โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิหุมายูงและราชวงศ์ซาฟาวิด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิหุมายูงและราชวงศ์ซาฟาวิด

จักรพรรดิหุมายูง vs. ราชวงศ์ซาฟาวิด

นะซีร์ อุดดีน มุฮัมมัด ฮุมายูน (نصیر الدین محمد همایون) หรือนิยมเรียกพระนามว่า จักรพรรดิหุมายูง (हुमायूँ; ہمایوں; ราชสมภพ 7 มีนาคม ค.ศ. 1508 - สวรรคต 17 มกราคม ค.ศ. 1556) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา คือสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรโมกุลอันกว้างขวางที่รวมถึงอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน และอินเดียทางตอนเหนือในปัจจุบัน ทรงปกครองจักรวรรดิทั้งหมดสองช่วงคือ ช่วงแรก ระหว่าง 26 ธันวาคม ค.ศ. 1530 - 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1540 และช่วงที่สอง ระหว่าง 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1555 จนกระทั่งสวรรคตเมื่อ 17 มกราคม ค.ศ. 1556 ซึ่งคล้ายกับกรณีของพระราชบิดาซึ่งเสียอาณาจักรในช่วงแรกของรัชสมัย แต่ด้วยความช่วยเหลือจากราชวงศ์ซาฟาวิดแห่งเปอร์เซีย พระองค์สามารถเอาชนะกลับคืนได้กว้างขวางกว่าเดิม ในขณะที่สวรรคต จักรวรรดิโมกุลได้ขยายอาณาบริเวณกว่าหนึ่งล้านตารางกิโลเมตร พระองค์ทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในส่วนของอินเดียเมื่อปีค.ศ. 1530 ในขณะที่พระอนุชาต่างพระมารดา คือ คัมราน มีร์ซา (Kamran Mirza) ได้ปกครองคาบูล และละฮอร์ ซึ่งเป็นจักรวรรดิของพระราชบิดาทางตอนเหนือ สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายูงขึ้นครองราชย์ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง 22 พระชันษา ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ค่อยเจนจัดด้านการปกครองอาณาจักรของพระองค์นัก พระองค์เสียอาณาจักรโมกุลให้แก่เชอร์ชาห์สุรี (Sher Shah Suri) ขุนนางเชื้อสายอัฟกัน และในภายหลังได้อาณาจักรกลับคืนมาด้วยความช่วยเหลือของราชวงศ์เปอร์เซียในอีก 15 ปีต่อมา โดยหลังจากเสด็จกลับจากลี้ภัยในเปอร์เซียแล้วได้เกณฑ์เหล่าขุนนาง และคหบดีจากเปอร์เซีย ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ธรรมเนียมในราชสำนักโมกุลนั้นได้รับอิทธิพลจากราชสำนักเปอร์เซีย รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ภาษา และวรรณคดีอีกด้วย นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ หลักศิลาจารึกต่าง ๆ นั้นได้ทำขึ้นเป็นภาษาเปอร์เซี. ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (صفویان; صفوی‌لر; სეფიანთა დინასტია; Safavid dynasty) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในอดีต ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ปกครองจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งตั้งแต่การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียของอิสลาม (Islamic conquest of Persia) เป็นต้นมา และเป็นผู้ก่อตั้ง “Ithnāˤashari” (อิมามชีอะหฺ) R.M. Savory, Safavids, Encyclopedia of Islam, 2nd edition ซึ่งเป็นลัทธิทางการของจักรวรรดิ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มาจากหลายเผ่าพันธุ์ (ชาวอาเซอร์ไบจาน,ชาวเซอร์คาสเซียน/ชาวจอร์เจียRUDI MATTHEE, "GEORGIANS IN THE SAFAVID ADMINISTRATION" in Encyclopedia Iranica, ชาวกรีก,ชาวเคิร์ด) และมีอำนาจปกครองอิหร่านระหว่างปี ค.ศ. 1501/ค.ศ. 1502 มาจนถึงกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1722 ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มีรากฐานมาจากการก่อตั้งลัทธิซูฟีย์ (Safaviya sufi order) ในเมืองอาร์ดาบิล (Ardabil) ในบริเวณอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน จากนั้นราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ก็ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวางจนสามารถครอบครองจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด และริเริ่มการก่อตั้งวัฒนธรรมของความเป็นอิหร่านในบริเวณที่ปกครอง ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จึงกลายเป็นราชวงศ์แรกของอิหร่านตั้งแต่ซาสซานิยะห์ที่เริ่มการรวบรวมอิหร่านเข้าเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ว่าการปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1736 แต่ก็ได้ทิ้งร่องรอยมาจนถึงสมัยปัจจุบันโดยการก่อตั้งและเผยแพร่ชีอะหฺในบริเวณส่วนใหญ่ของคอเคซัส และเอเชียตะวันออกและโดยเฉพาะในอิหร่านเอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิหุมายูงและราชวงศ์ซาฟาวิด

จักรพรรดิหุมายูงและราชวงศ์ซาฟาวิด มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิหุมายูงและราชวงศ์ซาฟาวิด

จักรพรรดิหุมายูง มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชวงศ์ซาฟาวิด มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (22 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิหุมายูงและราชวงศ์ซาฟาวิด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »