โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียและซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียและซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย vs. ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (Catherine II of Russia) ซึ่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "แคทเธอรีนมหาราชินี" (หรือ Екатерина II Великая; Katharina die Große; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2272 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339) พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีนาถที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและครองราชย์ยาวนานที่สุดของรัสเซีย ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2305 หลังจากการรัฐประหารและการปลงพระชนม์จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 พระราชสวามีของพระองค์เอง (ไม่นานหลังจากการสิ้นสุดของสงครามเจ็ดปี) จนกระทั่งเสด็จสวรรคต การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น ผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดที่ทรงเรืองปัญญา (enlightened despot) ทั้งยังทรงฟื้นฟูจักรวรรดิรัสเซียให้แข็งแกร่งและมีอาณาเขตกว้างกว่าเดิมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จนรัสเซียกลายมาเป็นชาติมหาอำนาจที่สำคัญมากที่สุดชาติหนึ่งในยุโรป ในการเข้าถึงขุมอำนาจและปกครองจักรวรรดิของพระองค์ พระนางแคทเธอรีนมักจะทรงพึ่งพาอำนาจจากเหล่าขุนนางที่ทรงโปรดปราน และผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเช่นกริกอรี ออโลฟ และกริกอรี โปเตมคิน หรือเหล่านายพลผู้มีอำนาจบารมีสูงเช่น ปิออตร์ รูเมียนเซฟ และอเล็กซานเดอร์ ซูโวโลฟ หรือแม้แต่พลเรือเอกเช่น ฟิโอดอร์ อูชาโคฟ พระนางปกครองรัสเซียในช่วงเวลาที่จักรวรรดิได้ทำการแผ่ขยายอาณาเขตของตนโดยทั้งการศึกสงครามและการทูต ทางทิศใต้, อาณาจักรข่านแห่งไครเมียร์ถูกบดขยี้และตามมาด้วยชัยชนะเหนือจักรวรรดิออตโตมันในสงครามรัสเซีย-ตุรกี ต่อมารัสเซียได้ทำการเข้ายึดครองดินแดนอันว่างเปล่าแห่งโนโวรอสซิยาตลอดจนชายฝั่งทะเลดำและทะเลอะซอฟ ทางทิศตะวันตก, เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียซึ่งถูกปกครองโดยอดีตคนรักของพระนาง พระเจ้าสตานิส์ลอว์ ออกุส โปเนียโทว์สกี ในที่สุดก็ถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยรัสเซียได้ส่วนแบ่งของดินแดนมากที่สุด ทางทิศตะวันออก, รัสเซียเริ่มเข้ายึดครองอะแลสกาในรูปแบบของอาณานิคมจนนำไปสู่การก่อตั้งอเมริกาของรัสเซีย พระองค์ทรงทำการปฏิรูประบบราชการภายในของเขตกูเบอร์นิยา รวมไปถึงมีรับสั่งให้สถาปนาเมืองและหมู่บ้านขึ้นมากมาย และในฐานะที่ทรงเป็นผู้นิยมชมชอบพระราชกรณียกิจของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช พระองค์จึงได้ดำเนินพระราโชบายตามแนวทางของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราชโดยการปฏิรูปรัสเซียให้เข้าสู่ความทันสมัยตามแบบฉบับชาติยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตามการเข้ารับราชการในกองทัพและระบบเศรษฐกิจของประเทศยังคงต้องพึ่งพาระบบทาสอยู่ต่อไป ในขณะที่ความต้องการใช้แรงงานของประเทศและของเหล่าผู้ครอบครองที่ดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้แรงงานทาสดำเนินไปถึงขั้นกดขี่แรงงานทาส และระบบทาสดังกล่าวก็เป็นหนึ่งในเหตุผลประการสำคัญของการก่อกบฏหลายต่อหลายครั้ง ดังเช่นกบฏปูกาเชฟที่มีกองทหารม้าและชาวนาจำนวนมากมายเข้าร่วมการกบฏ ตลอดระยะเวลาในการครองราชย์หรือ สมัยแคทเธอรีน ถูกพิจารณาว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิรัสเซียและของระบอบศักดินาในรัสเซีย แถลงการณ์ว่าด้วยเสรีภาพของขุนนางซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันในรัชสมัยของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 ก็ได้รับการยินยอมในช่วงรัชสมัยของพระนางแคทเธอรีน โดยแถลงการณ์ฉบับนี้ได้ให้อิสรภาพแก่บรรดาขุนนางไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกองทัพหรือการรับราชการสนองคุณประเทศ ให้อิสรภาพในการครอบครองที่อยู่อาศัย เช่น แมนชันรูปแบบคลาสสิก โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าวเป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนโดยพระนางเจ้าแคทเธอรีนอย่างมาก ก่อให้เกิดตึกรามบ้านช่องอันหรูหราขึ้นจำนวนมาก ซึ่งตลอดช่วงการครองราชย์ของพระองค์ได้ทรงทำให้โฉมหน้าของประเทศเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จึงกล่าวได้ว่ารัชสมัยของพระนางคือยุคเรืองปัญญาของรัสเซียก็ว่าได้. ซาร์อีวานที่ 4 วาซิลเยวิช (Ivan IV Vasilyevich) หรือที่รู้จักกันว่า อีวานผู้เหี้ยมโหด (Ivan the Terrible) ทรงเป็นเจ้าชายแห่งมอสโกในปี ค.ศ. 1533 จนถึง ค.ศ. 1547 และซาร์แห่งปวงรัสเซีย จากปี ค.ศ. 1547 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต ในรัชกาลของพระองค์ได้เห็นชัยชนะมณฑลกาซาน,มณฑลแอสตราข่าน และไซบีเรีย พระเจ้าอีวาน ทรงบริหารการเปลี่ยนแปลงที่นับไม่ถ้วนในการก้าวหน้าจากรัฐในยุคที่จักรวรรดิและอำนาจในระดับภูมิภาคเกิดขึ้นใหม่และกลายเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกที่ครองตำแหน่งเป็นซาร์แห่งปวงรัสเซีย สาเหตุที่พระองค์ได้รับฉายาว่า อีวานผู้เหี้ยมโหด เพราะพระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่าทรงรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก พระราชวงศ์วาซิลยาวิสได้รับคำเตือนจากพระสังฆราชแห่งเยรูซาเล็ม เมื่อวาซิลีที่ 3 ทอดทิ้งพระมเหสีไปอภิเสกสมรสใหม่ โดยทรงเตือนพระบิดาพระองค์ว่า "หากพระองค์ทรงกระทำการชั่วร้าย พระองค์ก็จะได้พระโอรสที่ชั่วร้ายเช่นกัน" ในวัยเยาว์พระองค์โปรดทรงพระอักษร สวดมนต์ อีกทั้งเป็นผู้เฉลียวฉลาดและอ่อนไหว แต่หากพระองค์ต้องเผชิญหน้ากับการฆ่าฟันกันไม่เว้นแต่ละวันในเคลมลิน ทำให้พระองค์ซึมซับความเหี้ยมโหดเข้าไปในพระทัยพระองค์ พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าซาร์แห่งมัสโควีในวันที 3 ธันวาคม 1533 ในพระชนม์มายุ 3 พรรษา หลังจากพระบิดาสวรรคต โดยมีพระนางเยเลน่า กับเจ้าชายโอโบเรนสกี้ ชู้รักของพระนางเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เหตุการณ์จึงเริ่มวุ่นวาย เมื่อเจ้าชายยูริ พระปิตุลา ทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ จึงถูกจับตัวโยนลงหลุมให้อดอาหารสิ้นพระชนม์ ส่วนพระปิตุลาอีกพระองค์ก็ถูกกำจัดออกไปอย่างรวดเร็ว และในปี 1538 พระนางเยเลน่าทรงสิ้นพระชนม์จากการถูกวางยาพิษ และเจ้าชายโอโบเรนสกี้ก็ถูกจับเข้าคุกและถูกตีจนตาย รัสเซียตกอยู่ใต้การจลาจลอย่างหนัก ระหว่างนั้นราชนิกุล "บุยสกี้" และ "ชุยสกี้" ต่างพากันห้ำหั่นกันในวังเคลมลิน เพื่อชิงอำนาจการปกครองระหว่างที่พระเจ้าซาร์ยังทรงพระเยาว์ บางครั้งก็บุกเข้าไปถึงพระราชฐานของอิวาน ข่มขืน ฆ่า บรรดามหาดเล็กนางในต่อหน้าพระพักตร์ เพราะพระองค์ไร้ซึ่งอำนาจ ทำให้ความโหดเหี้ยมและทารุนต่างๆ ซึ่มเข้าพระหทัยพระเจ้าซาร์องค์น้อยนี้ ในปี 1539 พวกราชสกุลชุยสกี้จับมหาดเล็กของพระองค์ไปถลกหนังทั้งเป็นแขวนประจานที่จตุรัสมอสโคว พระองค์ทรงดื่มน้ำจัณฑ์หนักมากขึ้น และเข้าร่วมกับกลุ่มวัยรุ่นก่อความวุ่นวายในมอสโกทุกวัน ทรงโปรดควบม้าเข้าไปในฝูงชนเต็มเหยียด จับสุนัขและแมวโยนลงจากหอคอยของเคลมลิน แต่ที่น่าแปลกคือ ทรงศึกษาทั้งพระศาสนาและประวัติศาสตร์ และหากพระองค์สำนึกผิด จะทรงโขกพระเศียรลงกับพื้นหรือผนัง จนมีแผลเป็นที่พระพักตร์ ในปี 1543 ทรงกำหราบพวกราชสกุลลงอย่างเด็ดขาด โดยจับเจ้าชายแอนดรูว์ ชุยสกี้ โยนให้พวกสุนัขล่าเนื้อขย้ำทั้งเป็น แขวนคอพวกทหารโบยาห์ไปตามท้องถนนกรุงมองโก ใครกล่าวว่านินทาพระองค์ก็ให้ตัดลิ้น ซึ่งทำให้อำนาจกลับมาอยู่กับราชสำนักอีกครั้ง พระองค์ได้ทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 1547 และหาพระมเหสีจากเจ้าขุนมูลนายรัสเซีย และได้มีหญิงสาวถึง 1500 คน เข้ามาในราชสำนักของพระองค์ ซึ่งพระองค์เลือก "อนาสตเซีย ซาห์คาริน่า โคชคิน่า" จากขุนนางราชสกุล "โรมานอฟ" ซึ่งเป็นชื่อสกุลขุนนางที่สืบมาจากตระกูลเยอรมันชั้นสูงตระกูลหนึ่ง ซึ่งได้อพยพมาจากเยอรมนีไปยังกรุงมอสโกในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 14 และได้เปลี่ยนสกุลใหม่ว่าสกุลคอชกิน สกุลนี้ได้รับราชการในพระราชสำนักของราชวงศ์รูริคตลอดมาเป็นเวลาร่วม 200 ปี ซาร์อีวานที่ 4 ได้ทรงเลือก อนาสตาเซียแห่งรัสเซียเป็นคู่อภิเษก พระองค์ทรงหลงรักเจ้าสาวของพระองค์อย่างดื่มด่ำมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อพระนางอนาสตาเซียสิ้นพระชนม์ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียและซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียและซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย

รายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย

ักรพรรดิแห่งรัสเซีย หรือที่มักเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าพระเจ้าซาร์ เป็นตำแหน่งที่ปกครองอาณาจักรซาร์รัสเซีย และจักรวรรดิรัสเซีย โดยนับตั้งแต่ ค.ศ. 1721 จะทรงใช้พระยศว่า "จักรพรรดิ" จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายคือ จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 โดยนับตั้งแต่การยกฐานะเป็นจักรวรรดิมีพระจักรพรรดิเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์โรมานอฟทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นแกรนด์ดยุคแห่งฟินแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1809 - ค.ศ. 1917, พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1916.

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียและรายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย · ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียและรายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียและซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย มี 88 ความสัมพันธ์ขณะที่ ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.96% = 1 / (88 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียและซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »