โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิฮั่นหลิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิฮั่นหลิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

จักรพรรดิฮั่นหลิง vs. รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

มเด็จพระจักรพรรดิหลิงแห่งราชวงศ์ฮั่น หรือ ฮั่นหลิงตี้ หรือ ฮั่นเลนเต้ (Emperor Ling of Han) ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่น รัชกาลที่ 24 เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 699 เป็นพระโอรสของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชนิกูลเล่า เจ้าเมืองตูตัง เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้าฮวนเต้ (漢桓帝) ได้ขอพระองค์นั้นไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้มาก จึงทรงแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาท เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 711 พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮวนเต้ในปีเดียวกัน ขณะมีพระชนมายุ 12 พรรษา และได้แต่งตั้งพระราชมารดาของพระองค์ขึ้นเป็น พระพันปีหลวงตังไทเฮา เพราะฉะนั้นเองพระมารดาของพระเจ้าเลนเต้จึงเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงไทเฮาเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้เป็นพระมเหสีของฮ่องเต้พระองค์ใด และรัชสมัยของพระองค์นั่นก็เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดยุคสามก๊ก เนื่องจากหลังจากทรงครองราชสมบัติไป 10 กว่าปี ก็เริ่มตีตัวออกห่างจากราชการบ้านเมือง หลงมัวเมาในสุรานารี และคำป้อยอของขันที ขันทีก็ได้ใจรีดนาทาเร้นราษฎร ดังนั้นใน พ.ศ. 726 จึงมีกลุ่มชาวนาต่างจังหวัดตั้งกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) เริ่มยึดครองขยายอำนาจแผ่ไปแว่นแคว้นต่าง ๆ ราชธานีได้ส่งสาส์นไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ให้ช่วยยกทัพมาปราบกบฏโพกผ้าเหลือง และปิดประกาศขอรับสมัครชายผู้ต้องการปกป้องชาติ ซึ่งทำให้ เล่าปี่ (劉備), กวนอู (關羽), เตียวหุย (張飛) ได้มาพบกัน และร่วมมือกัน และเป็นโอกาสให้ตั๋งโต๊ะ (董卓) ได้ขึ้นมาเรืองอำนาจกดขี่ชาวบ้าน ทางวังหลวงก็มีความแตกแยก เพราะมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ หองจูเปียน พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโฮเฮา กับหองจูเหียบ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับพระสนมอองบีหยิน แต่ก็ไม่ได้รับความสนพระทัยจากพระเจ้าเลนเต้มากนัก จนในที่สุด ก็เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 732. ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิฮั่นหลิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

จักรพรรดิฮั่นหลิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กบฏโพกผ้าเหลืองกวนอูราชวงศ์ฮั่นหองจูเหียบหองจูเปียนจักรพรรดิฮั่นหฺวันตังไทฮอตั๋งโต๊ะโฮเฮาเล่าปี่เตียวหุย

กบฏโพกผ้าเหลือง

กบฏโพกผ้าเหลือง (Yellow Turban Rebellion) เป็นกลุ่มผู้ก่อการกบฏประมาณหลายล้านคนใน..

กบฏโพกผ้าเหลืองและจักรพรรดิฮั่นหลิง · กบฏโพกผ้าเหลืองและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

กวนอูและจักรพรรดิฮั่นหลิง · กวนอูและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและราชวงศ์ฮั่น · ราชวงศ์ฮั่นและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเหียบ

ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและหองจูเหียบ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเปียน

อ๋องแห่งหงหนง หรือพระนามเดิมว่า เปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ เปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เปี้ยนเจ้าชายน้อย") เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ฮั่น (พระองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮา มีพระอนุชาต่างพระมารดาคือ หองจูเหียบ ในปี พ.ศ. 732 พระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โฮจิ๋นพี่ชายของนางโฮเฮาผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ทูลเชิญหองจูเปียนขึ้นสืบราชบัลลังก์ ขณะนั้น หองจูเปียนมีพระชนม์ได้ 14 พรรษา ต่อมา โฮจิ๋นถูกสิบขันทีฆ่า และสิบขันทีถูกกำจัด ตั๋งโต๊ะได้เข้ามามีอำนาจแทน แล้วถอดหองจูเปียนออกจากพระราชบัลลังก์ ลดฐานันดรจากพระมหากษัตริย์เป็นอ๋อง (เจ้าชาย) มีบรรดาศักดิ์ว่า "อ๋องแห่งหงหนง" แล้วให้ตั้งหองจูเหียบเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วตั้งตนเองเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) ต่อมาในพ.ศ. 733 ตั๋งโต๊ะจึงส่งคนสนิทไปประหารหองจูเปียนพร้อมทั้งพระราชชนนีและพระสนม.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและหองจูเปียน · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเปียน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นหฺวัน

ฮั่นหฺวัน (132–168) ชื่อตัวว่า หลิว จื้อ (劉志) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนในราชวงศ์ฮั่น หลิว จื้อ เป็นเหลนของพระเจ้าฮั่นจาง ในปี 145 พระเจ้าฮั่นชงสิ้นพระชนม์ นางเหลียง น่า (梁妠) พระมารดาพระเจ้าฮั่นชง จึงยกหลิว จวั่น (劉纘) ญาติของพระเจ้าฮั่นชง ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เหลียง จี้ (梁冀) พี่ชายของนางเหลียง น่า ได้เป็นใหญ่ในราชการแผ่นดิน และในปี 146 เหลียง จี้ ก็ฆ่าหลิว จวั่น ทิ้ง นางเหลียง น่า จึงยกหลิว จื้อ ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ถัดมา ขณะนั้น หลิว จื้อ อายุได้สิบสี่ปี เมื่อเสวยราชย์แล้ว หลิว จื้อ กำจัดอิทธิพลของพี่น้องสกุลเหลียงเป็นผลสำเร็จ โดยได้ความช่วยเหลือจากเหล่าขันที แต่นั้นก็เป็นเหตุให้ขันทีเข้ามาครอบงำกิจการบ้านเมืองแทน ขันทีทั้งหลายฉ้อฉลไม่ต่างจากพี่น้องสกุลเหลียง ราษฎรจึงไม่สิ้นความเดือดร้อน ในปี 166 บัณฑิตจำนวนมากประท้วงต่อต้านรัฐบาล หลิว จื้อ จึงสั่งให้จับผู้ประท้วงทั้งสิ้น ราชวงศ์ฮั่นก็เข้าสู่ความเสื่อมอีกระดับหนึ่ง หลิว จื้อ อยู่ในสมบัติได้ยี่สิบสองปีก็วายชนม์ไปในปี 168 อายุได้สามสิบหก หลิว หง (劉宏) ญาติของหลิว จื้อ ได้เป็นกษัตริย์สืบต่อมา หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและจักรพรรดิฮั่นหฺวัน · จักรพรรดิฮั่นหฺวันและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตังไทฮอ

ตังไทฮอ (Empress Dowager Dong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มารดาบุญธรรมของพระเจ้าฮั่นเลนเต้ ต่อมาพระนางได้เลี้ยงดูองค์ชายหองจูเหียบผู้เป็นพระนัดดาที่ประสูติมาจากพระนางอองบีหยินหลังพระนางสิ้นพระชนม์ หลังจากพระเจ้าเลนเต้สวรรคต พระนางต้องการให้องค์ชายหองจูเหียบขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้ จึงได้สั่งให้เกียนสิด หนึ่งในสิบขันทีไปสังหารโฮจิ๋นผู้เป็นพี่ชายของพระนางโฮเฮาและเป็นแม่ทัพใหญ่เพื่อกุมอำนาจแต่ล้มเหลว โฮจิ๋นและพระนางโฮเฮากลับชิงสถาปนาองค์ชายหองจูเปียนเป็นฮ่องเต้ไป ทำให้ตังไทฮอไม่พอพระทัย แต่ด้วยคำแนะนำจากสิบขันที จึงได้สถาปนาองค์ชายหองจูเหียบเป็นตันหลิวอ๋องและพระนางก็ออกว่าราชการแทนและให้ตำแหน่งแม่ทัพตังตงผู้เป็นพระอนุชาและคืนตำแหน่งบริหารให้กับสิบขันทีอีกด้วย โฮจิ๋นและพระนางโฮเฮาเห็นว่า ตังไทฮอคิดจะมาแย่งชิงอำนาจจากพวกตน พระนางโฮเฮาได้ตักเตือนแต่ตังไทฮอกลับไม่ฟังแถมยังมีกล่าวตำหนิเสียดสีใส่ ทำให้พระนางโฮเฮาและแม่ทัพโฮจิ๋นร่วมมือกันปลงพระชมน์ด้วยการแต่งตั้งพระบรมราชโองการว่า ตังไทเฮาแต่เป็นชายาอ๋อง เมื่อพระเจ้าเลนเต้ผู้เป็นโอรสบุญธรรมสิ้นแล้ว จึงไม่สิทธิ์อยู่ในพระราชวังและต้องกลับไปอยู่ภูมิลำเนาเดิม หลังจากนั้นเมื่อกลับไปยังบ้านเกิดของพระนาง แม่ทัพโฮจิ๋นได้ส่งคนนำน้ำจัณฑ์ยาพิษไปให้เสวยเป็นเหตุให้ตังไทฮอสวรรคต พระศพก็ได้มาลำเลียงฝังที่พระนครลกเอี้ยงอย่างสมพระเกียรต.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและตังไทฮอ · ตังไทฮอและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

จักรพรรดิฮั่นหลิงและตั๋งโต๊ะ · ตั๋งโต๊ะและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

โฮเฮา

มเด็จพระจักรพรรดินีเหอ (Empress He (Ling)) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ฮองเฮาในพระเจ้าฮั่นเลนเต้ มีพระเชษฐาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันคือโฮจิ๋น ดำรงตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่ปรึกษา มีพระราชบุตรชื่อหองจูเปียน ภายหลังจากพระเจ้าฮั่นเลนเต้เสด็จสวรรคต โฮจิ๋นได้แต่งตั้งหองจูเปียนขึ้นเป็นพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ โฮเฮาซึ่งเป็นพระมารดาจึงมีฐานะตามตำแหน่งเป็นไทเฮาแห่งราชวงศ์ฮั่น ต่อมาตั๋งโต๊ะสถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ และควบคุมตัวหองจูเปียน โฮเฮาและพระสนมไปคุมขังและลอบสังหารด้วยการนำไปมัดจนถึงแก่ความตายในปี..

จักรพรรดิฮั่นหลิงและโฮเฮา · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโฮเฮา · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและเล่าปี่ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหุย

ตียวหุย (เสียชีวิต ค.ศ. 221) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเฟย์ มีชื่อรองว่า เอ๊กเต๊ก หรือ อี้เต๋อ เป็นแม่ทัพในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เป็นบุคคลคนหนึ่งที่อยู่ในสังกัดห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊กเป็นคนที่ 2.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและเตียวหุย · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวหุย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิฮั่นหลิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

จักรพรรดิฮั่นหลิง มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 382 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 2.75% = 11 / (18 + 382)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิฮั่นหลิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »