โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรวรรดิบริติชและเส้นทางการค้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรวรรดิบริติชและเส้นทางการค้า

จักรวรรดิบริติช vs. เส้นทางการค้า

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน.. ้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรวรรดิบริติชและเส้นทางการค้า

จักรวรรดิบริติชและเส้นทางการค้า มี 17 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริติชราชบอลข่านการค้าเสรีการค้าเครื่องเทศภูมิภาคปัญจาบสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจักรวรรดิโปรตุเกสทวีปเอเชียคลองสุเอซประเทศศรีลังกาประเทศอินเดียประเทศจีนประเทศปากีสถานแอฟริกาตะวันออกแอฟริกาตะวันตกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริติชราช

ริติชราช (British Raj; ब्रिटिश राज) หรือเรียกอย่างง่ายว่า อินเดีย หมายถึงการปกครองโดยพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดียระหว่างปี..

จักรวรรดิบริติชและบริติชราช · บริติชราชและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

บอลข่าน

แผนที่ทางอากาศของคาบสมุทรบอลข่าน คาบสมุทรบอลข่าน (Balkans) เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หมายถึงดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 550,000 ตร.กม. และมีประชากรรวมกันราว 53 ล้านคน ชื่อนี้มาจากชื่อของเทือกเขาบอลข่านที่พาดผ่านใจกลางประเทศบัลแกเรียไปยังด้านตะวันออกของสาธารณรัฐเซอร์เบี.

จักรวรรดิบริติชและบอลข่าน · บอลข่านและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

การค้าเสรี

การค้าเสรี (Free Trade) คือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่หมายถึงการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศโดยไม่มีการเก็บภาษีศุลกากร และการกีดกันทางการค้าอื่นๆ รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานและทุนข้ามเขตแดนระหว่างประเทศโดยอิสระ การค้าเสรีคือสภาวะที่ไม่มีการกีดกันใดๆ โดยรัฐบาลกับการค้าระหว่างปัจเจกบุคคลหรือบริษัท ที่อยู่คนละประเทศ โดยทั่วไปแล้ว การค้าระหว่างประเทศมักถูกจำกัดด้วยภาษี, ค่าธรรมเนียมในการนำเข้าและส่งออกสินค้า, และกฎเกณฑ์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรในการนำเข้า ในทางทฤษฎีแล้วการค้าเสรีนั้นต้องการยกเลิกข้อจำกัดเหล่านี้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว ในข้อตกลงทางการค้าที่เรียกว่า "การค้าเสรี" นั้น อาจสร้างข้อกีดกันบางอย่างขึ้นมาก็ได้ นักวิจารณ์มองว่าการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัท บางกลุ่มประเทศ เช่น สหภาพยุโรป ได้เปิดให้มีการค้าเสรีรูปแบบหนึ่ง ระหว่างประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม ยังมีการโต้เถียงกันอยู่ว่า การค้าเสรีนั้น จะช่วยประเทศโลกที่สามได้หรือไม่ และการค้าเสรีนั้น เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาจริงหรือไม.

การค้าเสรีและจักรวรรดิบริติช · การค้าเสรีและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

การค้าเครื่องเทศ

วามสำคัญทางเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางเครื่องเทศของเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกมาถูกปิดโดยจักรวรรดิออตโตมัน ราว ค.ศ. 1453 เมื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และคอนสแตนติโนเปิลล่ม ซึ่งเป็นชนวนที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันสำรวจหาเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกใหม่ที่เริ่มด้วยการพยายามหาเส้นทางรอบแอฟริกาที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคแห่งการสำรวจ ภาพแสดงเส้นทางการเดินทางของวัชกู ดา กามาไปยังอินเดีย (เส้นดำ) ผู้เดินทางรอบแอฟริกาคนแรก เส้นทางของเปรู ดา กูวิลยัง (สีส้ม) และอาฟงซู ดี ไปวา (สีน้ำเงิน) เส้นทางซ้อนกันเป็นสีเขียว การค้าเครื่องเทศ คือกิจการทางการพาณิชย์ที่มีต้นตอมาแต่ยุคโบราณที่เป็นการค้าขายสินค้าที่รวมทั้งเครื่องเทศ, สมุนไพร และฝิ่น การวิวัฒนาการของวัฒนธรรมของเอเชียบางส่วนก็มีอิทธิพลมาจากการค้าขายเครื่องเทศ จากนั้นก็ตามด้วยโลกกรีก-โรมันที่ใช้เส้นทางสายเครื่องหอม และเส้นทางสายโรมัน-อินเดียเป็นเส้นทางการค้ามายังตะวันออกFage 1975: 164 เส้นทางสายโรมัน-อินเดียวิวัฒนาการมาจากเทคนิคที่ใช้โดยมหาอำนาจทางการค้าของราชอาณาจักรอัคซูม (ราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช-จนถึง ค.ศ. 1000 กว่า ๆ) ที่เป็นการริเริ่มการใช้เส้นทางในทะเลแดงมาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัคซูมแบ่งปันความรู้ในการใช้ลมมรสุมในการเดินเรือกับชาวโรมัน (ราว 30-10 ปีก่อนคริสตกาล) และรักษาสัมพันธ์ภาพระหว่างกันอย่างปรองดองมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่ออิสลามเรืองอำนาจขึ้น ก็ปิดเส้นทางการค้าทางทะเล และหันมาใช้ขบวนคาราวานในการขนส่งทางบกไปยังอียิปต์และซุเอซ ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางการค้าโดยตรงระหว่างยุโรปไปยังอัคซูมและอินเดีย และในที่สุดพ่อค้าอาหรับก็ยึดการขนส่งสินค้าเข้ามาอยู่ในมือของตนเอง โดยการขนส่งสินค้าเข้าทางบริเวณเลแวนต์ไปให้แก่พ่อค้าเวนิสในยุโรปยุโรป การขนส่งด้วยวิธีนี้มายุติลงเมื่อออตโตมันเติร์กมาปิดเส้นทางอีกครั้งในปี..

การค้าเครื่องเทศและจักรวรรดิบริติช · การค้าเครื่องเทศและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิภาคปัญจาบ

thumb ปัญจาบ (Punjab; ปัญจาบ: ਪੰਜਾਬ, پنجاب) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ ประกอบด้วยดินแดนทางตะวันออกของประเทศปากีสถาน และทางเหนือของประเทศอินเดีย ทางฝั่งปากีสถานประกอบด้วยแคว้นปัญจาบและบางส่วนของดินแดนนครหลวงอิสลามาบาด ทางฝั่งอินเดียประกอบด้วยรัฐปัญจาบ บางส่วนของรัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ‎ รัฐฉัตตีสครห์‎ จังหวัดชัมมู และบางส่วนของดินแดนนครหลวงเดลี ชื่อปัญจาบมาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า (ดินแดนแห่ง) แม่น้ำห้าสาย ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเฌลัม, แม่น้ำจนาพ, แม่น้ำราวี, แม่น้ำสตลุช และแม่น้ำบีอัส แม่น้ำห้าสายนี้ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำสิน.

จักรวรรดิบริติชและภูมิภาคปัญจาบ · ภูมิภาคปัญจาบและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

จักรวรรดิบริติชและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

จักรวรรดิบริติชและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโปรตุเกส

ักรวรรดิโปรตุเกส (Portuguese Empire, Império Português) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของโลกจักรวรรดิแรกที่มีดินแดนในหลายทวีปที่รวมทั้งอเมริกาใต้, แอฟริกา, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครอง และเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่รุ่งเรืองอยู่นานที่สุดในยุโรปที่รุ่งเรืองอยู่เป็นเวลาเกือบห้าร้อยปีตั้งแต่การพบบราซิลในปี ค.ศ. 1500 จนกระทั่งถึงการคืนมาเก๊าในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานกว่าจักรวรรดิสเปน และ จักรวรรดิฝรั่งเศส ความต้องการที่จะขยายดินแดนไปทั่วโลกของโปรตุเกสเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อนักสำรวจเริ่มดินทางไปสำรวจทางฝั่งทะเลของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1419 หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเมืองเซวตา (Ceuta) ทางตอนเหนือของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1415 โปรตุเกสใช้ความก้าวหน้าล่าสุดทางการเดินเรือ, การเขียนแผนที่ และเทคโนโลยีทางทะเลเช่นการใช้เรือคาราเวล (Caravel) ในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายเครื่องเทศซึ่งเป็นสินค้าที่มีค่าที่สุดในยุคนั้น ในปี ค.ศ. 1488 บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เดินทางรอบแหลมกูดโฮปสำเร็จ และในปี ค.ศ. 1498 วาสโก ดา กามาก็เดินทางรอบอินเดีย ขณะที่การสำรวจเหล่านี้เป็นการแสดงถึงอำนาจของโปรตุเกสในต่างประเทศแต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของการสำรวจก็เพื่อเป็นการขยายเส้นทางการค้าที่เน้นการแสวงหาเส้นทางใหม่ไปยังตะวันออกไกล โดยไม่ต้องเดินทางผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจของฝ่ายปฏิปักษ์โดยเฉพาะจักรวรรดิออตโตมัน ความเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 1500 เกิดขึ้นเมื่อมีผู้พบฝั่งทะเลอเมริกาใต้โดยบังเอิญ และเมื่อเปดรู อัลวาเรซ กาบรัลเป็นผู้เดินทางสำรวจไปพบและยึดบราซิลเป็นอาณานิคม นโยบายที่เคยเป็นการสำรวจเพื่อการค้าจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นการสำรวจเพื่อแสวงหาอาณานิคม ในช่วงเวลาหลายสิบปีต่อมานักเดินเรือชาวโปรตุเกสก็ดำเนินการสำรวจฝั่งทะเลและเกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกต่อไป ก่อตั้งป้อม และ สถานีการค้า (trading post) ขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ที่พบ ภายในปี ค.ศ. 1571 โปรตุเกสก็มีสถานีการค้าระไปตั้งแต่ลิสบอนเองไปจนถึงนะงะซะกิในญี่ปุ่น การขยายดินแดนทำให้โปรตุเกสกลายเป็นจักรวรรดิโลกที่มีความมั่งคั่งอันมหาศาล ระหว่างปี ค.ศ. 1580 ถึงปี ค.ศ. 1640 โปรตุเกสก็กลายเป็นพันธมิตรรองของสเปนของสองราชบัลลังก์ในการรวมตัวกันเป็นสหภาพไอบีเรีย (Iberian Union) แม้ว่าสองราชอาณาจักรนี้จะมีการบริหารแยกกันแต่อาณานิคมของโปรตุเกสก็กลายเป็นเป้าในการโจมตีโดยศัตรูของสเปนในยุโรปผู้มีความไม่พึงพอใจต่อความสำเร็จในอำนาจทางทะเลในต่างประเทศของจักรวรรดิในคาบสมุทรไอบีเรียที่รวมทั้งจักรวรรดิดัตช์ (ผู้ในที่สุดก็เข้าสงครามสงครามอิสรภาพต่อต้านสเปน), จักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศส แต่โปรตุเกสเป็นประเทศเล็กและมีประชากรเพียงจำนวนไม่มากนักซึ่งทำให้ไม่สามารถป้องกันอาณานิคมในการปกครองของตนเองในดินแดนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งในที่สุดก็เป็นผลทำให้อำนาจของโปรตุเกสเริ่มลดถอยลง นอกจากนั้นการสูญเสียบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดและสร้างผลกำไรให้มากที่สุดแก่โปรตุเกสในปี ค.ศ. 1822 ในช่วงการปลดปล่อยอาณานิคมในอเมริกา (Decolonization of the Americas) เป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่ทำให้โปรตุเกสไม่อาจฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากนั้น การล่าอาณานิคมในแอฟริกาที่เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้โปรตุเกสพอจะได้ดินแดนมาบ้าง ดินแดนส่วนใหญ่ในแอฟริกาที่ได้มาตกอยู่ภายใต้การบริหารและอิทธิพลของโปรตุเกสเป็นเวลาหลายร้อยปี เมืองเช่นลูอันดา (Luanda) และ เบงเกลา (Benguela) และที่ตั้งถิ่นฐานต่างๆ หลายแห่งได้รับการก่อตั้งขึ้นและปกครองโดยโปรตุเกสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง อันโตนิโอ เดอ โอลิเวรา ซาลาซาร์ (António de Oliveira Salazar) ผู้นำของโปรตุเกสก็ยังพยายามรักษาจักรวรรดิโปรตุเกสไว้โดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในขณะที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มถอนตัวจากอาณานิคมต่างๆ ในปี ค.ศ. 1961 กองกำลังจำนวนเพียงเล็กน้อยของโปรตุเกสที่ประจำอยู่ที่รัฐกัวก็ไม่สามารถต้านทานกองทหารอินเดียที่รุกเข้ามาในอาณานิคมได้ ซาลาซาร์จึงเริ่มสงครามอาณานิคมโปรตุเกสอันเป็นสงครามนองเลือดอันยาวนานเพื่อที่จะปราบปรามนักต่อต้านอาณานิคมในอาณานิคมแอฟริกา สงครามอันไม่เป็นที่นิยมมาสิ้นสุดลงเมื่อคณะรัฐบาลของซาลาซาร์ถูกโค่นอำนาจในปี ค.ศ. 1974 ที่เรียกกันว่าการปฏิวัติคาร์เนชัน (Carnation Revolution) หลังจากนั้นรัฐบาลโปรตุเกสก็เปลี่ยนนโยบายทันทีและอนุมัติอิสรภาพของประเทศต่างๆ ในอาณานิคมโปรตุเกสทั้งหมดยกเว้นมาเก๊าที่มาคืนให้แก่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเท่ากับเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโปรตุเก.

จักรวรรดิบริติชและจักรวรรดิโปรตุเกส · จักรวรรดิโปรตุเกสและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

จักรวรรดิบริติชและทวีปเอเชีย · ทวีปเอเชียและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

คลองสุเอซ

ลองสุเอซ (Suez Canal) เป็นคลองที่มนุษย์สร้างขึ้นในประเทศอียิปต์ ระหว่าง Port Said (Būr Sa'īd) ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ (Suez) บนฝั่งทะเลแดง มีความยาว 183 กิโลเมตร คลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้ากับทะเลแดง ผ่านช่องแคบสุเอซ ในอียิปต์ตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 101 ไมล์ เดิมทีมันถูกขุดขึ้นด้วยมือ ปัจจุบัน สามารถรองรับเรือยาว 500 ม. กว้าง 70 ม. ลึก 70 ม. ไม่มีประตูกั้นน้ำเพราะทะเลทั้ง 2 แห่งมีระดับเดียวกัน คลองสุเอซเริ่มสร้างในเดือนเมษายน ปี 1859 แล้วเสร็จในเดิอนพฤศจิกายน ปี 1869 เป็นตัวเชื่อมสำคัญในการค้าระดับโลกเนื่องจากเป็นเส้นทางลัดระหว่างยุโรปและเอเซีย ขจัดการเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา คลองสุเอซช่วยให้การเดินทางระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียสั้นลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเรือไม่ต้องเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกา ก่อนการสร้างคลองนั้น ใช้การขนถ่ายสินค้าทางบกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง คลองสุเอซแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเหนือและส่วนใต้ โดยมีทะเลสาบเกรตบิตเตอร์ (Great Bitter) เป็นจุดกลาง.

คลองสุเอซและจักรวรรดิบริติช · คลองสุเอซและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศศรีลังกา

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

จักรวรรดิบริติชและประเทศศรีลังกา · ประเทศศรีลังกาและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

จักรวรรดิบริติชและประเทศอินเดีย · ประเทศอินเดียและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

จักรวรรดิบริติชและประเทศจีน · ประเทศจีนและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

จักรวรรดิบริติชและประเทศปากีสถาน · ประเทศปากีสถานและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

จักรวรรดิบริติชและแอฟริกาตะวันออก · เส้นทางการค้าและแอฟริกาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันตก

นแดนแอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันตก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 15 ประเทศคือ.

จักรวรรดิบริติชและแอฟริกาตะวันตก · เส้นทางการค้าและแอฟริกาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

จักรวรรดิบริติชและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · เส้นทางการค้าและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรวรรดิบริติชและเส้นทางการค้า

จักรวรรดิบริติช มี 279 ความสัมพันธ์ขณะที่ เส้นทางการค้า มี 152 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 17, ดัชนี Jaccard คือ 3.94% = 17 / (279 + 152)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรวรรดิบริติชและเส้นทางการค้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »