โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและรายพระนามจักรพรรดินีจีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและรายพระนามจักรพรรดินีจีน

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย vs. รายพระนามจักรพรรดินีจีน

ระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวซู่ ใน จักรพรรดิเจียชิ่งในฉลองพระองค์ช่วงพระราชพิธีช่วงเช้า สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวซู่รุ่ย (孝淑睿皇后; Empress Xiaoshurui) เป็นพระจักรพรรดินีพระองค์แรกในจักรพรรดิเจียชิ่งและพระราชมารดาในจักรพรรดิเต้ากวง. ในจักรวรรดิจีน จักรพรรดินี เป็นพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีในจักรพรรดิจีน และ จักรพรรดินีพันปีหลวง เป็นพระอิสริยยศของพระราชชนนีในจักรพรรดิจีนพระองค์ปัจจุบันหรือพระองค์ก่อน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและรายพระนามจักรพรรดินีจีน

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและรายพระนามจักรพรรดินีจีน มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชวงศ์ชิงจักรพรรดินีจี้จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวงจักรพรรดิเจียชิ่งจักรพรรดิเต้ากวังจักรพรรดิเฉียนหลง

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและราชวงศ์ชิง · ราชวงศ์ชิงและรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีจี้

ักรพรรดินีจี้ ตระกูลอูลาน่าลา (繼皇后烏喇納喇氏 Jì Huánghòu Wūlānàlā Shì) หรือที่รู้จักกันในไทยว่า "จี้ฮองเฮา " จากภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง องค์หญิงกำมะลอ เป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเฉียนหลง.

จักรพรรดินีจี้และจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย · จักรพรรดินีจี้และรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง

ระสาทิสลักษณ์พระอัครมเหสีหนิวฮูหลู่ขณะทรงพระยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีในจักรพรรดิเจียชิ่ง พระสาทิสลักษณ์พระพันปีหลวงกงฉือ พระพันปีหลวง ใน จักรพรรดิเต้ากวงในฉลองพระองค์ช่วงพระราชพิธีช่วงเช้า สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง (孝和睿皇后; Empress Xiaoherui) เป็นพระจักรพรรดินีพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเจียชิ่งและสมเด็จพระพันปีหลวงในจักรพรรดิเต้ากวง.

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง · จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวงและรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเจียชิ่ง

มเด็จพระจักรพรรดิเจียชิ่ง (จักรพรรดิชิงเหรินจง) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเยี๋ยน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง เมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเลพระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตาย ตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรคเที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง มีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระอัครมเหสีฮีตียา ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และพระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากพระมเหสีหนิวฮูลู่ พระอัครมเหสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นพระมเหสี ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดพระนางเลย แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์ เหตุที่ไม่โปรดพระมเหสีหนิวฮูลู่ นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัย ในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่างๆ การที่เวียดนามขอแยกออกไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงานกับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลัง ในปลายรัชสมัย มีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ สวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ องค์ชายเหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง.

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและจักรพรรดิเจียชิ่ง · จักรพรรดิเจียชิ่งและรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเต้ากวัง

ักรพรรดิเต้ากวัง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าเตากวาง เป็นองค์ชายรองในจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง เดิมมีพระนามว่า เหมียนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ภายหลังขึ้นครองราชย์ว่า หมิ่นหนิง (旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล) จักรพรรดิเต้ากวัง ประสูติจากมเหสีที่มีชื่อว่า จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย(孝淑皇后) แต่พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์วัย จักรพรรดิเจี่ยชิงพระราชบิดาจึงได้สถาปนาพระมเหสีองค์ใหม่ขึ้นเป็นจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย (孝和皇后) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอูนาลา ขุนนางพวกเดียวกับเหอเซิน ที่ทรงไม่ไว้วางพระทัย แต่ทรงทำไปด้วยด้วยเหตุผลทางการเมือง นั่นทำให้จักรพรรดิเต้ากวังเมื่อยังทรงพระเยาว์ก็ไม่โปรดในตัวพระนางด้วยเช่นกัน แม้จะมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงก็ตาม แต่ได้ทรงเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อพระนางใหม่ เมื่อครั้งหนึ่งที่ได้เสด็จไปไหว้บรรพกษัตริย์ที่สุสานราชวงศ์ชิงด้วยกัน และได้มีโจรกบฏกลุ่มหนึ่งมาจับตัวพระองค์และพระนางไปพร้อมกับสามัญชนกลุ่มหนึ่ง พวกกบฏบังคับให้พระองค์และพระนางบอกว่าใครเป็นใคร หากเงียบ ก็จะให้จ้วงแทงพระนางด้วยมีด พระนางก็ปิดปากเงียบไม่ยอมบอก นั่นจึงทำให้พระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระนางเสี้ยวเหอมากและยอมรับพระนางในที่สุด จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็กพระนางเสี้ยวเหอของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้พระนางเสี้ยวเหอตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่งพระนางเสี้ยวเหอได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้ ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ สงครามฝิ่นกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) และ พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะฮ่องกงและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปรานปืนเป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ องค์ชายอี้จู่ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเสียนเฟิง.

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและจักรพรรดิเต้ากวัง · จักรพรรดิเต้ากวังและรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเฉียนหลง

มเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่าหงลี่ (ภาษาจีน: 弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าสมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดพระมเหสีหรง ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนพระมเหสีหรงเฟยถึง11ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่พระชายาหยู (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝) ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์และ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู.

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและจักรพรรดิเฉียนหลง · จักรพรรดิเฉียนหลงและรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและรายพระนามจักรพรรดินีจีน

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายพระนามจักรพรรดินีจีน มี 199 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 2.91% = 6 / (7 + 199)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยและรายพระนามจักรพรรดินีจีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »