เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จักรพรรดิโชวะและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิโชวะและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

จักรพรรดิโชวะ vs. สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ จักรพรรดิโชวะ (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532 (63 ปี) ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจของโลกแล้ว ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก จักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ในรัชสมัยของพระองค์ ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทำให้ในห้วงเวลานั้น จักรวรรดิญี่ปุ่นแผ่อำนาจและดินแดนไปทั่วเอเชียบูรพาโดยที่ไม่มีชาติใด ๆ จะสามารถต้านทาน ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงบนความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาอาชญากรสงครามดังเช่นผู้นำคนอื่น ๆ ของชาติฝ่ายอักษะ และภายหลังสงคราม พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐใหม่ในการกอบกู้ประเทศชาติที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ในตอนปลายรัชกาล ประเทศญี่ปุ่นก็สามารถกลับมายืนหยัดในฐานะชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก. มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิโชวะและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

จักรพรรดิโชวะและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2469สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8สงครามโลกครั้งที่สองประมุขแห่งรัฐประเทศไทย

พ.ศ. 2469

ทธศักราช 2469 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1926 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

จักรพรรดิโชวะและพ.ศ. 2469 · พ.ศ. 2469และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8

เจ้าชายเอดเวิร์ด ดยุกแห่งวินเซอร์ หรืออดีต สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 (เอดเวิร์ด อัลเบิร์ต คริสเตียน จอร์จ แอนดรูว์ แพทริค เดวิด; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2515) เป็นอดีตพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ รวมถึงดินแดนของอังกฤษในโพ้นทะเลต่าง ๆ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย ตั้งแต่การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระราชบิดา เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2479 จนกระทั่งการสละราชสมบัติของพระองค์ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2479 พระองค์เป็นพระประมุของค์ที่สองในราชวงศ์วินด์เซอร์ ซึ่งพระราชบิดาทรงเปลี่ยนชื่อมาจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา เมื่อปี พ.ศ. 2460 ก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายเอดเวิร์ดแห่งยอร์ก เจ้าชายเอดเวิร์ดแห่งยอร์กและคอร์นวอลล์ ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ ดยุกแห่งโรธเซย์ และเจ้าชายแห่งเวลส์ (ในชั้นรอยัลไฮเนส) ขณะทรงเป็นชายแรกรุ่น พระองค์ทรงปฏิบัติราชการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยการเสด็จเยือนต่างประเทศแทนพระองค์พระราชบิดาและทรงข้องเกี่ยวกับหญิงสาวสูงวัยที่แต่งงานแล้วมากมาย ช่วงเวลาหลายเดือนในรัชกาล พระองค์ทรงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ในรัฐธรรมนูญ ได้ชื่อว่าวิกฤตการณ์สละราชสมบัติด้วยการขออภิเษกสมรสกับวอลลิส ซิมป์สัน แม่ม่ายหย่าร้างชาวอเมริกัน แม้ว่าทางกฎหมายแล้วพระองค์จะอภิเษกสมรสกับนางซิมป์สันและคงเป็นกษัตริย์อยู่ได้ แต่คณะรัฐมนตรีของพระองค์ได้คัดค้านการอภิเษกสมรสโดยโต้แย้งว่าประชาชนจะไม่ยอมรับเธอเป็นพระราชินีได้เลย พระองค์ทรงทราบดีว่ารัฐบาลของสแตนเลย์ บาลด์วิน นายกรัฐมนตรีจะลาออกถ้าการอภิเษกสมรสยังคงดำเนินต่อไป อันจะทำให้ลากพระองค์ไปสู่การเลือกทั่วไปซึ่งจะเป็นการทำลายสถานะของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ทรงเป็นกลางทางการเมืองของพระองค์อย่างไม่สามารถแก้ไขได้ แทนที่จะเลิกกับนางซิมป์สัน แต่พระองค์กลับทรงเลือกที่จะสละราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 เป็นพระประมุของค์เดียวของสหราชอาณาจักรที่ทรงสละราชบัลลังก์อย่างสมัครใจ นอกจากนี้ยังเป็นพระประมุขที่ทรงครองราชสมบัติสั้นที่สุดพระองค์ในประวัติศาสตร์อังกฤษ และมิได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเลย หลังจากการสละราชสมบัติ พระองค์ทรงเปลี่ยนกลับไปใช้พระอิสริยยศของพระราชโอรสในพระมหากษัตริย์คือ เจ้าชายเอดเวิร์ด และทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็น ดยุกแห่งวินด์เซอร์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2480 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้รับมอบหมายให้ประจำการในกองกำลังทหารอังกฤษในประเทศฝรั่งเศส แต่หลังจากข้อกล่าวหาลับต่างๆ ที่ว่าพระองค์ทรงเข้าข้างฝ่ายนาซีเยอรมัน ก็ทรงถูกย้ายไปยังบาฮามาสในฐานะข้าหลวงใหญ่ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หลังจากสิ้นสุดสงคราม พระองค์ก็ไม่ทรงได้รับการแต่งตั้งทางราชการอื่นใดอีกและทรงใช้เวลาที่เหลือในพระชนม์ชีพด้วยความสันโดษ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ราชวงศ์วินด์เซอร์ หมวดหมู่:บุคคลจากริชมอนด์ (ลอนดอน) หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสละราชบัลลังก์ หมวดหมู่:เจ้าชายแห่งเวลส์ หมวดหมู่:ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร หมวดหมู่:ไนท์ออฟเดอะการ์เตอร์.

จักรพรรดิโชวะและสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 · สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

จักรพรรดิโชวะและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ประมุขแห่งรัฐ

ประมุขแห่งรัฐ (head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน.

จักรพรรดิโชวะและประมุขแห่งรัฐ · ประมุขแห่งรัฐและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

จักรพรรดิโชวะและประเทศไทย · ประเทศไทยและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิโชวะและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

จักรพรรดิโชวะ มี 105 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร มี 217 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 1.55% = 5 / (105 + 217)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิโชวะและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: