ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิคังซีและเอ๋าไป้
จักรพรรดิคังซีและเอ๋าไป้ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กิมย้งภาษาแมนจูราชวงศ์ชิงราชวงศ์หมิงอุ้ยเสี่ยวป้อจักรพรรดิยงเจิ้งจักรพรรดิซุ่นจื้อ
กิมย้ง
thumb กิมย้ง หรือชื่อจริง จา เลี้ยงย้ง (Louis Cha Leung-yung) เป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในที่ได้รับความนิยมมาก มักเขียนนิยายโดยแฝงเนื้อหาทางการเมืองบางอย่างไว้ โดยเฉพาะการวิจารณ์ระบบกษัตริย์ พรรคคอมมิวนิสต์ และลัทธิเชื้อชาติฮั่นเป็นใหญ่ กิมย้งมีหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ชื่อ หมิงเป้า (明報) ปัจจุบัน กิมย้ง ยังมีชีวิตอยู่ และดูแลกิจการหนังสือพิม.
กิมย้งและจักรพรรดิคังซี · กิมย้งและเอ๋าไป้ ·
ภาษาแมนจู
ษาแมนจู (จีนกลาง: 满语; พินอิน: mǎn yǔ หมาน อวี่) เป็นภาษากลุ่มตังกูสิตใกล้สูญพันธุ์ซึ่งมีผู้พูดทางภาคเหนือของประเทศจีน เป็นภาษาแม่ของชาวแมนจู แต่ปัจจุบัน ชาวแมนจูส่วนมากพูดภาษาจีนกลาง และมีผู้พูดเป็นภาษาแม่และพูดได้บ้างน้อยกว่า 70 คน จากผู้มีเชื้อสายแมนจูรวมเกือบ 10 ล้านคน แม้ภาษาซิเบที่มีผู้พูด 40,000 คน แทบเหมือนกับภาษาแมนจูในทุกด้าน แต่ผู้พูดภาษาซิเบ ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงทางตะวันตกไกล มีเชื้อสายแตกต่างจากชาวแมนจู ภาษาแมนจูเป็นภาษารูปคำติดต่อ เขียนจากบนลงล่าง คาดว่าพัฒนามาจากภาษาจูร์เชน มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษาจีนจำนวนมาก มีอักษรเป็นของตนเองเรียกว่าอักษรแมนจู ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรมองโกเลีย โครงสร้างประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กร.
จักรพรรดิคังซีและภาษาแมนจู · ภาษาแมนจูและเอ๋าไป้ ·
ราชวงศ์ชิง
ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..
จักรพรรดิคังซีและราชวงศ์ชิง · ราชวงศ์ชิงและเอ๋าไป้ ·
ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.
จักรพรรดิคังซีและราชวงศ์หมิง · ราชวงศ์หมิงและเอ๋าไป้ ·
อุ้ยเสี่ยวป้อ
อุ้ยเสี่ยวป้อ เริ่มนำลงในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม..1969 จวบกระทั่ง วันที่ 23 กันยายน..
จักรพรรดิคังซีและอุ้ยเสี่ยวป้อ · อุ้ยเสี่ยวป้อและเอ๋าไป้ ·
จักรพรรดิยงเจิ้ง
มเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน, อิ้นเจวิน (ภาษาจีน: 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ) เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคตแต่ในระหว่างที่ครองราชย์ต้องพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกันยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้านกิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น รวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง จักรพรรดิย่งเจิ้งสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2278 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีอ่องเต้ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง.
จักรพรรดิคังซีและจักรพรรดิยงเจิ้ง · จักรพรรดิยงเจิ้งและเอ๋าไป้ ·
จักรพรรดิซุ่นจื้อ
มเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ชิง แต่ในบางครั้งจะนับพระองค์เป็น ปฐมจักรพรรดิ ของราชวงศ์ชิง ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิแมนจูพระองค์แรกที่ได้ประทับในพระราชวังต้องห้ามที่กรุงปักกิ่ง และราชวงศ์หมิงถึงกาลสิ้นสุดอย่างแท้จริง มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน (爱新觉罗福临) ซึ่งเป็นพระโอรสคนที่ 9 ของหวงไท่จี๋ ทรงขึ้นครองราชย์เพียงพระชนมพรรษา 6 ขวบ ในปี พ.ศ. 2186 (ค.ศ. 1643) หลังการสวรรคตของจักรพรรดิหวงไถจี๋ พระราชบิดา และ เซี่ยวจวงก็เลื่อนศักดิ์ขึ้นมาเป็นไทเฮา โดยมีตัวเอ่อกุ่นที่มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาเป็นผู้สำเร็จราชการ (摄政王) และมีเจิ้งชินหวัง (郑亲王) คอยให้การช่วยเหลือ ตั่วเอ่อกุ่นได้พยายามยึดกุมอำนาจปกครองอันแท้จริงเอาไว้ อีกทั้งยังตั้งตนเองเป็นพระราชบิดา ควบคุมกองทัพกองธงไว้ถึง 3 กองธง ในขณะที่ฮ่องเต้ปกครองอยู่เพียง 2 กองธง พระองค์ต้องอยู่ใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของตั่วเอ่อกุ่น พระอนุชาต่างพระมารดาของพระราชบิดา ซึ่งตั่วเอ่อกุ่นนับว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมาก อีกทั้งยังมีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นครองราชย์อีกด้วย ตั่วเอ่อกุ่นได้กระทำการหลายอย่างที่จะไม่ให้พระองค์เจริญชันษามาด้วยความปรีชาสามารถ เช่น ไม่สนับสนุนให้ทรงเล่าเรียน เป็นต้น แต่ทว่า อำนาจของตั่วเอ่อกุ่นก็ถูกคานจาก พระนางเสี้ยวจวงไทเฮา (孝庄太后)พระมารดา กระทั่งปี..1650 เมื่อตัวเอ่อกุ่นเสียชีวิตลง ซุ่นจื้อที่เริ่มหลุดจากการเป็นหุ่นเชิด ได้ประกาศราชโองการยกเลิกตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ และริบทรัพย์ทั้งหมดของตัวเอ่อกุ่นเป็นการลงโทษในข้อหาใช้อำนาจบาตรใหญ่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังลือกันว่ามีการขุดศพของตัวเอ่อกุ่นขึ้นมาทำการตีด้วยไม้และโบยด้วยแส้อีกด้วย หลังจากนั้น เพื่อให้อำนาจกลับคืนสู่ฮ่องเต้อย่างแท้จริง ซุ่นจื้อยังได้ทำการปลดองค์ชายและเชื้อพระวงศ์หลายคนที่เคยดูแลหน้าที่ในกระทรวงต่างๆ อีกทั้งเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติ จึงทรงมีรับสั่งให้มีการหยุดการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ผ่อนปรนกฎหมายคนหลบหนี ผลักดันวัฒนธรรมชาวฮั่น ซึ่งการยกย่องวัฒนธรรมของชาวฮั่นกับความคิดในการปฏิรูปเพื่อให้แมนจูกับชาวฮั่นสามารถอยู่ร่วมกันของซุ่นจื้อ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับขุนนางใหญ่จำนวนไม่น้อย ความผิดหวังในทางการเมือง ได้ทำให้ซุ่นจื้อหันมาทุ่มเทให้กับความรักให้กับพระมเหสีต่งเอ้อ พระสนมต่งเอ้อ โดยเล่าขานกันว่า พระมเหสีต่งเอ้อเดิมเป็นน้องสะใภ้ของซุ่นจื้อ เป็นภรรยาของป๋อมู่ป๋อกั่วเอ่อ (博穆博果尔) แต่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับซุ่นจื้อมาก หลังป๋อกั่วเอ่อเสียชีวิตในปีซุ่นจื้อที่ 13 ฮ่องเต้ซุ่นจื้อจึงได้แต่งตั้งนางให้เป็นพระสนมของตน หลังจากเป็นสนมของซุ่นจื้อได้หนึ่งปี พระมเหสีต่งเอ้อก็ได้ให้กำเนิดพระโอรส ซึ่งเดิมจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท ทว่าพระโอรสพระองค์นี้กลับเสียชีวิตไปเมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน ทำให้พระมเหสีต่งเอ้อตรอมใจจนสิ้นพระชนม์ และได้รับการอวยยศตามหลังจากเซี่ยวจวงฮองไทเฮา ให้เป็นเสี้ยวเซี่ยนตวนจิ้งฮองเฮา จักรพรรดิซุ่นจื้อครองราชย์ถึงปีที่ 18 (ค.ศ. 1661) ก็สวรรคตไปด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา ทว่าการสวรรคตของพระองค์กลับเป็นปริศนาถูกกล่าวขานไว้หลายรูปแบบ โดยบ้างระบุว่าพระองค์เสียพระทัยกับการสูญเสียพระสนมและพระโอรส ทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับความกระทบกระเทือน และสิ้นพระชนม์ด้วยโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ในขณะที่บันทึกของชาวบ้านกลับระบุว่า พระองค์ทรงมีความฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สุดท้ายเมื่อสูญเสียพระสนมอันเป็นที่รัก จึงได้ออกผนวช ณ เขาอู่ไถ (五台山) และต่อมาพระโอรสลำดับที่ 3 ของพระองค์ ที่ประสูติแต่ พระมเหสีคัง คือ องค์ชายเสวียนเยว่ (玄燁) พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้คังซีตามพระพินัยกรรมของซุ่นจื้อในนาม จักรพรรดิคังซี ซึ่งต่อมาทรงเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ชิง และพระนางเสี้ยวจวงก็เป็นผู้อุปการะพระองค์มาโดยตลอด และได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นไท่หวงไท.
จักรพรรดิคังซีและจักรพรรดิซุ่นจื้อ · จักรพรรดิซุ่นจื้อและเอ๋าไป้ ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ จักรพรรดิคังซีและเอ๋าไป้ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิคังซีและเอ๋าไป้
การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิคังซีและเอ๋าไป้
จักรพรรดิคังซี มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอ๋าไป้ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 13.73% = 7 / (31 + 20)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิคังซีและเอ๋าไป้ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: