เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จักรวรรดิเยอรมันและราชอาณาจักรอิตาลี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรวรรดิเยอรมันและราชอาณาจักรอิตาลี

จักรวรรดิเยอรมัน vs. ราชอาณาจักรอิตาลี

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน.. ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรวรรดิเยอรมันและราชอาณาจักรอิตาลี

จักรวรรดิเยอรมันและราชอาณาจักรอิตาลี มี 18 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การปฏิวัติรัสเซียฝ่ายมหาอำนาจกลางภาษาฝรั่งเศสภาษาอิตาลีราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นราชอาณาจักรปรัสเซียราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญราชนาวีสาธารณรัฐไวมาร์สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสนธิสัญญาแวร์ซายออทโท ฟอน บิสมาร์คจักรวรรดิออสเตรียจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีประเทศฝรั่งเศสปรัสเซียโรมันคาทอลิก

การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution) คือภาพรวมของระลอกการปฏิวัติในรัสเซียช่วงปี..

การปฏิวัติรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน · การปฏิวัติรัสเซียและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจและเป็นพันธมิตรทางการทหารกลุ่มหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งร่วมมือกันต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำโดยจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน.

จักรวรรดิเยอรมันและฝ่ายมหาอำนาจกลาง · ฝ่ายมหาอำนาจกลางและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

จักรวรรดิเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส · ภาษาฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

จักรวรรดิเยอรมันและภาษาอิตาลี · ภาษาอิตาลีและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น

ราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น (Haus Hohenzollern) เป็นราชตระกูลเยอรมันและโรมาเนียของยุโรปที่ปกครองปรัสเซีย, เยอรมนี และ โรมาเนีย บริเวณดั้งเดิมของราชวงศ์อยู่ในบริเวณเมืองเฮ็คคิงเงิน (Hechingen) ในชวาเบินที่ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชื่อราชวงศ์มาจากที่พำนักของตระกูลที่เรียกว่าปราสาทโฮเอินโซลเลิร์น (Burg Hohenzollern) คำขวัญของตระกูลคือ “Nihil Sine Deo” (ไม่มีสิ่งใดถ้าไม่มีพระเจ้า) ตราประจำตระกูลเริ่มใช้ในปี..

จักรวรรดิเยอรมันและราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น · ราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

จักรวรรดิเยอรมันและราชอาณาจักรปรัสเซีย · ราชอาณาจักรปรัสเซียและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

จักรวรรดิเยอรมันและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ราชอาณาจักรอิตาลีและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

ราชนาวี

กองทัพเรือสหราชอาณาจักร หรือ ราชนาวี (Royal Navy อักษรย่อ: RN) เป็นเหล่าทัพหลักของกองทัพสหราชอาณาจักร ซึ่งมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เหล่าทัพนี้เป็นเหล่าทัพที่เก่าแก่ที่สุด โดยตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 ถึงปลายศตวรรษที่ 19 ราชนาวีสหราชอาณาจักรจัดเป็นทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก.

จักรวรรดิเยอรมันและราชนาวี · ราชนาวีและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐไวมาร์

รณรัฐไวมาร์ (Weimarer Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปี..

จักรวรรดิเยอรมันและสาธารณรัฐไวมาร์ · ราชอาณาจักรอิตาลีและสาธารณรัฐไวมาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

งครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมนี หรือ สงครามฟรังโก - ปรัสเซีย (Franco-Prussian War หรือ Franco-German War) ในฝรั่งเศสเรียกกันว่า "สงคราม..

จักรวรรดิเยอรมันและสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย · ราชอาณาจักรอิตาลีและสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

จักรวรรดิเยอรมันและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ราชอาณาจักรอิตาลีและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์ซาย

''The Signing of the Peace Treaty of Versailles'' สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ ได้มีการตกลงยกเลิกสถานภาพสงครามด้วยสนธิสัญญาฉบับอื่น แม้จะได้มีการลงนามสงบศึกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน..

จักรวรรดิเยอรมันและสนธิสัญญาแวร์ซาย · ราชอาณาจักรอิตาลีและสนธิสัญญาแวร์ซาย · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

จักรวรรดิเยอรมันและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ราชอาณาจักรอิตาลีและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

จักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิเยอรมัน · จักรวรรดิออสเตรียและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิเยอรมัน · จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

จักรวรรดิเยอรมันและประเทศฝรั่งเศส · ประเทศฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ปรัสเซีย

ปรัสเซีย (Prussia) หรือ พร็อยเซิน (Preußen) หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิจส์แบร์กก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701 ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย".

จักรวรรดิเยอรมันและปรัสเซีย · ปรัสเซียและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

จักรวรรดิเยอรมันและโรมันคาทอลิก · ราชอาณาจักรอิตาลีและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรวรรดิเยอรมันและราชอาณาจักรอิตาลี

จักรวรรดิเยอรมัน มี 79 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชอาณาจักรอิตาลี มี 284 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 18, ดัชนี Jaccard คือ 4.96% = 18 / (79 + 284)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรวรรดิเยอรมันและราชอาณาจักรอิตาลี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: