โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิติแบริอุสและพระวรสารนักบุญลูกา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิติแบริอุสและพระวรสารนักบุญลูกา

จักรพรรดิติแบริอุส vs. พระวรสารนักบุญลูกา

ติแบริอุส ไกซาร์ ดีวี เอากุสตี ฟีลิอุส เอากุสตุส (TIBERIVS CAESAR DIVI AVGVSTI FILIVS AVGVSTVS) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันพระองค์ที่สองต่อจากจักรพรรดิเอากุสตุส ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 14 ถึง ค.ศ. 37 ติแบริอุสมีชื่อเกิดว่า ติแบริอุส เกลาดิอุส แนโร (TIBERIVS CLAVDIVS NERO) เขามาจากตระกูลเกลาดิอุส เป็นบุตรชายของติแบริอุส เกลาดิอุส แนโร กับลีวิอา ดรูซิลลา ลีวิอาหย่ากับติแบริอุส แนโร แล้วมาแต่งงานกับอ็อกตาวิอานุส (ภายหลังเป็นจักรพรรดิเอากุสตุส) เมื่อ 39 ปีก่อนคริสต์ศักราช ติแบริอุสจึงกลายเป็นลูกเลี้ยงของอ็อกตาวิอานุส ต่อมาติแบริอุสแต่งงานกับยูลิอา ลูกสาวของเอากุสตุส จากนั้นเอากุสตุสได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรมด้วย ทำให้เขากลายเป็นสมาชิกตระกูลยูลิอุสอย่างเป็นทางการและได้นามใหม่ว่า ติแบริอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (TIBERIVS IVLIVS CAESAR) นักประวัติศาสตร์เรียกตระกูลผสมนี้ว่าราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส จักรพรรดิโรมันต่อมาอีกสามสิบปีจะมาจากราชวงศ์นี้ ติแบริอุสเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถมากที่สุดคนหนึ่งของสมัยโรมันโบราณ พระองค์ได้ทำการรณรงค์ในพันโนเนีย, แดลเมเชีย, ไรติอา และบางส่วนของแกร์มานิอา ซึ่งเป็นการวางรากฐานของพรมแดนทางด้านเหนือของจักรวรรดิ แต่ติแบริอุสมาเป็นที่รู้จักกันในฐานะจักรพรรดิผู้มีอารมณ์หม่นหมอง ไม่ชอบสุงสิงกับผู้ใด และไม่มีความต้องการเป็นจักรพรรดิ พลินีผู้อาวุโสขนานพระนามพระองค์ว่า "ผู้ที่เศร้าหมองที่สุดในหมู่มนุษย์" (TRISTISSIMVS HOMINVM) หลังจากการเสียชีวิตของดรูซุส ยูลิอุส ไกซาร์ (DRVSVS IVLIVS CAESAR) บุตรชายในปี.. ระวรสารนักบุญลูกา (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณลูกา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Luke) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนพระวรสารเล่มนี้ แต่จากหลักฐานที่เชื่อถือได้เป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นชาวยิว แต่น่าจะเป็นชาวกรีก เพราะมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของชาวกรีกเป็นอย่างดี เคยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปประกาศกับเปาโลหลายครั้ง นอกจากนี้ลูกายังมีอาชีพเป็นนายแพทย์ในสมัยนั้นด้วย พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นระหว่างปี..59 - 63 จากลักษณะของโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในพระวรสารเล่มนี้ เหมือนกันกับในหนังสือกิจการของอัครทูต ดังนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ลูกาเป็นผู้เขียนหนังสือกิจการของอัครทูตด้วย จากพระวรสารในสารบบทั้งหมด 4 เล่ม พระวรสารนักบุญลูกา เป็นพระวรสารเล่มที่ยาวที่สุด และจัดว่าเป็นพระวรสารที่มีเนื้อหาที่สวยงามที่สุด เขียนเล่าเรื่องราวของพระเยซูได้ครบถ้วนและตามลำดับเหตุการณ์มากที่สุด สาระสำคัญของพระวรสารเล่มนี้คือ ความรู้สึกปิติยินดีที่พระเยซูนำความหวังและการไถ่บาปมาสู่โลกมนุษย์ ความรักที่พระเยซูมีต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ข่มเหง สังเกตได้จากคำอุปมาที่พระเยซูตรัสสั่งสอน ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกได้ตลอดทั้งเล่ม แรกเริ่มลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่งชื่อ เธโอฟิลัส ได้อ่าน โดยเขียนขึ้นจากมุมมองของชาวกรีก จากลักษณะการเขียนที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆกับเวลาที่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง เพราะข้อมูลที่เขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น "เมื่อปีที่สิบห้า ในรัชกาลทิเบริอัสซีซาร์ ปอนทิอัส ปีลาตเป็นเจ้าเมืองยูเดีย เฮโรดเป็นเจ้าเมืองกาลิลี ฟีลิปน้องชายของเฮโรดเป็นเจ้าเมืองอิทูเรียกับเมืองตราโคนิติส ลีซาเนียสเป็นเจ้าเมืองอาบีเลน และอันนาสกับคายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต คราวนั้นพระวจนะของพระเจ้ามาถึงยอห์นบุตรเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร" ซึ่งก็ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่มีอาชีพนายแพทย์เป็นอย่างดี ลูกาเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้นจากการศึกษาและวิจัย โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกับคนที่อยู่แวดล้อมพระเยซูมาตั้งแต่ต้น และประกอบกับเอกสารต่างๆมากมาย ลูกามีวัตถุประสงค์ในการเขียนพระวรสารเล่มนี้อยู่ 5 ประการ หนึ่งคือ ต้องการให้ประจักษ์ว่าพระเยซูเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ลูกาได้ลำดับพงศ์ของพระเยซูย้อนไปจนถึงสมัยอาดัม นั่นคือตั้งแต่พระเจ้าเริ่มสร้างโลก แม้ว่าข้อมูลนี้จะมีความหมายไม่มากนักสำหรับชาวกรีก แต่ข้อมูลนี้ทำให้พระเยซูถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก ประการที่สองคือ ลูกาต้องการบันทึกเรื่องราวของพระเยซูในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีพระวรสารเล่มใดบันทึกไว้ ประการที่สามคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าพระเยซูนำข่าวดีมายังคนยากจน คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในโลก กลุ่มคนเหล่านี้รู้สึกท้อแท้ เนื่องจากรู้สึกว่าไม่ได้มีอะไรเท่าคนร่ำรวย และคิดว่าชีวิตไม่มีค่า แต่พระเยซูเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท และประกาศถึงแผ่นดินสวรรค์ที่รออยู่ในโลกหน้า ประการที่สี่คือ ลูกาต้องการให้ความสำคัญกับผู้หญิง โดยบันทึกบทบาทของผู้หญิงในหมู่สาวกของพระเยซู ประการที่ห้าคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า พระกิตติคุณของพระเยซูเป็นสากล มาถึงคนทุกชาติ ไม่ใช่เฉพาะชนชาติใดชาติหนึ่ง พระวรสารนักบุญลูกา ใช้ “ลูกา” หรือ “ลก” ในการอ้างอิง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิติแบริอุสและพระวรสารนักบุญลูกา

จักรพรรดิติแบริอุสและพระวรสารนักบุญลูกา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิติแบริอุสและพระวรสารนักบุญลูกา

จักรพรรดิติแบริอุส มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระวรสารนักบุญลูกา มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (11 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิติแบริอุสและพระวรสารนักบุญลูกา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »