โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิเจียชิ่งและชาวแมนจู

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิเจียชิ่งและชาวแมนจู

จักรพรรดิเจียชิ่ง vs. ชาวแมนจู

มเด็จพระจักรพรรดิเจียชิ่ง (จักรพรรดิชิงเหรินจง) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเยี๋ยน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง เมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเลพระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตาย ตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรคเที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง มีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระอัครมเหสีฮีตียา ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และพระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากพระมเหสีหนิวฮูลู่ พระอัครมเหสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นพระมเหสี ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดพระนางเลย แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์ เหตุที่ไม่โปรดพระมเหสีหนิวฮูลู่ นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัย ในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่างๆ การที่เวียดนามขอแยกออกไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงานกับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลัง ในปลายรัชสมัย มีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ สวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ องค์ชายเหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง. แมนจู (แมนจู:; หม่านจู๋) เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในประเทศจีนและผู้คนจากดินแดนแมนจูเรียได้ใช้ชื่อดินแดนเป็นชื่อเรียกชนเผ่าของตนเอง ชาวแมนจูเป็นกลุ่มสาขาที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาวตุงกูซิกที่ใช้ภาษากลุ่มตุงกูซิกและได้อาศัยกระจัดกระจายทั่วประเทศจีน ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน ชาวแมนจูได้อาศัยและพบได้ใน 31 จังหวัดของจีน โดยเฉพาะในดินแดนแมนจูเรีย เหลียวหนิงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีประชากรแมนจูเยอะที่สุด ส่วนเหอเป่ย, เฮย์หลงเจียง, จี๋หลิน, มองโกเลียในและปักกิ่ง มีประชากรแมนจู 100,000 คนอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเหลียวหนิงและ 1 ใน 5 อยู่ที่เหอเป่ย์ นอกจากนี้ยังมีชาวแมนจูอาศัยอยู่ในประเทศรัสเซียอันได้แก่ ดินแดนปรีมอร์สกี บางส่วนของดินแดนฮาบารอฟสค์และแคว้นอามูร์ ประวัติโดยสังเขปของชาวแมนจูนั้น ในทัศนคติของชาวฮั่น ถือได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนหรือคนป่าเถื่อน ชาวแมนจูได้สืบเชื้อสายมาจากชาวหนี่เจิน (Jurchen; 女真) ที่ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์จินตอนแรกขึ้นทางตอนเหนือของจีน ในช่วง..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิเจียชิ่งและชาวแมนจู

จักรพรรดิเจียชิ่งและชาวแมนจู มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาแมนจูมณฑลเหอเป่ย์ราชวงศ์ชิงราชวงศ์หมิงจักรพรรดิเฉียนหลงปักกิ่ง

ภาษาแมนจู

ษาแมนจู (จีนกลาง: 满语; พินอิน: mǎn yǔ หมาน อวี่) เป็นภาษากลุ่มตังกูสิตใกล้สูญพันธุ์ซึ่งมีผู้พูดทางภาคเหนือของประเทศจีน เป็นภาษาแม่ของชาวแมนจู แต่ปัจจุบัน ชาวแมนจูส่วนมากพูดภาษาจีนกลาง และมีผู้พูดเป็นภาษาแม่และพูดได้บ้างน้อยกว่า 70 คน จากผู้มีเชื้อสายแมนจูรวมเกือบ 10 ล้านคน แม้ภาษาซิเบที่มีผู้พูด 40,000 คน แทบเหมือนกับภาษาแมนจูในทุกด้าน แต่ผู้พูดภาษาซิเบ ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงทางตะวันตกไกล มีเชื้อสายแตกต่างจากชาวแมนจู ภาษาแมนจูเป็นภาษารูปคำติดต่อ เขียนจากบนลงล่าง คาดว่าพัฒนามาจากภาษาจูร์เชน มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษาจีนจำนวนมาก มีอักษรเป็นของตนเองเรียกว่าอักษรแมนจู ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรมองโกเลีย โครงสร้างประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กร.

จักรพรรดิเจียชิ่งและภาษาแมนจู · ชาวแมนจูและภาษาแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอเป่ย์

มณฑลเหอเป่ย์ (河北省) ชื่อย่อ จี้(冀)ตั้งอยู่ระหว่างที่ราบสูง มองโกเลียในและที่ราบภาคเหนือของประเทศ เป็นมณฑลที่อยู่ล้อมรอบนครสำคัญคือ ปักกิ่ง และเทียนจินมีเมืองหลวงชื่อ ฉือเจียจวง มีเนื้อที่ 187,700 ก.ม.

จักรพรรดิเจียชิ่งและมณฑลเหอเป่ย์ · ชาวแมนจูและมณฑลเหอเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

จักรพรรดิเจียชิ่งและราชวงศ์ชิง · ชาวแมนจูและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

จักรพรรดิเจียชิ่งและราชวงศ์หมิง · ชาวแมนจูและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเฉียนหลง

มเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่าหงลี่ (ภาษาจีน: 弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าสมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดพระมเหสีหรง ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนพระมเหสีหรงเฟยถึง11ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่พระชายาหยู (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝) ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์และ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู.

จักรพรรดิเจียชิ่งและจักรพรรดิเฉียนหลง · จักรพรรดิเฉียนหลงและชาวแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

จักรพรรดิเจียชิ่งและปักกิ่ง · ชาวแมนจูและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิเจียชิ่งและชาวแมนจู

จักรพรรดิเจียชิ่ง มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ ชาวแมนจู มี 41 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 9.09% = 6 / (25 + 41)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิเจียชิ่งและชาวแมนจู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »