากนั้นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากสถาบันหรือมหาวิทยาลัยศิลปะก็เรียกกันว่า “ศิลปะสถาบัน” เช่นกัน หรือ ศิลปะใหม่ๆ ที่สถาบันยอมรับก็อาจจะใช้คำว่า “ศิลปะสถาบัน” เป็นการเรียกก็ได้.

จิตรกรรมประวัติศาสตร์และศิลปะตามหลักวิชา · จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์และศิลปะตามหลักวิชา · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์

''อุปมานิทัศน์ของดนตรี'' โดยฟีลิปปีโน ลิปปี “อุปมานิทัศน์ของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์ อุปมานิทัศน์ (Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน อุปมานิทัศน์มิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรมหรือประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “แนวเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “นิทานคติสอนใจ” (parable) จะเป็น “แนวเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “แนวเทียบ” ฉะนั้นในงาน “อุปมานิทัศน์” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “แนวเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “อุปมานิทัศน์” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้) ไม่ใช่อุปมานิทัศน์หรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบอุปมานิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน...”.

จิตรกรรมประวัติศาสตร์และอุปมานิทัศน์ · จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์และอุปมานิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม

ียนก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำเป็นรูปวัวที่ลาส์โกซ์ (Lascaux) ในประเทศฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม (ภาษาอังกฤษ: History of painting) เริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์และเผยแพร่ไปในทุกวัฒนธรรมและทุกที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในโลกจนกระทั่งปัจจุบันนี้ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรที่ 20 จิตรกรรมจะเป็นการเขียนศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art), ศิลปะศาสนา หรือศิลปะคลาสสิก หลังจากนั้นจึงมีการเริ่มเขียนจิตรกรรมที่เป็นแต่เพียงศิลปะนามธรรม (Abstract art) และต่อมาศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art) การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย, ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะตะวันตก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก.

จิตรกรรมประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม · จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์และประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จิตรกรรมประวัติศาสตร์และจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์

จิตรกรรมประวัติศาสตร์ มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ มี 92 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 6.67% = 7 / (13 + 92)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จิตรกรรมประวัติศาสตร์และจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »