โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและสงครามครูเสดครั้งที่ 3

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและสงครามครูเสดครั้งที่ 3

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส vs. สงครามครูเสดครั้งที่ 3

ักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส หรือ โคมเนนัส (Manuel I Komnenos หรือ Comnenus, Μανουήλ Α' Κομνηνός) (28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1118 – 24 กันยายน ค.ศ. 1180) มานูเอลที่ 1 โคมเนนอสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ของราชวงศ์โคมเนนอส ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1143 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1180 โดยมีจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 โคมเนนอสเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา มานูเอลที่ 1 โคมเนนอสเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1118 เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอส มานูเอล โคมเนนอสทรงปกครองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของจักรวรรดิและของบริเวณเมดิเตอเรเนียน พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูจักรวรรดิให้รุ่งเรืองเช่นในอดีตในฐานะมหาอำนาจของบริเวณเมดิเตอเรเนียนโดยทรงดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศอันทะเยอทะยาน ที่รวมทั้งการสร้างพันธมิตรกับพระสันตะปาปา, ทรงรุกรานคาบสมุทรอิตาลี, และทรงสามารถดำเนินสงครามครูเสดครั้งที่ 2 ฝ่าอันตรายของจักรวรรดิของพระองค์ได้ และทรงก่อตั้งระบบการพิทักษ์แก่อาณาจักรครูเสดต่างๆ เมื่อฝ่ายมุสลิมนำทัพเข้ามายังดินแดนศักดิ์สิทธิ์พระองค์ก็เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมในไปการรุกรานฟาติมิดอียิปต์ มานูเอล โคมเนนอสทรงมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแผนที่เขตแดนทางการเมืองของคาบสมุทรบอลข่านและเมดิเตอเรเนียนตะวันออกโดยทรงทำให้ราชอาณาจักรฮังการีและอาณาจักรครูเสดมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระองค์ และทรงรณรงค์อย่างเอาจริงเอาจังในอาณาจักรที่อยู่ใกล้เคียงทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตก แต่ในปลายรัชสมัยความสำเร็จของพระองค์ทางด้านตะวันออกก็ต้องมาเสียไปกับความพ่ายแพ้ในยุทธการไมริโอเคฟาลอน (Battle of Myriokephalon) ซึ่งเป็นความเพลี่ยงพล้ำของพระองค์เองในการพยายามโจมตีที่มั่นของฝ่ายเซลจุคที่มีการป้องกันอย่างแข็งแรง มานูเอลทรงได้รับการขนานพระนามว่า “ho Megas” หรือ “มหาราช” (ὁ Μέγας) โดยกรีก และทรงเป็นผู้นำผู้ทรงสามารถสร้างความจงรักภักดีจากผู้ตามอย่างเหนียวแน่น นักประวัติศาสตร์จอห์น คินนามอส (John Kinnamos) กล่าวว่ามานูเอลทรงเป็นผู้มีคุณลักษณะสมกับเป็นวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นก็ยังทรงเป็นผู้ที่ได้รับความนับถือจากนักรบครูเสดจากตะวันตกว่าเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลP. “การล้อมเมืองเอเคอร์” ระหว่างปี ค.ศ. 1189 ถึงปี ค.ศ. 1191 สงครามครูเสดครั้งที่ 3 หรือ สงครามครูเสดกษัตริย์(Third Crusade หรือ Kings' Crusade) (ค.ศ. 1189-ค.ศ. 1192) เป็นสงครามครูเสดที่ฝ่ายผู้นำยุโรปพยายามกู้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากศอลาฮุดดีน (Salāh al-Dīn Yūsuf ibn Ayyūb).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและสงครามครูเสดครั้งที่ 3

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและสงครามครูเสดครั้งที่ 3 มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รัฐนักรบครูเสดราชอาณาจักรเยรูซาเลมสงครามครูเสดครั้งที่ 2ประเทศอียิปต์แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

รัฐนักรบครูเสด

ตะวันออกใกล้ในปี ค.ศ. 1135 โดยมีอาณาจักรครูเสดเป็นสีเขียว อานาโตเลียและอาณาจักรครูเสด ราว ค.ศ. 1140 รัฐนักรบครูเสด (Crusader states) คือกลุ่มรัฐเจ้าขุนมูลนายที่นักรบครูเสดชาวยุโรปตะวันตกตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ในอานาโตเลีย กรีซ และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอลโบราณและปัจจุบัน และในบริเวณปาเลสไตน์) แต่ในที่สุดอำนาจของอิสลามในตะวันออกกลางก็พิชิตรัฐเหล่านี้ได้หมด นอกจากนั้นรัฐนักรบครูเสดก็ยังหมายถึงดินแดนอื่นที่คริสตจักรสมัยกลางได้มา (ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กและเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น) เพื่อป้องกันชาวมุสลิมและดินแดนของผู้นอกศาสนาอื่น ๆ ด้ว.

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและรัฐนักรบครูเสด · รัฐนักรบครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม หรือ ราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเลม (Kingdom of Jerusalem หรือ Latin Kingdom of Jerusalem) เป็นอาณาจักรคริสเตียนที่ก่อตั้งในบริเวณลว้าน (Levant) ในปี ค.ศ. 1099 หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และยืนยงต่อมาร่วมสองร้อยปีจนถึงปี ค.ศ. 1291 เมื่อเอเคอร์ดินแดนสุดท้ายที่เป็นของอาณาจักรถูกทำลายโดยมามลุค (Mamluk) ในระยะแรกราชอาณาจักรเป็นเพียงกลุ่มเมืองใหญ่และเล็กที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ระหว่างสงครามครูเสด ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และอาณาดินแดนปาเลสไตน์ (Palestinian territory) ที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเลบานอนปัจจุบันไปจนถึงทางเหนือของทะเลทรายไซนายทางด้านไต้ ไปยังจอร์แดน และซีเรียทางด้านตะวันออก ระหว่างนั้นก็มีการพยายามที่จะขยายดินแดนไปยังฟาติมิยะห์ (Fatimid) อียิปต์ นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็ยังมีอำนาจบางอย่างเหนืออาณาจักรครูเสดอื่นๆ, ตริโปลี, อันติโอค, และเอเดสสา ประเพณีและระบบต่างที่ใช้ในอาณาจักรนำมาจากยุโรปตะวันตกกับนักการสงครามครูเสด ระบบการปกครองและความเกี่ยวดองกับยุโรปเป็นไปตลอดอายุของอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับอาณาจักรในยุโรปแล้วราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็เป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็กและมักจะขาดการหนุนหลังทางด้านการเงินและทางการทหารจากยุโรป ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรข้างเคียงมากกว่าเช่นราชอาณาจักรอาร์มิเนียแห่งซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ได้รับอิทธิพลตะวันออกมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากระบบมุสลิม แต่ทางด้านสังคมแล้วผู้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจากยุโรปตะวันตกแทบไม่มีการติดต่อกับมุสลิมหรือชนคริสเตียนท้องถิ่นที่ปกครองเลย ในระยะแรกฝ่ายมุสลิมไม่มีความสนใจกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมเท่าใดนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออาณาจักรของมุสลิมเริ่มแข็งตัวขึ้นและเริ่มยึดดินแดนที่เสียไปคืนอย่างเป็นจริงเป็นจัง เยรูซาเลมเสียแก่ซาลาดินในปี ค.ศ. 1187 และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนของราชอาณาจักรก็เหลือเพียงแถบตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเมืองสำคัญๆ สองสามเมือง ในช่วงนี้ราชอาณาจักรที่บางครั้งก็เรียกว่า “ราชอาณาจักรเอเคอร์” ก็ปกครองโดยราชวงศ์ลูซิยัน (Lusignan) ของนักครูเสดจากราชอาณาจักรไซปรัส และมีความสัมพันธ์ดีกับทริโปลี, อันติออคและอาร์มีเนีย และได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันอาณาจักรมุสลิมรอบข้างก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) และต่อมาราชวงศ์มามลุคของอียิปต์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลมจึงกลายเป็นเบี้ยประกันของการสงครามและการเมืองในบริเวณนั้น ที่ตามมาโดยการโจมตีโดย คแวเรซเมียน (Khwarezmians) และจักรวรรดิโมกุลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในที่สุดก็ถูกมามลุคสุลต่านไบบาร์ส (Baibars) และอัล-อัชราฟ คาลิล (al-Ashraf Khalil) ยึดดินแดนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ รวมทั้งการทำลายเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1291.

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและราชอาณาจักรเยรูซาเลม · ราชอาณาจักรเยรูซาเลมและสงครามครูเสดครั้งที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 2

“สภาสงครามครูเสดครั้งที่ 2” -- พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 แห่งเยรูซาเลม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี..

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและสงครามครูเสดครั้งที่ 2 · สงครามครูเสดครั้งที่ 2และสงครามครูเสดครั้งที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและประเทศอียิปต์ · ประเทศอียิปต์และสงครามครูเสดครั้งที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

ทะเลเดดซี แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land; הקודש; Terra Sancta; الأرض المقدسة; ภาษาอารามิคโบราณ: ארעא קדישא Ar'a Qaddisha) หมายถึงดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณประเทศอิสราเอลซึ่งมีความสำคัญต่อศาสนาสำคัญศาสนาอับราฮัมสามศาสนา ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม สาเหตุของความศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากความสำคัญของกรุงเยรูซาเลมทางศาสนาและความสำคัญของการเป็นดินแดนแห่งอิสราเอล สงครามครูเสดใช้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เป็นสาเหตุในการยึดคืนเพราะเป็นดินแดนที่มีความหมายต่อพันธสัญญาใหม่ ในปัจจุบันดินแดนบริเวณนี้เป็นดินแดนของความขัดแย้งระหว่างอาหรับและอิสราเอล.

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ · สงครามครูเสดครั้งที่ 3และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและสงครามครูเสดครั้งที่ 3

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามครูเสดครั้งที่ 3 มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 11.63% = 5 / (21 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสและสงครามครูเสดครั้งที่ 3 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »