เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จังหวัดลพบุรีและฤทธิ์ ลือชา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จังหวัดลพบุรีและฤทธิ์ ลือชา

จังหวัดลพบุรี vs. ฤทธิ์ ลือชา

ังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้. ทธิ์ ลือชา ฤทธิ์ ลือชา ดารานักแสดงอาวุโส ผู้ที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีกับบทดาวร้ายจากภาพยนตร์ไทยในอดีต เช่นเดียวกับ ดามพ์ ดัสกร และ เกชา เปลี่ยนวิถี ฤทธิ์ ลือชา มีชื่อจริงว่า ฤทธิ์ลือชา คุ้มแพรวพรรณ (ชื่อเดิม: ชรินทร์ คุ้มแพรวพรรณ, ชื่อเล่นคือ: บังเครื่องม้า) หรือ ดร.ฤทธิ์ลือชา คุ้มแพรวพรรณ เป็นชาวไทยมุสลิมเชื้อสายปาทาน เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ที่อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เมื่ออายุ 16 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนอินทรศึกษา เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะสอบเอ็นทรานซ์ ในตอนอายุ 18 แต่ทว่าสอบไม่ติด จึงย้ายไปอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นชุมชนแขกปาทานที่มีชื่อเสียง เพื่อดูแลน้องสาวและช่วยดูแลกิจการครอบครัวน้องสาว ซึ่งเป็นฟาร์มปศุสัตว์เลี้ยงวัว ฤทธิ์มีหน้าที่ช่วยรีดนมวัวส่งขายตอนเช้า เนื่องจากมีเทคนิครีดนมได้ดี แม้ใช้มือทั้งสองข้างรีดไปมาพร้อมกันได้น้ำนมมากเป็นพิเศษแต่หัวนมวัวไม่ช้ำ หนังสือพิมพ์ได้เขียนแซวถึงงานดังกล่าวว่าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาติดใจแม่ลูกอ่อน เข้าสู่วงการการแสดงด้วยการได้รับการติดต่อจากกองถ่ายภาพยนตร์ให้ช่วยจัดหาสถานที่และอุปกรณ์ในการถ่ายทำที่จังหวัดสระบุรีเนื่องจากเป็นหนุ่มผู้กว้างขวางในพื้นที่ จึงถูกชักชวนให้เข้าวงการจาก พร ไพโรจน์ เริ่มต้นด้วยการเป็นดาวร้ายจากภาพยนตร์เรื่อง ข้ามาคนเดียวในปี พ.ศ. 2521 โดยได้สมญานามว่าเป็นโอมาร์ ชารีฟเมืองไทย แม้ส่วนใหญ่จะจะรับบทเป็นดาวร้ายเพราะหน้าตาดูดุดัน แต่มีรูปร่างสูงใหญ่กำยำและมีเสน่ห์ที่หนวดเครา เป็นที่รู้กันในหมู่เพื่อนนักแสดงชายถึงขนาดของเครื่องเคราที่ประดุจเครื่องม้า ฤทธิ์เคยได้รับรางวัลเมขลามากถึง 8 รางวัลด้วยกัน จากละครโทรทัศน์เรื่องต่าง ๆ ภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงก็เช่นภาพยนตร์เบาสมองเรื่องกองพันทหารเกณฑ์(2527) ทหารเกณฑ์เจอผี(2527) และกองพันทหารใหม่(2528) ในบทบาทจ่าบังหัวชะโดครูฝึกทหารจอมอึด โดยในเรื่องหลังเขาได้ลงทุนโกนหนวดโชว์ใบหน้าที่เกลี้ยงเกลา ซึ่งก็ได้รับเสียงฮือฮาเป็นอย่างมากว่าหล่อเหลาเกินคาดและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่ผู้ชมไม่น้อย ส่วนแก้วขนเหล็ก(2526)และจอมเมฆินทร์(2528)ฤทธิ์รับบทผีดูดเลือดพันปีผู้พิศมัยเลือดสดๆจากสาวๆ และรับบทมือปืนนักฆ่าจอมโหดในเรื่องมือปืนผีสิง(2529) และดวลปืน(2529) ตามลำดับ ฤทธิ์ลือชา คุ้มแพรวพรรณ หรือในนาม ดร.ฤทธิ์ลือชา คุ้มแพรวพรรณ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต และปริญญาเอก รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ด้านชีวิตครอบครัว สมรสตั้งแต่ก่อนเข้าวงการบันเทิง มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 5 คน เป็นลูกสาว 4 คน โดยมีบุตรสาวคนหนึ่ง คือ ประดับดาว คุ้มแพรวพรรณ (ไจแอนท์) ซึ่งเคยติด 1 ใน 10 ผู้เข้าประกวดร้องเพลงจากรายการ The Singer ทางช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2550 ปัจจุบันนอกจากการเป็นนักแสดงแล้ว ยังมีกิจการร้านอาหาร ชื่อร้านบุญบันดาล ที่จังหวัดสระบุรีอีกด้วย ผลงานในระยะหลังได้แก่ กษัตริยา ทางช่อง 5 และเริ่มเปลี่ยนบทบาทไปรับบทที่อาวุโสและสุขุมขึ้น เช่น บทพ่อ ในซิทคอมชุด รักแปดพันเก้า ทางช่อง 9 เป็นต้น ในทางสังคมฤทธิ์ให้สัมภาษณ์ว่านอกเหนือจากรีดนมทุกประเภทแล้ว เขายังสนใจการเล่นไก่ชน ถึงขนาดได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาพันธ์ไก่ชนไทย ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ชน ในทางการเมืองเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสมาชิก (ส.ว.) ของกรุงเทพมหานครด้วย เมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และเป็นผู้ที่สนิทสนมกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เคยมีโปรโมเตอร์บางคนเชิญไปร้องเพลงชาติไทยให้นักมวยสากลเวลามีการป้องกันแชมป์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เล่นละครสงครามเพลงตั้งแต่เคยเล่นในภาพยนตร์มาเป็นละครมาเป็นตัวร้ายรับเชิญทางช่อง 3 เอสดี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จังหวัดลพบุรีและฤทธิ์ ลือชา

จังหวัดลพบุรีและฤทธิ์ ลือชา มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครอำเภอบ้านหมี่จังหวัดสระบุรีทหารประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและจังหวัดลพบุรี · กรุงเทพมหานครและฤทธิ์ ลือชา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบ้านหมี่

อำเภอบ้านหมี่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี.

จังหวัดลพบุรีและอำเภอบ้านหมี่ · ฤทธิ์ ลือชาและอำเภอบ้านหมี่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสระบุรี

ังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม.

จังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี · จังหวัดสระบุรีและฤทธิ์ ลือชา · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร

ทหารในประเทศเคนยา ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม.

จังหวัดลพบุรีและทหาร · ทหารและฤทธิ์ ลือชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

จังหวัดลพบุรีและประเทศไทย · ประเทศไทยและฤทธิ์ ลือชา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จังหวัดลพบุรีและฤทธิ์ ลือชา

จังหวัดลพบุรี มี 195 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฤทธิ์ ลือชา มี 41 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 2.12% = 5 / (195 + 41)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จังหวัดลพบุรีและฤทธิ์ ลือชา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: