โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดชิซูโอกะและประเทศญี่ปุ่น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จังหวัดชิซูโอกะและประเทศญี่ปุ่น

จังหวัดชิซูโอกะ vs. ประเทศญี่ปุ่น

ังหวัดชิซูโอกะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในภูมิภาคชูบุ บนเกาะฮนชู เมืองหลักใช้ชื่อเดียวกันคือเมืองชิซูโอกะ (静岡市 Shizuoka-shi) จังหวัดนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาฟูจิ (富士山 Fuji-san) และมีชื่อเสียงของการปลูกชาเขียวที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น. ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จังหวัดชิซูโอกะและประเทศญี่ปุ่น

จังหวัดชิซูโอกะและประเทศญี่ปุ่น มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชูบุมหาสมุทรแปซิฟิกรัฐบาลเอโดะจังหวัดคันโตตระกูลโฮโจโชกุนโอดะ โนบูนางะโทกูงาวะ อิเอยาซุเกาะฮนชู

ชูบุ

ตชูบุของญี่ปุ่น ภูเขาฟูจิ สถานที่ที่สำคัญแห่งหนึ่งในชูบุ ชูบุ เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ตรงส่วนกลางของประเทศ จุดเด่นของภาคชูบุก็คือ ถึงแม้ทั้ง 9 จังหวัดจะจัดอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ก็มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ รวมไปถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน โดย 4 จังหวัดชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น อันได้แก่ นีงะตะ โทะยะมะ อิชิกะวะ และฟุกุอิ เป็นเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล มีหิมะตกหนักในฤดูหนาว แต่ระยะเวลาสั้นกว่าภูมิภาคโทโฮะกุและฮกไกโด ฤดูร้อนอากาศร้อนชื้นและเย็นสบายในฤดูใบไม้ผลิ พื้นที่ราบในเขตนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคชูบุ และเป็นแหล่งปลูกข้าวที่มีคุณภาพแห่งใหญ่แห่งหนึ่ง ชูบุ ตั้งอยู่ตรงส่วนกลางของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 21 ล้านคนใน 9 จังหวัด ซึ่งถึงแม้ว่าจะจัดอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน แต่มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ รวมไปถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ในเขตโฮะกุริกุ ประกอบไปด้วยสี่จังหวัดชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น อันได้แก่ นีงะตะ โทยะมะ อิชิกะวะ และฟุกุอิ เป็นเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล มีหิมะตกหนักในฤดูหนาว แต่ระยะเวลาสั้นกว่าภูมิภาคโทโฮะกุและฮกไกโด ฤดูร้อนอากาศร้อนชื้นและเย็นสบายในฤดูใบไม้ผลิ พื้นที่ราบในเขตนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคชูบุ และเป็นแหล่งปลูกข้าวที่มีคุณภาพแห่งใหญ่แห่งหนึ่ง พื้นที่สูงตอนกลางประกอบไปด้วยจังหวัดนะงะโนะ กิฟุ และยะมะนะชิ ดินแดนแห่งเทือกเขาสูงทอดตัวเป็นแนวยาวไม่รู้จบ ที่ตั้งของเจแปนแอลป์หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็นหลังคาของญี่ปุ่น เป็นเมืองตากอากาศบนเขาและแหล่งเล่นสกียอดนิยมแห่งหนึ่ง บนภูเขาอากาศหนาวเย็นตลอดปี ในฤดูร้อนบนเขามีแสงแดดอบอุ่น แต่ในขณะที่ทางเชิงเขาอากาศร้อนชื้น พื้นที่ทางตอนล่างประกอบไปด้วยจังหวัดไอจิและชิซุโอะกะ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งด้านมหาสมุทรแปซิฟิก มีภูมิอากาศอบอุ่นสบาย มีชื่อเสียงเลื่องลือ ในด้านการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ที่เมืองนะโงะยะ จังหวัดไอจิ และภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาไฟที่สูงที่สุดและเป็นสัญญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ระหว่างเขตจังหวัดชิซุโอะกะและยะมะน.

จังหวัดชิซูโอกะและชูบุ · ชูบุและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

จังหวัดชิซูโอกะและมหาสมุทรแปซิฟิก · ประเทศญี่ปุ่นและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

จังหวัดชิซูโอกะและรัฐบาลเอโดะ · ประเทศญี่ปุ่นและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัด

ังหวัด หรือมณฑล (province) คือชื่อเรียกหน่วยการปกครองระดับหนึ่ง โดยปกติจะเป็นระดับใหญ่ที่สุดในประเทศ หรือรัฐ (ลำดับแรกในการแบ่งการปกครอง) คำว่าจังหวัดใช้เรียก province ในประเทศไทย ส่วนมณฑลใช้กับบางประเทศ เช่น มณฑลยูนนาน (Yunnan Province) ในประเทศจีน หรือ.

จังหวัดและจังหวัดชิซูโอกะ · จังหวัดและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

คันโต

ันโต เป็นภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู ในภาคคันโตประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกุมมะ, คะนะงะวะ, ชิบะ, ไซตะมะ, โตเกียว, โทะชิงิ และ อิบะระกิ คันโตมีขนาดประมาณ 32,423.85 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มประมาณร้อยละ 40 และที่เหลือมีลักษณะเป็นภูเขา ภาคคันโตมีประชากรประมาณ 41,487,171 คน (วันที่ 1 ตุลาคม..

คันโตและจังหวัดชิซูโอกะ · คันโตและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลโฮโจ

ตระกูลโฮโจ (Hōjō Clan) เป็นตระกูล ซะมุไร ที่ทรงอิทธิพลในยุค คะมะกุระ เพราะผู้นำตระกูลคนแรกคือ โฮโจ โทะคิมะซะ เป็นพ่อตาของ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ โชกุนคนแรกของ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ และเป็น ชิกเก็ง หรือ ผู้สำเร็จราชการ ในสมัยของ มินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ โชกุนคนที่ 2 ผู้เป็นหลานชายคนโต ตระกูลโฮโจเริ่มมีบทบาทสำคัญเมื่อ โฮโจ โทะกิมะซะ ได้ช่วยชีวิต มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ จากการถูก ไล่ฆ่าพร้อมกับสนับสนุนโยะริโตะโมะให้ลุกขึ้นสู้กับ ตระกูลไทระ และยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย หลังจาก สงครามเก็มเป ปรากฏว่าตระกูลมินะโมะ โตะได้ชัยชนะและทรงอำนาจในแผ่นดินเหนือราชสำนัก จึงทำให้ตระกูลโฮโจมีอำนาจและอิทธิพลตามไปด้วย หลังจาก จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ เสด็จสวรรคตลง ในปี ค.ศ. 1192 โยะริโตะโมะจึงได้รับพระราชทาน ตำแหน่ง เซไตโชกุน เป็นคนแรกจาก จักรพรรดิโกะ-โทะบะ ยิ่งทำให้ตระกูลโฮโจทรงอำนาจและอิทธิพล มากขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1202 โยะริโตะโมะถึงแก่อสัญกรรม โยะริอิเอะ บุตรชายคนโตจึงขึ้นเป็นโชกุนสืบต่อมา แต่ในสมัยของโยะริอิเอะอำนาจทั้งหมดอยู่ที่โทะคิมะซะ ผู้เป็นตาพร้อมกันนั้นยังบีบบังคับโชกุนโยะริอิเอะให้ตั้ง ตัวเองเป็น ชิกเก็ง หรือผู้สำเร็จราชการทำให้โชกุน โยะริอิเอะไม่พอใจสละตำแหน่งให้ ซะเนะโตะโมะ ผู้ เป็นน้องชายหลังจากดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปีซึ่งหลังจาก สมัยของโชกุนโยะริอิเอะเป็นต้นไปอำนาจทั้งหมดอยู่ที่ ชิกเก็งที่มาจากตระกูลโฮโจทั้งสิ้น ตระกูลโฮโจหมดอำนาจลงในปี ค.ศ. 1333 หลังจาก ตระกูลอะชิกะงะ ที่นำโดย อะชิกะงะ ทะกะอุจิ กระทำรัฐประหาร บุกเข้ายึด คะมะกุระ ทำให้ตระกูลโฮโจหมดอำนาจลงพร้อมกับตระกูลมินะโมะโต.

จังหวัดชิซูโอกะและตระกูลโฮโจ · ตระกูลโฮโจและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

จังหวัดชิซูโอกะและโชกุน · ประเทศญี่ปุ่นและโชกุน · ดูเพิ่มเติม »

โอดะ โนบูนางะ

อดะ โนบุนางะ เป็นไดเมียว และหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซงโงกุ เป็นหนึ่งในสามผู้รวบรวมญี่ปุ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงก.

จังหวัดชิซูโอกะและโอดะ โนบูนางะ · ประเทศญี่ปุ่นและโอดะ โนบูนางะ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอยาซุ

ทกูงาวะ อิเอยาซุ คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมืองเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) และเป็นโชกุนคนแรกจากตระกูลโทกูงาวะที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นสุด ศึกเซะกิงะฮะระและเริ่มต้นยุคเอะโดะ เมื่อปี..

จังหวัดชิซูโอกะและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · ประเทศญี่ปุ่นและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะฮนชู

นชู (สำเนียงญี่ปุ่นอ่านว่า) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่ 227,962.59 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะอังกฤษเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 1,300 กิโลเมตร ความกว้างตั้งแต่ 50-250 กิโลเมตร มีชายฝั่งติดทะเลยาวกว่า 5,450 กิโลเมตรรอบเกาะGeography of the World. Dorling kindersley: London, 2003.

จังหวัดชิซูโอกะและเกาะฮนชู · ประเทศญี่ปุ่นและเกาะฮนชู · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จังหวัดชิซูโอกะและประเทศญี่ปุ่น

จังหวัดชิซูโอกะ มี 33 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประเทศญี่ปุ่น มี 366 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 2.51% = 10 / (33 + 366)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จังหวัดชิซูโอกะและประเทศญี่ปุ่น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »