โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดคั้ญฮหว่า

ดัชนี จังหวัดคั้ญฮหว่า

ั้ญฮหว่า (Khánh Hòa) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่ในภาคชายฝั่งตอนกลางใต้ มีประชากรประมาณ 1,066,300 คน และครอบคลุมพื้นที่ 5,197 ตารางกิโลเมตร เมืองหลักคือญาจาง จังหวัดคั้ญฮหว่าเป็นที่พักตากอากาศของสมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย, สถาบันปาสเตอร์ที่ญาจาง, สถาบันสมุทรศาสตร์, สถาบันวัคซีนและสารชีวภาพ และเคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองกำลังพิเศษของกองทัพสหรัฐ ("กรีนเบอเรต์") ระหว่างสงครามเวียดนามในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 และคริสต์ทศวรรษ 1960 ช่วงปลายเดือน ท่าเรืออ่าวกามซัญเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับฐานเรือดำน้ำในประเทศเวียดนาม วัดโบราณแห่งหนึ่งของอาณาจักรจามปาตั้งอยู่ทางทิศเหนือของญาจาง.

12 ความสัมพันธ์: ชายฝั่งตอนกลางใต้ชาวญวนกรีนเบอเรต์ญาจางสถาบันปาสเตอร์สงครามเวียดนามหมู่เกาะสแปรตลีอาณาจักรจามปาจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยจังหวัดของประเทศเวียดนามประเทศเวียดนามISO 3166-2:VN

ชายฝั่งตอนกลางใต้

ฝั่งตอนกลางใต้ ชายฝั่งตอนกลางใต้ (Nam Trung Bộ; South Central Coast) เป็นหนึ่งในภูมิภาคของประเทศเวียดนาม ประกอบด้วยนครดานังซึ่งเป็นเทศบาลอิสระและอีก 7 จังหวัด ส่วน 2 จังหวัดทางภาคใต้คือจังหวัดบิ่ญถ่วนและจังหวัดนิญถ่วนบางครั้งจะได้รับการจัดเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะในทะเลจีนใต้คือ หมู่เกาะแพราเซล (อำเภอฮหว่างซา) และ หมู่เกาะสแปรตลี (อำเภอเจื่องซา) เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคนี้.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและชายฝั่งตอนกลางใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวญวน

วญวน หรือ เวียดนาม เรียกตนเองว่า เหวียต หรือ เหยียก (người Việt) หรือ กิญ (người Kinh) ภาษาไทยถิ่นอีสานและลาวเรียกว่า แกวแกว คือคำว่า แกว ๆ มีความหมายถึงเสียงดังแซดแต่ไม่ได้ศัพท์ ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์มองว่าน่าจะเป็นการล้อเลียนเสียงพูดในภาษาเวียดนามที่มีเสียงสูงต่ำตัดกันชัดเจนกว่าภาษาไทย-ลาว นอกจากนี้ยังมีคำลาวในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่งเรียกชาวเวียดนามอย่างเหยียดหยามว่า แย้, แกวแย้ และแกวม้อย (จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:ชนนิยม. 2556, หน้า 242-243) เป็นประชากรหลักของประเทศเวียดนาม และกระจายตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน เรียกว่า จิง จากการวิจัยของโรงพยาบาลแซ็ง-ลูยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในการเปรียบเทียบชาวเวียดนามกับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพันธุกรรมของประชากรอันใกล้ชิดด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยมีตัวแสดงเอกลักษณ์เจ็ดประการที่ไม่ซ้ำกัน ผลลัพธ์บ่งชี้ว่าเวียดนามเป็นชาติพันธุ์สืบมาจากจีนและไทย ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 ได้มีการศึกษายีน Human Leukocyte Antigen ที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลมักคายในกรุงไทเป ได้จำแนกชาวเวียดนามไว้ในกลุ่มพันธุกรรมเดียวกับม้ง, ฮั่นตอนใต้, ปู้อี และไทย พร้อมกับครอบครัวที่หลากหลายอันประกอบด้วยไทยเชื้อสายจีน, สิงคโปร์เชื้อสายจีน, ชนหมิ่นหนาน (ฮกโล้) และจีนแ.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและชาวญวน · ดูเพิ่มเติม »

กรีนเบอเรต์

ตราสัญลักษณ์ของหน่วยรบพิเศษกรีนเบอเรต์ หน่วยรบพิเศษกรีนเบอเรต์ (Green Berets) หรือชื่อเป็นทางการ คือ United States Army Special Forces ก่อตั้งขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สมาชิกของหน่วยถูกฝึกมาหรับหรับงานก่อวินาศกรรม การกระโดดร่ม การปฏิบัติงานทั้ง บกและทางน้ำ การปีนเขาและสกี ทว่าทหารหน่วยนี้เป็นที่รู้จักในช่วงสงครามเวียดนาม ระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2515 เพราะฝึกหน่วยรบนอกแบบให้กองทัพเวียดนามได้ต่อสู้กับการรบแบบกองโจร โดยใช้กลยุทธ์ในแบบฉบับ "setting a thief to catch a thief " เมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง กรีนเบอเรต์ไม่ได้รับความนิยมนักในระบบกองทัพบก สหรัฐฯ แต่ต่อมาก็ตระหนักว่า กองกำลังแบบนี้มีความสำคัญต่อกองทัพสมัยใหม่ สมาชิกของกรีนเบอเรต์เป็นอาสาสมัคร ต้องมีความสามารถทางโดดร่ม ผ่านโปรแกรม การฝึกที่เข้มข้นยาวนานประมาณ 44 - 62 สัปดาห์ คัดผู้ที่ไม่เหมาะสมออกไป และทหารทุกคน ต้องมีทักษะทางด้านต่อสู้ไหวพริบ และความฉลาด การให้อาวุธพิเศษ การติดต่อสื่อสารหรือ ความชำนาญในการใช้ภาษาต่างประเทศ แต่ละกลุ่มของกรีนเบอเรต์ จะมีตรารูปโล่เป็นสีต่าง ๆ ติดอยู่บนหมวก.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและกรีนเบอเรต์ · ดูเพิ่มเติม »

ญาจาง

ญาจาง ญาจาง (Nha Trang) เป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเล อยู่ในจังหวัดคั้ญฮหว่า ประเทศเวียดนาม มีชายหาดและทะเลที่เหมาะแก่การดำน้ำ ชื่อญาจาง คนมักอ่านเป็น นาตรัง หรือ หน่าตรัง เพราะเข้าใจว่าตัวเขียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่ที่จริงเป็นภาษาเวียดนาม.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและญาจาง · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันปาสเตอร์

ูนย์การแพทย์สถาบันปาสเตอร์ ถนนโวชิราด์ (Vaugirard) กรุงปารีส สถาบันปาสเตอร์ หรือสถานปาสเตอร์ (อังกฤษ: Pasteur Institute, ฝรั่งเศส: Institut Pasteur) เป็นองค์กรวิจัยซึ่งไม่หวังผลกำไร เริ่มดำเนินการขึ้นในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2430 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2431 วัตถุประสงค์ของสถาบันคือ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยในด้านชีววิทยา จุลชีพ โรค และวัคซีน ปัจจุบันมีสาขาในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ผู้ก่อตั้งสถาบันคือ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้วางรากฐานการแพทย์สมัยใหม่ โดยได้คิดค้นการพาสเจอไรซ์ซึ่งเป็นเทคนิคการฆ่าเชื้อในอาหารแบบหนึ่ง นอกจากนี้เขายังได้คิดค้นวัคซีนต้านไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า และแบคทีเรียโรคแอนแทรกซ์ สถาบันปาสเตอร์ถือเป็นสถาบันแนวหน้าในการต่อสู้กับโรคติดต่อนานาชนิดมากว่าศตวรรษแล้ว เช่น โรคคอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ตลอดจนเป็นสถานที่ทำงานของนักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลหลายคน.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและสถาบันปาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะสแปรตลี

thumb หมู่เกาะสแปรตลี (Spratly Islands) เป็นดินแดนที่ประกอบด้วยหินโสโครก อะทอลล์ สันดอน เกาะ และเกาะขนาดเล็กมากกว่า 750 แห่งในทะเลจีนใต้, World Lildlife Fund.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและหมู่เกาะสแปรตลี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรจามปา

นสถานศิลปะจามปา อาณาจักรจามปา เป็นอาณาจักรโบราณตั้งเมื่อพุทธศตวรรษที่ 7 อยู่ทางใต้ของจีน อยู่ทางตะวันออกของฟูนัน ปัจจุบันคือบริเวณเมืองเว้, ตามกี่, ฟานซาง-ท้าปจ่าม และญาจาง เนื่องจากสมัยก่อนพื้นที่นี้เป็นเขตทุรกันดาร จีนจึงไม่สามารถครอบครองพื้นที่นี้ได้ ชนชาติจามสืบเชื้อสายจากชาว มาลาโยโพลินีเชียน พวกจามเป็นชาวทะเลมีความสามารถทางการเดินเรือ ต่อมาราว..

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและอาณาจักรจามปา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย

ักรพรรดิบ๋าว ดั่ย (จื๋อโกว๊กหงือ: Bảo Đại, จื๋อโนม: 保大, แปลว่า ผู้เก็บรักษาความยิ่งใหญ่; 22 ตุลาคม ค.ศ. 1913 - 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1997) พระนามเดิมว่า เหงียน ฟุก หวิญ ถวิ ทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 13 และพระองค์สุดท้ายแห่งเหงียน ตั้งแต่ ค.ศ. 1926 - ค.ศ. 1945 ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอันนัม ในช่วงนี้พระองค์ทรงได้รับความคุ้มครองจากฝรั่งเศสโดยอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 ของเวียดนามในปัจจุบัน พระองค์ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1932 ญี่ปุ่นได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกจากดินแดนนี้ในปี ค.ศ. 1945 และใช้อำนาจการปกครองผ่านจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในช่วงนี้พระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "เวียดนาม" อีกครั้ง พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ในเดือนสิงหาคมเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม พระองค์ยังทรงเป็นประมุขรัฐเวียดนามตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จนกระทั่ง ค.ศ. 1955 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับฝรั่งเศสเกินไปและประทับอยู่นอกเวียดนามเป็นเวลานานในรัชสมัยของพระองค์ โง ดิ่ญ เสี่ยม นายกรัฐมนตรีได้ขับไล่พระองค์ในการลงประชามติปลดจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ออกจากราชบัลลังก์เมื่อปี ค.ศ. 1955 แม้จะเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าเวียดมินห์หรือโฮจิมินห์เป็นผู้วางรากฐานเอกราชให้แก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่อย่างไรก็ตาม สแตนลีย์ คาร์โนว์ (Stanley Karnow) ได้โต้แย้งในหนังสือ Vietnam - A History ว.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดของประเทศเวียดนาม

x250px ประเทศเวียดนาม แบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 58 จังหวัด (tỉnh) และ 5 เทศบาลนคร ซึ่งเทศบาลนครอยู่ในระดับเดียวกับจังหวัด (thành phố trực thuộc trung ương) จังหวัดต่าง ๆ จะแบ่งออกเป็นอำเภอ (huyện) นครประจำจังหวัด (thành phố trực thuộc tỉnh) และเมืองระดับอำเภอ (thị xã) ซึ่งจะแบ่งออกเป็นเมืองระดับตำบล (thị trấn) หรือตำบล (xã) ส่วนเทศบาลนครจะแบ่งออกเป็นเขต (quận) และอำเภอ โดยแต่ละเขตจะแบ่งออกเป็นแขวง (phường) แต่ละอำเภอจะแบ่งออกเป็นเมืองระดับตำบลหรือตำบล.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและจังหวัดของประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:VN

ISO 3166-2:VN เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่าง ๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศเวียดนาม ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 59 จังหวัด และ 5 เทศบาลนคร รหัสจะอยู่ในรูปแบบ "VN-" ตามด้วยหมายเลข ซึ่งเป็นหมายเลขเดียวกับสองตัวแรกของรหัสไปรษณีย์ของจังหวั.

ใหม่!!: จังหวัดคั้ญฮหว่าและISO 3166-2:VN · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »