ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดอุบลราชธานี มี 21 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครภาคอีสาน (ประเทศไทย)มหาวิทยาลัยมหาสารคามรายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดรายชื่อคำขวัญประจำจังหวัดหมู่บ้านอำเภอองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดสุรินทร์จังหวัดขอนแก่นถนนแจ้งสนิทตราประจำจังหวัดของไทยตารางกิโลเมตรตำบลประเทศไทยแม่น้ำชีแคนดี้ รากแก่นเทศบาลตำบลเทศบาลเมือง
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.
กรุงเทพมหานครและจังหวัดมหาสารคาม · กรุงเทพมหานครและจังหวัดอุบลราชธานี ·
ภาคอีสาน (ประเทศไทย)
อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.
จังหวัดมหาสารคามและภาคอีสาน (ประเทศไทย) · จังหวัดอุบลราชธานีและภาคอีสาน (ประเทศไทย) ·
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Mahasarakham University, อักษรย่อ: มมส - MSU) ตั้งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม ก่อกำเนิดจากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และได้รับการยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. 2537 นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีวิทยาเขตหลักที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และวิทยาเขตพื้นที่ในเมือง ตำบลตลาด อำเภอเมือง มหาสารคาม เปิดการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 177 สาขาวิชา ใน 21 คณะหรือเทียบเท่า และขยายโอก่าสทางการศึกษาโดยจัดโครงการศึกษาที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุดรธานี นอกจากนี้ยังมีการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม.
จังหวัดมหาสารคามและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม · จังหวัดอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ·
รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด
ันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (พระราชพิธีกาญจนาภิเษก) รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดของแต่ละจังหวัดแยกตามภาค (ตามเกณฑ์การแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน) มีรายละเอียดตามที่ปรากฏในตารางข้างล่าง ทั้งนี้ พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานของบางจังหวัด (ได้แก่ นครปฐม บุรีรัมย์ ยโสธร ระนอง ระยอง สุโขทัย และสุรินทร์) จะเป็นพรรณไม้คนละชนิดกับต้นไม้ประจำจังหวัดนั้น ๆ ส่วนจังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้พระราชทานเนื่องจากขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนอง.
จังหวัดมหาสารคามและรายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด · จังหวัดอุบลราชธานีและรายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ·
รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด
ำขวัญประจำจังหวัด เป็นคำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยแต่งขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ มักเป็นคำคล้องจองสั้น ๆ เพื่อให้จดจำง่าย นอกจากคำขวัญประจำจังหวัดแล้ว ปัจจุบันยังมีการแต่งคำขวัญประจำท้องถิ่นในส่วนย่อยลงไปอีก เช่น คำขวัญประจำอำเภอ คำขวัญประจำเขต (ในกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น คำขวัญประจำจังหวัด แยกตามภาคได้ดังนี้.
จังหวัดมหาสารคามและรายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด · จังหวัดอุบลราชธานีและรายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด ·
หมู่บ้าน
หมู่บ้าน (village) เป็นนิคมหรือชุมชนมนุษย์ ใหญ่กว่าหมู่บ้านขนาดเล็ก (hamlet) แต่เล็กกว่าเมือง มีประชากรตั้งแต่ไม่กี่ร้อยคนไปถึงหลายพันคน (บางแห่งถึงหมื่นคน) ในอดีต หมู่บ้านเป็นรูปแบบชุมชนปกติสำหรับสังคมที่ใช้เกษตรกรรมเพื่อยังชีพ และยังมีในบางสังคมที่มิใช่สังคมเกษตรบ้าง ในบริเตนใหญ่ หมู่บ้านขนาดเล็กได้รับสิทธิเรียกหมู่บ้านเมื่อสร้างโบสถ์ ในหลายวัฒนธรรม เมืองและนครมีน้อย โดยมีสัดส่วนประชากรอาศัยอยู่น้อย การปฏิวัติอุตสาหกรรมดึงดูดให้คนจำนวนมากทำงานในโรงสีและโรงงาน การกระจุกของคนทำให้หลายหมู่บ้านเติบโตเป็นเมืองและนคร นอกจากนี้ยังทำให้มีความชำนาญพิเศษของแรงงานและช่างฝีมือ และพัฒนาการของการค้าจำนวนมาก แนวโน้มการกลายเป็นเมืองดำเนินต่อ แม้ไม่เชื่อมโยงกับการปรับให้เป็นอุตสาหกรรมเสมอไป หมู่บ้านเสื่อมความสำคัญลงทั้งที่เป็นหน่วยสังคมและนิคมมนุษย์ แม้มีชีวิตหมู่บ้านหลากรูปแบบ แต่หมู่บ้านตรงแบบเล็ก บางทีประกอบด้วย 5 ถึง 30 ครอบครัว บ้านตั้งอยู่ด้วยกันเพื่อการเข้าสังคมและการป้องกัน และดินแดนโดยรอบพื้นที่อยู่อาศัยมีการทำไร่นา หมู่บ้านประมงเดิมยึดการประมงพื้นบ้าน (artisan fishing) และตั้งอยู่ติดพื้นที่จับปลา หมวดหมู่:หน่วยการปกครอง หมวดหมู่:หมู่บ้าน หมวดหมู่:ที่อยู่อาศัย.
จังหวัดมหาสารคามและหมู่บ้าน · จังหวัดอุบลราชธานีและหมู่บ้าน ·
อำเภอ
อำเภอ เป็นหน่วยการปกครองระดับที่สองในประเทศไทย ลำดับรองมาจากจังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีนายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครอง โดยในแต่ละอำเภอจะแบ่งส่วนย่อยออกเป็น ตำบล ในปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอใน 76 จังหวัด ซึ่งไม่รวม 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการบริหารกรุงเทพมหานครในปี..
จังหวัดมหาสารคามและอำเภอ · จังหวัดอุบลราชธานีและอำเภอ ·
องค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล..
จังหวัดมหาสารคามและองค์การบริหารส่วนตำบล · จังหวัดอุบลราชธานีและองค์การบริหารส่วนตำบล ·
จังหวัดบุรีรัมย์
ังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 รองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดขอนแก่น และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไท.
จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดมหาสารคาม · จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดอุบลราชธานี ·
จังหวัดร้อยเอ็ด
ร้อยเอ็ด เดิมสะกดว่า ร้อยเอ็จ เป็นจังหวัดบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานตอนกลางหรือตอนบนของไท.
จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด · จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดอุบลราชธานี ·
จังหวัดสุรินทร์
รินทร์ (เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เขมร กูยและลาวหรือไทยอีสาน มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24.
จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดสุรินทร์ · จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดอุบลราชธานี ·
จังหวัดขอนแก่น
ังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจังหวัดศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เมืองขอนแก่นตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญอีกเส้นหนึ่งในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางเข้าไปสู่ภาคเหนือตอนล่างที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทางด้านทิศใต้ของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ.
จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม · จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอุบลราชธานี ·
ถนนแจ้งสนิท
นนแจ้งสนิท หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 สายบ้านไผ่–อุบลราชธานี เป็นทางหลวงที่แยกออกมาจากถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ที่ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ผ่านเข้าเขตจังหวัดมหาสารคาม ผ่านอำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม เข้าเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ผ่านอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ เข้าเขตจังหวัดยโสธร ผ่านอำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว จากนั้นเข้าเขตจังหวัดอุบลราชธานี ผ่านอำเภอเขื่องใน แล้วไปสิ้นสุดที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 278.752 กิโลเมตร ถนนแจ้งสนิทเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายชนบท-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-อุบลราชธานี" - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..
จังหวัดมหาสารคามและถนนแจ้งสนิท · จังหวัดอุบลราชธานีและถนนแจ้งสนิท ·
ตราประจำจังหวัดของไทย
ตราประจำจังหวัดของไทย มีพัฒนาการมาจากตราประจำตำแหน่งของเจ้าเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และตราประจำธงประจำกองลูกเสือ 14 มณฑล ในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 ในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น รัฐบาลได้กำหนดให้แต่ละจังหวัดมีตราประจำจังหวัดของตนเองใช้เมื่อ พ.ศ. 2483 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบตราตามแนวคิดที่แต่ละจังหวัดกำหนดไว้ ปัจจุบัน เมื่อมีการตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ ก็จะมีการออกแบบตราประจำจังหวัดด้วยเสมอ แต่ตราของบางจังหวัดที่ใช้อยู่นั้นบางตราก็ไม่ใช่ตราที่กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ บางจังหวัดก็เปลี่ยนไปใช้ตราประจำจังหวัดเป็นแบบอื่นเสียก็มี บางที่ลักษณะของตราก็เพี้ยนไปจากลักษณะที่กรมศิลปากรออกแบบไว้ แต่ยังคงลักษณะหลัก ๆ ของตราเดิมไว้อยู่บ้างก็มี.
จังหวัดมหาสารคามและตราประจำจังหวัดของไทย · จังหวัดอุบลราชธานีและตราประจำจังหวัดของไทย ·
ตารางกิโลเมตร
ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.
จังหวัดมหาสารคามและตารางกิโลเมตร · จังหวัดอุบลราชธานีและตารางกิโลเมตร ·
ตำบล
ตำบลหรือ เขตที่ตั้งเมือง (township) เป็นนิคมมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้าน แต่เล็กกว่าเมือง ขนาดของเมืองขนาดเล็กอาจแตกต่างกันอย่างมากในทุกภูมิภาคของโลก เมืองขนาดเล็กในประเทศไทยยังหมายถึงเทศบาลตำบล.
จังหวัดมหาสารคามและตำบล · จังหวัดอุบลราชธานีและตำบล ·
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
จังหวัดมหาสารคามและประเทศไทย · จังหวัดอุบลราชธานีและประเทศไทย ·
แม่น้ำชี
แม่น้ำชี เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำมูล เกิดจากที่ราบด้านตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์นับตั้งแต่เขาสันปันน้ำ เขาแปปันน้ำ เขาเสลียงตาถาด เขาอุ้มน้ำ เขายอดชี เขาครอก จนถึงเขาเทวดา ซึ่งเป็นแนวภูเขาชายเขตแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดชัยภูมิ โดยมีสาขาหลัก 5 ลำน้ำซึ่งประกอบไปด้วย ลำน้ำพอง ลำน้ำปาว ลำน้ำเซิน ลำน้ำพรม และลำน้ำยัง แม่น้ำชีถือว่า เป็นแม่น้ำที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย ไหลผ่านจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่บ้านวังยาง รอยต่อจังหวัดศรีสะเกษ กับ จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวทั้งสิ้น 765 กิโลเมตร.
จังหวัดมหาสารคามและแม่น้ำชี · จังหวัดอุบลราชธานีและแม่น้ำชี ·
แคนดี้ รากแก่น
แคนดี้ รากแก่น หรือ เป็นนักจัดรายการวิท.
จังหวัดมหาสารคามและแคนดี้ รากแก่น · จังหวัดอุบลราชธานีและแคนดี้ รากแก่น ·
เทศบาลตำบล
ทศบาลตำบล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเมืองขนาดเล็ก โดยทั่วไปเทศบาลตำบลมีฐานะเดิมเป็นสุขาภิบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) การจัดตั้งเทศบาลตำบลกระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เทศบาลตำบลมีนายกเทศมนตรีคนหนึ่งทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารและสภาเทศบาลซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 12 คนที่ราษฎรในเขตเทศบาลเลือกตั้งมาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรเขตเทศบาล เทศบาลตำบลมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและความสะอาด สร้างและบำรุงถนนและท่าเรือ ดับเพลิงและกู้ภัย จัดการศึกษา ให้บริการสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และรักษาวัฒนธรรมอันดีในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังอาจจัดให้มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่น ๆ ได้ตามสมควร เทศบาลตำบลโดยทั่วไปมีชื่อตามตำบลที่เทศบาลตั้งอยู่ แต่ก็มีหลายแห่ง (ส่วนใหญ่จะเป็นเทศบาลตำบลที่ได้รับการยกฐานะขึ้นมาจากสุขาภิบาล) ที่ไม่ได้ใช้ชื่อของตำบลหรืออำเภอที่ตั้งเทศบาลเป็นชื่อ เช่น เทศบาลตำบล กม.5 ที่ตั้งอยู่ในตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ เทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง ๆ อาจมีเขตครอบคลุมพื้นที่ตำบลอันเป็นที่ตั้งเทศบาลแห่งนั้นทั้งตำบล หรือครอบคลุมพื้นที่เพียงบางส่วนของตำบล ส่วนพื้นที่ตำบลเดียวกันซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาลนั้นจะอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบล (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างสำหรับพื้นที่ชนบท) หรือบางครั้งเขตเทศบาลยังอาจครอบคลุมไปถึงพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของตำบลอื่นที่อยู่ข้างเคียงก็ได้ หากท้องถิ่นที่เป็นเทศบาลตำบลเจริญเติบโตขึ้นจนมีประชากรถึง 10,000 คน และมีรายได้พอควร อาจได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมือง (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเมืองขนาดกลาง) ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่และความเป็นอิสระมากขึ้น และเขตเทศบาลก็อาจขยายออกไปตามชุมชนเมืองที่ขยายตัวโดยยุบองค์การบริหารส่วนตำบลข้างเคียงที่กลายสภาพจากชนบทเป็นเมืองเข้ามารวมด้วย แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนที่อยู่ในท้องที่นั้น ๆ ปัจจุบัน ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน..
จังหวัดมหาสารคามและเทศบาลตำบล · จังหวัดอุบลราชธานีและเทศบาลตำบล ·
เทศบาลเมือง
ทศบาลเมือง เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลสำหรับเมืองขนาดกลาง จัดตั้งโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ท้องถิ่นที่จะได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองนั้น คือ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด เช่น เทศบาลเมืองเพชรบุรี (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี) เทศบาลเมืองสระแก้ว (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสระแก้ว) หรือท้องถิ่นที่มีจำนวนราษฎรมากกว่า 10,000 คน และมีรายได้เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลเมืองตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ก็มีท้องถิ่นบางแห่งที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดและมีจำนวนประชากรไม่ถึง 10,000 คน แต่ก็มีฐานะเป็นเทศบาลเมือง เนื่องจากได้รับการจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเทศบาลสมัยแรก ๆ ซึ่งวางเกณฑ์ต่างจากปัจจุบัน เช่น เทศบาลเมืองเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทศบาลเมืองหลายแห่งมีฐานะเดิมเป็นเทศบาลตำบล เช่น เทศบาลตำบลหัวหิน เทศบาลตำบลชะอำ ที่ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองหัวหินและเทศบาลเมืองชะอำตามลำดับ แต่ก็มีบางแห่งที่ได้รับการยกฐานะข้ามขั้นจากองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นมาโดยไม่เป็นเทศบาลตำบลมาก่อน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองปรกฟ้า, องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา จังหวัดสงขลา ที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ทั้งนี้ หากท้องถิ่นใดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองไปแล้วเป็นเวลา 1 ปี ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันในท้องถิ่นนั้น ๆ จะถูกยกเลิกไปด้วย นอกจากเทศบาลเมืองอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจะมีชื่อเรียกตามชื่อจังหวัดแล้ว (ยกเว้นตัวจังหวัดที่เป็นเทศบาลนครแล้วจำนวน 22 จังหวัด และตัวจังหวัดสุโขทัยซึ่งมีชื่อว่า เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) เทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอโดยทั่วไปมักมีชื่อตามชื่ออำเภอหรือตำบลที่เทศบาลตั้งอยู่ เช่น เขตเทศบาลเมืองสวรรคโลก ครอบคลุมเขตตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย แต่ก็มีบางแห่งที่ไม่ใช้ชื่ออำเภอหรือตำบลเป็นชื่อ เช่น เขตเทศบาลเมืองลัดหลวง ครอบคลุมเขตตำบลบางพึ่ง ตำบลบางจาก และตำบลบางครุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เทศบาลเมืองมีนายกเทศมนตรีทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารและมีสภาเทศบาลซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 18 คนที่ราษฎรในเขตเทศบาลเลือกตั้งมาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรในเขตเทศบาล โดยเทศบาลเมืองมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและความสะอาด สร้างและบำรุงถนนและท่าเรือ ดับเพลิงและกู้ภัย จัดการศึกษา ให้บริการสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และรักษาวัฒนธรรมอันดีในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังอาจจัดให้มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่น ๆ ได้ตามสมควร.
จังหวัดมหาสารคามและเทศบาลเมือง · จังหวัดอุบลราชธานีและเทศบาลเมือง ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดอุบลราชธานี มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดอุบลราชธานี
การเปรียบเทียบระหว่าง จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดมหาสารคาม มี 115 ความสัมพันธ์ขณะที่ จังหวัดอุบลราชธานี มี 252 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 21, ดัชนี Jaccard คือ 5.72% = 21 / (115 + 252)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดอุบลราชธานี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: