เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จักรพรรดิจีนและราชวงศ์เซี่ย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิจีนและราชวงศ์เซี่ย

จักรพรรดิจีน vs. ราชวงศ์เซี่ย

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง. ตแดนราชวงศ์เซี่ย (สีเหลือง) ราชวงศ์เซี่ย (ภาษาอังกฤษ: Xia Dynasty) (ภาษาจีนกลาง: 夏朝) (พินอิน: xià cháo) เป็นราชวงศ์แรกของจีน ปกครองประเทศจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล มีอายุอยู่ได้ราว 500 ปี ในอดีตนักวิชาการและบุคคลโดยทั่วไปเชื่อว่าเรื่องราวของราชวงศ์เซี่ยเป็นเพียงเรื่องแต่งหรือปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ปัจจุบันมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อถือได้ ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิจีนและราชวงศ์เซี่ย

จักรพรรดิจีนและราชวงศ์เซี่ย มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พินอินความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

จักรพรรดิจีนและพินอิน · พินอินและราชวงศ์เซี่ย · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน

หวงตี้ ฮ่องเต้องค์แรกในความเชื่อของจีน ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน (开天辟地) เป็นนิทานปรัมปราที่เล่าสืบกันมาแต่โบราณ ว่า โลกเดิมทีเป็นฟองไข่ทรงกลม ที่ภายในมียักษ์ตนหนึ่งที่มีผมเพ้าและหนวดเครายาว มีร่างกายยาวถึง 90,000 ลี้ (ประมาณ 45,000 กิโลเมตร) ชื่อ ป้านกู (盤古) วันหนึ่งป้านกูตื่นขึ้นมาและได้ฟักตัวออกจากไข่ ด้วยเรี่ยวแรงมหาศาลของป้านกู ป้านกูจึงดันส่วนบนของไข่ให้กลายเป็นสวรรค์และด้านล่างกลายเป็นโลก แต่สวรรค์และโลกกลับดูดตัวเข้าหากัน ป้านกูจึงให้พละกำลังดันทั้ง 2 ส่วนอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานับหมื่น ๆ ปี จนในที่สุดทั้งสวรรค์และโลกไม่อาจรวมตัวกันได้ ป้านกูจึงล้มลงและเสียชีวิต ภายหลังเสียชีวิตแล้ว ตาข้างซ้ายของป้านกูกลายเป็นพระอาทิตย์ ตาข้างขวากลายมาเป็นพระจันทร์ ร่างกลายกลายเป็นภูเขา เลือดกลายเป็นแม่น้ำ ผมและหนวดเคราที่ยาวสลวยกลายเป็นผักและหญ้า ผ่านไปหลังจากนั้นอีกเนิ่นนาน เจ้าแม่หนี่วา (女媧) ได้ลงมาท่องเที่ยวชมพื้นโลก และชื่นชมว่าโลกเป็นสถานที่ ๆ น่าอยู่ยิ่งนัก เมื่อนางได้ใช้นิ้วจิ้มดินและเศษดินตกลงสู่น้ำก็กลายเป็นลูกอ๊อด องค์เจ้าแม่หนี่วา ทรงดีพระทัยยิ่งนัก จึงใช้ดินปั้นเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ จึงกำเนิดขึ้นเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ แต่นางรู้สึกว่าขาดอะไรบางอย่างไป ในวันที่ 7 พระนางจึงเริ่มปั้นรูปเหมือนตัวพระนางขึ้น เกิดเป็นมนุษย์ผู้หญิงขึ้น และพระนางเกรงว่ามนุษย์ผู้หญิงนี้จะเหงา จึงปั้นรูปใหม่ขึ้นมาให้คล้ายเคียงกันเป็นมนุษย์ผู้ชาย และให้มนุษย์ทั้ง 2 เพศนี้อยู่คู่กันและออกลูกหลานสืบต่อกันมา ต่อมา ฟูซี (伏羲) ซึ่งเป็นผู้ปกครองชนเผ่าของมนุษย์ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติ จนสามารถพึ่งตัวเองได้และเกิดเป็นองค์ความรู้ วันหนึ่งมีกิเลนตัวหนึ่งกระโดดขึ้นมาจากแม่น้ำฮวงโห บนหลังกิเลนมีสัญลักษณ์ปรากฏที่ถูกเรียกในภายหลังว่า "แผนภูมิเหอถู" (河图) ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นตัวอักษร หลังยุคฟูซี เสินหนง (神農) ได้เป็นผู้ปกครองแทน เสินหนงได้สอนให้ผู้คนรู้จักการเพาะปลูก และใช้คันไถ และยุคต่อมาก็คือ ยุคของหวงตี้ (黃帝) หรือ จักรพรรดิเหลือง หวงตี้ได้ทำสงครามกับเหยียนตี้ที่ปั่นเฉวียน (阪泉) สุดท้ายเหยียนตี้พ่ายแพ้ หวงตี้จึงขยายอำนาจการปกครองจากทางตอนเหนือลงไปทางใต้ จนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงและฮั่นสุ่ย ซึ่งหวงตี้ได้รับการนับถือจากชาวจีนรุ่นต่อมาว่าเป็น ฮ่องเต้หรือจักรพรรดิองค์แรกของจีน และชื่อของพระองค์ก็กลายมาเป็นคำว่า ฮ่องเต้ หรือ จักรพรรดิ ความหมายของชื่อก็กลายมาเป็นสีประจำตัวฮ่องเต้ด้วย คือ สีเหลือง ชาวจีนเชื่อว่า ในราชวงศ์ชั้นหลัง เช่น ราชวงศ์เซี่ย, ราชวงศ์ซาง, ราชวงศ์โจว ต่อมาต่างก็สืบเชื้อสายจากหวงตี้ทั้งนั้น หลังยุคหวงตี้ เป็นยุคของเชาเหา (少昊) และ ซวนซู (顓頊) ซึ่งในยุคนี้ได้กำเนิดดาราศาสตร์, ปฏิทิน, ความเชื่อ, ไสยศาสตร์และเรือ ต่อมาจึงเป็นยุคของ กู (帝嚳) และ เหยา (尧) ซึ่งในยุคนี้พระอาทิตย์มีมากมายพร้อมกันถึง 10 ดวง และต่างพากันเปล่งรัศมีความร้อนแรงมายังโลกมนุษย์ ทำให้เดือดร้อนกันมาก เง็กเซียนฮ่องเต้จึงมีบัญชาให้ โหวอี้ นักยิงธนูบนสวรรค์ลงไปยังโลกมนุษย์เพื่อจัดการ โหวอี้ใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกไปถึง 9 ดวง และตำนานโฮ๋วอี้ยิงดวงอาทิตย์ 9 ดวงนี้ก็ก่อให้เกิดตำนาน เทพธิดาฉางเอ๋อ เหาะไปดวงจันทร์และเป็นต้นกำเนิดเทศกาลไหว้พระจันทร์ของจีน ต่อมาเป็นยุคของซุน (舜) และ อวี่ (禹) ในยุคของอวี่ได้เกิดอุทกภัย (大禹治水) และอวี่สามารถสร้างเขื่อนควบคุมกระแสน้ำได้สำเร็จ โดยไม่ได้กลับบ้านเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปี และวันหนึ่งก็ได้มีเต่าศักดิ์สิทธิ์ตัวหนึ่งผุดขึ้นมาจากแม่น้ำลั่ว บนกระดองเต่ามีอักษรที่ต่อมาเรียกว่า "แผนภูมิลั่วซู" (洛书) ซึ่งกลายมาเป็นศิลปะวิทยาการต่าง ๆ สืบมาจนปัจจุบัน ภายหลังจากอวี่เสียชีวิตลง บุตรชายของอวี่ก็สังหารอี้เพื่อแย่งชิงตำแหน่งหัวหน้า และเริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าโดยสายเลือดในระบบวงศ์วานว่านเครือ และหลังจากนั้น ประวัติศาสตร์จีนก้าวเข้าสู่ราชวงศ์แรกที่มีการสืบทอดบัลลังก์อำนาจโดยสายเลือด นั่นคือ จุดกำเนิดของราชวงศ์เซี่ย (夏代) ราชวงศ์แรกของจีน.

ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีนและจักรพรรดิจีน · ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีนและราชวงศ์เซี่ย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิจีนและราชวงศ์เซี่ย

จักรพรรดิจีน มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชวงศ์เซี่ย มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.26% = 2 / (31 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิจีนและราชวงศ์เซี่ย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: