โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จารกรรมและเสรีภาพในการพูด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จารกรรมและเสรีภาพในการพูด

จารกรรม vs. เสรีภาพในการพูด

รกรรม (espionage หรือ spying) คือ การล้วงความลับจากคู่แข่งหรือศัตรูเพื่อความได้เปรียบทางการทหาร การเมือง หรือเศรษฐกิจ จารชน (spy) คือ บุคคลที่รัฐส่งไปล้วงความลับจากศัตรูหรือฝ่ายที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งความลับทางการทหาร แต่อาจรวมถึงการล้วงความลับจากต่างบริษัท เรียกว่า จารกรรมทางอุตสาหกรรม หลายประเทศส่งสายลับเข้าไปในประเทศอื่นทั้งประเทศที่เป็นมิตรและศัตรู แม้ว่าจะไม่เป็นที่เปิดเผย จารชนนี้อย่างอื่นก็เรียก เช่น สายลับ, คนสอดแนม, อุปนิกขิต หรือ อุปนิกษิต เรื่องราวเกี่ยวกับจารกรรมปรากฏในประวัติศาสตร์ตลอดมา ซุนวูกล่าวถึงการหลอกลวงและการบ่อนทำลาย อียิปต์โบราณพัฒนาระบบของการได้มาซึ่งข่าวกรอง โดยชาวฮิบรูก็ใช้ระบบนี้ โดยทั่วไป จารกรรมที่กระทำโดยพลเมืองของประเทศเป้าหมาย ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการกบฏ หลายประเทศถือว่าจารกรรมเป็นความผิดอาญา ต้องได้รับโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกากำหนดให้จารกรรมเป็นความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหามักได้รับข้อเสนอลดหย่อนโทษโดยแลกกับข้อมูลข่าวสาร ในสหราชอาณาจักร จารชนต่างชาติจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 14 ปี ภายใต้ พระราชบัญญัติความลับของทางราชการ ขณะที่จารชนชาวอังกฤษที่เป็นสายลับให้ต่างชาติ และพิสูจน์ได้ว่าช่วยเหลือศัตรู จะถูกพิพากษาในข้อหาการกบฏ รับโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ จารชนที่ทำงานให้ผู้ก่อการร้ายยังถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติการก่อการร้าย ค.ศ. 2000 ในระหว่างสงครามเย็น มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับจารกรรมบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับความลับด้านอาวุธนิวเคลียร์ ปัจจุบันใช้สายลับกับการค้ายาเสพติดโดยผิดกฎหมายและการก่อการร้. รีภาพในการพูด (freedom of speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) เป็นสิทธิการเมืองในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด คำวา เสรีภาพในการแสดงออก บางครั้งใช้เป็นคำไวพจน์ แต่ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ใด ๆ ในการแสวงหา ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง ภาพถ่าย ภาพกราฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิในการค้นคว้า หา เข้าถึงหรือได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่และนำข้อสนเทศหรือความคิดโดยไม่คำนึงถึงสื่อที่ใช้ ในทางปฏิบัติ สิทธิในเสรีภาพการพูดมิได้มีสมบูรณ์ในทุกประเทศ และสิทธินี้โดยทั่วไปมักถูกจำกัด เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาท การดูหมิ่นซึ่งหน้า ความลามก และการยุยงให้ก่ออาชญากรรม สิทธิในเสรีภาพการพูดได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้รับการยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 แห่งกติกาฯ บัญญัติว่า "ทุกคนจักมีสิทธิออกความเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง" และ "ทุกคนจักมีสิทธิในเสรีภาพการพูด สิทธินี้จักรวมไปถึงเสรีภาพในการแสวงหา ได้รับและส่งต่อข้อสนเทศและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงขอบเขต ไม่ว่าจะโดยการพูด การเขียนหรือการพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือผ่านสื่ออื่นใดที่เป็นทางเลือกของเขา" หากข้อ 19 ยังบัญญัติต่อไปว่าการใช้สิทธิเหล่านี้มี "หน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ" และอาจ "ดังนั้น ต้องถูกจำกัดบ้าง" เมื่อจำเป็น "เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น" หรือ "เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม" สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกถูกตีความรวมถึงสิทธิในการถ่ายรูปและเผยแพร่ภาพถ่ายบุคคลแปลกหน้าในพื้นที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการรับรู้จากพวกเขา อย่างไรก็ตามในคดีตามกฎหมายในประเทศเนเธอร์แลนด์สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกไม่รวมถึงสิทธิในการใช้รูปถ่ายในลักษณะเหยียดสีผิวเพื่อปลุกระดมความเกลียดชังทางเชื้อชาติหรือการเลือกปฏิบัติชาติพัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จารกรรมและเสรีภาพในการพูด

จารกรรมและเสรีภาพในการพูด มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จารกรรมและเสรีภาพในการพูด

จารกรรม มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ เสรีภาพในการพูด มี 25 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (23 + 25)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จารกรรมและเสรีภาพในการพูด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »