ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จังหวัดเลเตและประเทศฟิลิปปินส์
จังหวัดเลเตและประเทศฟิลิปปินส์ มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาฟิลิปีโนภาษาวาไรภาษาอังกฤษภาษาเซบัวโนมะนิลาสงครามโลกครั้งที่สองจังหวัดบีลีรันจังหวัดมัสบาเตจังหวัดตีโมกเลเตจังหวัดซามาร์จังหวัดโบโฮลจังหวัดเซบูเขตซีลางังคาบีซายาอัน
ภาษาฟิลิปีโน
ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515.
จังหวัดเลเตและภาษาฟิลิปีโน · ประเทศฟิลิปปินส์และภาษาฟิลิปีโน ·
ภาษาวาไร
ษาวาไร (Waray), ซามาร์-เลเต หรือ ซามาร์ เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดซามาร์, นอร์เทิร์นซามาร์, อีสเทิร์นซามาร์, เลเต และบีลีรันในฟิลิปปินส์ จัดอยู่ในภาษาตระกูลวิซายัน มีความเกี่ยวข้องกับภาษาเซบูและใกล้เคียงกับภาษาฮีลีไกโนน.
จังหวัดเลเตและภาษาวาไร · ประเทศฟิลิปปินส์และภาษาวาไร ·
ภาษาอังกฤษ
ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).
จังหวัดเลเตและภาษาอังกฤษ · ประเทศฟิลิปปินส์และภาษาอังกฤษ ·
ภาษาเซบัวโน
ษาเซบู (Cebuano; Sebwano; เซบู: Sinugboanon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ 18 ล้านคน ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากชื่อเกาะเซบู รวมกับปัจจัยจากภาษาสเปน -ano หมายถึง ที่เกี่ยวกับเชื้อชาต.
จังหวัดเลเตและภาษาเซบัวโน · ประเทศฟิลิปปินส์และภาษาเซบัวโน ·
มะนิลา
มะนิลา (Manila; Maynila) เป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยุ่บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวมะนิลา (Manila Bay) บนเกาะลูซอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ บางส่วนของเมืองมีความยากจน อย่างไรก็ดี มะนิลาเป็นเมืองที่มีชนชาติรวมกันอยู่มากมาย และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และอุตสหากรรมของประเทศ มะนิลาคือศูนย์กลางของเขตมหานครที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน เขต เมโทรมะนิลา (Metro Manila) เป็นมหานครที่ใหญ่กว่า ประกอบด้วยเมืองและเทศบาล 17 แห่ง เฉพาะเมืองมะนิลาเองเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน เมืองเดียวที่มีประชากรมากกว่าคือเมืองเกซอนซิตี (Quezon City) ชานเมืองและอดีตเมืองหลวง มะนิลาตั้งอยูที่ 14°35' เหนือ 121°0' ตะวันออก.
จังหวัดเลเตและมะนิลา · ประเทศฟิลิปปินส์และมะนิลา ·
สงครามโลกครั้งที่สอง
งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.
จังหวัดเลเตและสงครามโลกครั้งที่สอง · ประเทศฟิลิปปินส์และสงครามโลกครั้งที่สอง ·
จังหวัดบีลีรัน
ังหวัดบีลีรัน (เซบัวโน: Lalawigan sa Biliran; วาไร: Probinsya han Biliran; Lalawigan ng Biliran) เป็นจังหวัดเกาะในเขตซีลางังคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในจังหวัดที่เล็กและใหม่ที่สุดของประเทศ ก่อนหน้านี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเลเต และถูกจัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ในปี..
จังหวัดบีลีรันและจังหวัดเลเต · จังหวัดบีลีรันและประเทศฟิลิปปินส์ ·
จังหวัดมัสบาเต
ังหวัดมัสบาเต (มัสบาเต: Probinsya san Masbate; ฮีลีไกโนน: Kapuoran sang Masbate; เซบัวโน: Lalawigan sa Masbate; บีโคล: Probinsya kan Masbate; Lalawigan ng Masbate) เป็นจังหวัดเกาะในประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางของประเทศ เมืองหลักมัสบาเตซิตี จังหวัดประกอบด้วยสามเกาะหลัก ได้แก่ เกาะมัสบาเต, เกาะตีเคา และเกาะบูรีอัส มัสบาเตอยู่บริเวณจุดเชื่อมต่อของเกาะวิซายัสและเกาะลูซอน สำหรับในแง่ของการปกครอง มัสบาเตจะอยู่ในเขตบีโคลของหมู่เกาะลูซอน แต่จะมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับกลุ่มเกาะวิซายัสมากกว.
จังหวัดมัสบาเตและจังหวัดเลเต · จังหวัดมัสบาเตและประเทศฟิลิปปินส์ ·
จังหวัดตีโมกเลเต
ังหวัดตีโมกเลเต (เซบัวโน: Habagatang Leyte, Timog Leyte) เป็นจังหวัดในเขตซีลางังคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือมาอาซีน ตีโมกเลเตเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเลเตก่อนที่จะได้รับการจัดตั้งจังหวัดใหม่ ตีโมกเลเตมีพื้นที่ครอบคลุมถึงเกาะลีมาซาวา สถานที่ซึ่งเชื่อว่ากันว่าเป็นแหล่งกำเนิดโรมันคาทอลิกในฟิลิปปินส์ จังหวัดนี้มีประชากรน้อยเป็นอันดับที่สองของภูมิภาค โดยมีประชากร 421,750 คนในปี..
จังหวัดตีโมกเลเตและจังหวัดเลเต · จังหวัดตีโมกเลเตและประเทศฟิลิปปินส์ ·
จังหวัดซามาร์
ังหวัดซามาร์ หรือชื่อเดิม จังหวัดคันลูรังซามาร์ เป็นจังหวัดในเขตซีลางังคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือคัตบาโลกัน มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฮีลากังซามาร์, จังหวัดซีลางังซามาร์, จังหวัดเลเต และอ่าวเลเต ซึ่งจังหวัดซามาร์สามารถเชื่อมต่อกับจังหวัดเลเตผ่านทางสะพานซันฮัวนิโค ในปี..
จังหวัดซามาร์และจังหวัดเลเต · จังหวัดซามาร์และประเทศฟิลิปปินส์ ·
จังหวัดโบโฮล
ังหวัดโบโฮล เป็นจังหวัดเกาะในเขตกิตนางคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะใหญ่ และเกาะบริวารขนาดเล็กอีก 75 เกาะ เมืองหลักคือตักบีลารัน มีพื้นที่ และมีชายฝั่งทะเลยาว โบโฮลเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของฟิลิปปินส์ Retrieved 15 November 2006.
จังหวัดเลเตและจังหวัดโบโฮล · จังหวัดโบโฮลและประเทศฟิลิปปินส์ ·
จังหวัดเซบู
ังหวัดเซบู (เซบัวโน: Lalawigan sa Sugbu; Lalawigan ng Cebu) เป็นจังหวัดในเขตกิตนางคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะหลักและเกาะบริวารอีก 167 เกาะ เมืองหลักคือ เซบูซิตี ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของฟิลิปปินส์ จังหวัดนี้มีท่าอากาศยานนานาชาติมักตัน–เซบู ตั้งอยู่บนเกาะมักตัน เป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมาเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ จังหวัดเซบูเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีการพัฒนาดีที่สุดของประเทศ และเมืองหลักอย่างเซบูซิตี ก็เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม การค้า การศึกษา และอุตสาหกรรมของเกาะวิซายัส นอกจากนี้ยังโดดเด่นในด้านการขนส่งทางทะเล การผลิตเฟอร์นิเจอร์ และการท่องเที่ยว.
จังหวัดเซบูและจังหวัดเลเต · จังหวัดเซบูและประเทศฟิลิปปินส์ ·
เขตซีลางังคาบีซายาอัน
ตซีลางังคาบีซายาอัน (วาไร: Sinirangan Kabisay-an; เซบัวโน: Sidlakang Kabisay-an; Silangang Kabisayaan) หรือ เขตที่ 8 เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย 3 หมู่เกาะหลัก ได้แก่ เกาะซามาร์, เกาะเลเต และเกาะบีลีรัน เขตนี้มี 6 จังหวัด, 1 นครอิสระ และ 1 นครที่มีประชากรอย่างสูง (ตักโลบัน) เขตนี้ครอบคลุมพื้นที่ซีกตะวันออกของหมู่เกาะวิซายัส เขตซีลางังคาบีซายาอันติดกับทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และมีสถานที่สำคัญอย่างสะพานซันฮวนนิโค ซึ่งเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศ สำหรับในปี..
จังหวัดเลเตและเขตซีลางังคาบีซายาอัน · ประเทศฟิลิปปินส์และเขตซีลางังคาบีซายาอัน ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ จังหวัดเลเตและประเทศฟิลิปปินส์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง จังหวัดเลเตและประเทศฟิลิปปินส์
การเปรียบเทียบระหว่าง จังหวัดเลเตและประเทศฟิลิปปินส์
จังหวัดเลเต มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประเทศฟิลิปปินส์ มี 260 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 4.64% = 13 / (20 + 260)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จังหวัดเลเตและประเทศฟิลิปปินส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: