เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จักรพรรดิจิมมุและอะมะเตะระซุ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิจิมมุและอะมะเตะระซุ

จักรพรรดิจิมมุ vs. อะมะเตะระซุ

นหลวงของจักรพรรดิจิมมุ จักรพรรดิจิมมุ พระนาม คะมุยะมะโตะ อิวะเระบิโกะ ปฐมจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นสำนักพระราชวังญี่ปุ่น (Kunaichō): จักรพรรดิในตำนานของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในพระนามอื่นๆ อีก อาทิ คะมุยะมะโตะ อิวะเระบิโกะ โนะ มิโกะโตะ (神日本磐余彦尊) หรือ วะกะมิเกะนุ โนะ มิโกะโตะ (若御毛沼命) หรือ ซะโนะ โนะ มิโกะโตะ (狹野尊) ตามตำนาน โคะจิกิ ได้กล่าวไว้ว่า จักรพรรดิจิมมุพระราชสมภพเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 711ปีก่อน.. วาดแสดงการปรากฏตัวของสุริยเทวีเพื่อให้แสงสว่างแก่จักรวาล อะมะเตะระซุ (天照; โรมะจิ: Amaterasu), อะมะเตะระซุ-โอมิกะมิ (天照大神 / 天照大御神; โรมะจิ: Amaterasu-ōmikami) หรือ โอฮิรุเมะ-โนะ-มุชิ-โนะ-กะมิ (大日孁貴神; โรมะจิ: Ōhiru-menomuchi-no-kami) เป็นสุริยเทพีตามความเชื่อของศาสนาชินโต มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพีองค์นี้มากมาย ซึ่งเป็นรากฐานของพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ เรื่องที่สำคัญคือการที่สุริยเทพีหลบหนีพระพายซุซะโนะโอะเข้าไปอยู่ในถ้ำ ทำให้โลกต้องพบกับความมืดมิดจนเกิดจลาจล เทวดาทั้งหลายจึงคิดอุบายให้สุริยเทพีปรากฏตัวออกมา แสงสว่างจึงได้ขับไล่ความมืดและความชั่วร้าย เป็นเหตุให้ซูซะโนะโอะถูกกำราบลงได้ นางจึงกลายเป็นเทพที่สำคัญที่สุดของศาสนาชินโต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิจิมมุและอะมะเตะระซุ

จักรพรรดิจิมมุและอะมะเตะระซุ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชินโต

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

จักรพรรดิจิมมุและชินโต · ชินโตและอะมะเตะระซุ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิจิมมุและอะมะเตะระซุ

จักรพรรดิจิมมุ มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ อะมะเตะระซุ มี 3 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.00% = 1 / (22 + 3)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิจิมมุและอะมะเตะระซุ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: