โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จอห์น แวนบรูห์และวังเบลนิม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จอห์น แวนบรูห์และวังเบลนิม

จอห์น แวนบรูห์ vs. วังเบลนิม

ซอร์จอห์น แวนบรูห์โดยเจฟฟรี เนลเลอร์ (Godfrey Kneller) จอห์น แวนบรูห์ หรือ เซอร์จอห์น แวนบรูห์ (John Vanbrugh) (24 มกราคม ค.ศ. 1664? – 26 มีนาคม ค.ศ. 1726) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษ และนักเขียนบทละคร (dramatist) งานชิ้นเอกของแวนบรูห์ก็เห็นจะเป็น วังเบล็นไฮม์ และ ปราสาทฮาวเวิร์ด งานอื่นก็ได้แก่บทละครฟื้นฟูราชวงศ์ (Restoration comedy) ซึ่งเป็นบทละครชวนหัวที่แรงๆ สองเรื่อง -- “คืนตัว” (The Relapse) ในปี ค.ศ. 1696 และเรื่อง “ภรรยาผู้ถูกยุ” (The Provoked Wife) ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งเป็นละครที่เล่นกันบ่อยแต่เป็นบทละครที่ทำให้มีความขัดแย้งกันมากเมื่อออกมาใหม่ๆ แวนบรูห์ค่อนข้างจะเป็นผู้มีหัวรุนแรง เมื่อหนุ่มๆ แวนบรูห์ก็เป็นสมาชิกพรรควิกและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโค่นราชบัลลังก์ของ, he was part of the scheme to overthrow สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และสนับสนุนการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เพื่อพิทักษ์ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยของอังกฤษ และมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองจนถูกจับเป็นนักโทษการเมืองที่ถูกจำขังที่คุกบาสตีย์ในปารีส ส่วนทางด้านการเขียนบทละครแวนบรูห์มักจะเขียนบทละครแบบเสียดสี เช่นบทละครฟื้นฟูราชวงศ์ และเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 นอกจากจะเป็นงานเขียนที่ออกจะเปิดเผยในเรื่องทางเพศแล้วก็ยังสื่อความหมายในการป้องกันสิทธิสตรีในการแต่งงานอีกด้วย ซึ่งก็ถูกโจมตีทั้งสองประเด็นและเป็นผู้ที่ถูกวิจารณ์ในค่านิยมโดย เจอเรอมี คอลลีเออร์ (Jeremy Collier) ในหนังสือ “ความคิดเห็นสั้นเกี่ยวกับความขาดศีลธรรมและความหยาบคายในวงการละครอังกฤษ” (Short View of the Immorality and Profaneness of the English Stage) ทางด้านสถาปัตยกรรมแวนบรูห์เป็นผู้นำในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มารู้จักกันในนาม “สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ” งานของแวนบรูห์ทางสถาปัตยกรรมก็เป็นการแสดงออกอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับความคิดเห็นทางการเมือง. วังเบลนิม (Blenheim Palace) หรือ คฤหาสน์เบลนิม เป็นคฤหาสน์ที่สร้างอย่างวังตั้งอยู่ที่เมืองเล็กๆ ชื่อวู้ดสต็อคในมลฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ สร้างโดยซาราห์ เชอร์ชิลผู้เป็นภรรยาของจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ระหว่างปี ค.ศ. 1705 ถึง ค.ศ. 1722 วังเบลนิมเป็นสถาปัตยกรรมแบบวัง โดยมี เซอร์จอห์น แวนบรูห์เป็นสถาปนิก วังเบลนิมเป็นคฤหาสน์ที่มิได้เป็นของราชวงศ์ แต่ก็ใช้คำนำหน้าว่า “วัง” ซึ่งเป็นแห่งเดียวในอังกฤษเพราะความยิ่งใหญ่ของสิ่งก่อสร้าง จุดประสงค์ของการก่อสร้างเมื่อเริ่มแรกเพื่อเป็นของขวัญสำหรับจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระเพื่อเป็นการตอบแทนในการนำกองทัพอังกฤษรบชนะฝรั่งเศสและบาวาเรีย แต่ต่อมาเบลนิมกลายเป็นปัญหาในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้ดยุกและดัชเชสแห่งมาร์ลบะระสิ้นอำนาจ รวมทั้งการเสียชื่อเสียงของสถาปนิกจอห์น แวนบรูห์ ตัววังสร้างเป็นแบบบาโรก ปฏิกิริยาหรือคุณค่าของสิ่งก่อสร้างจนบัดนี้ก็ยังไม่เป็นที่เห็นพ้องกันได้ เช่นเดียวกับในสมัยเมื่อเริ่มสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1720 ตัวสิ่งก่อสร้างเป็นลักษณะที่ผสมระหว่างที่อยู่อาศัย, ที่เก็บศพ และ อนุสาวรีย์ นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจคือเป็นที่เกิดของวินสตัน เชอร์ชิลอดีตนายกรัฐมนตรีคนสำคัญของอังกฤษ คำจารึกเหนือประตูใหญ่ทางตะวันออกบอกประวัติของสิ่งก่อสร้าง: แต่ตามความเป็นจริงแล้วความสำเร็จของการสร้างเบลนิมเป็นผลจากความทะเยอทะยานของซาราห์ เชอร์ชิลเป็นส่วนใหญ่ หลังจากสร้างเสร็จเบลนิมก็กลายเป็นที่พำนักของตระกูลเชอร์ชิลมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาได้ราว 300 ปี ในระหว่างนั้นตัววังและอุทยานก็ได้รับการเปลื่ยนแปลงมาโดยตลอด เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตระกูลมาร์ลบะระก็ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องขายทรัพย์สมบัติสำคัญๆ ไปบ้าง แต่การแต่งงานกับสตรีชาวอเมริกันก็ช่วยนำเงินมาบำรุงรักษาเบลนิมให้ยังอยู่ในสภาพดังเช่นเมื่อเริ่มสร้าง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จอห์น แวนบรูห์และวังเบลนิม

จอห์น แวนบรูห์และวังเบลนิม มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษวิกจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระคฤหาสน์ฮาวเวิร์ดซาราห์ เชอร์ชิล ดัชเชสแห่งมาร์ลบะระประเทศอังกฤษ

พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ

ลายเซ็นของพระองค์ พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ (William III of England; 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1650 — 8 มีนาคม ค.ศ. 1702) ทรงเป็นที่รู้จักกันในนามว่า วิลเลียมที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ และ วิลเลมที่ 3 แห่งออเรนจ์ ทรงเป็นขุนนางดัทช์ชั้นสูง และทรงเป็นศาสนิกชนนิกายโปรแตสแตนต์ เป็นพระราชโอรสของเจ้าชายวิลเลมแห่งออเรนจ์และเจ้าหญิงแมรี สจวตประสูติที่ The Hague ภายหลัง 8 วันจากที่พระองค์ประสูติ พระบิดาของพระองค์ก็สวรรคตด้วยไข้ทรพิษ ดังนั้นจึงทำให้พระเจ้าวิลเลียมทรงกลายเป็นเจ้าชายผู้ทรงอำนาจสูงสุดนับตั้งแต่ถือกำเนิดเลยทีเดียวก็ว่าได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2203 เมื่อพระเจ้าวิลเลียมมีพระชนมายุได้ราวสิบกว่าพรรษา พระราชมารดาก็สวรรคตด้วยไข้ทรพิษในระหว่างที่ทรงเยี่ยมพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเชษฐาของพระองค์ โดยก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ลงได้ทรงตัดสินใจให้พระเจ้าชาลส์เป็นผู้ปกครอง โดยพระเจ้าชาลส์นั้นได้ทรงมอบหน้าที่ให้เป็นของเจ้าหญิงอมาเลีย เนื่องจากทรงเข้าใจในพระราชประสงค์ของพระเจ้าชาลส์เป็นอย่างดี และพระองค์ก็มิได้ทรงละเลยในการเขียนจดหมายติดต่อถึงหลานชายแต่อย่างใด ในปี พ.ศ. 2217 พระองค์ได้มีความพยายามในการที่จะสมรสกับแมรีหลานสาวของพระองค์เอง ซึ่งแมรี่เป็นธิดาของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ การสมรสนี้แม้นว่าเป็นไปอย่างยาก ลำบากมากก็ตาม แต่ในที่สุดก็ทรงได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2220 พระองค์ได้ทรงเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามที่ต่อต้านอำนาจพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน เหล่าสมาชิกนิกายโปรแตสแตนต์ถึงกับได้มอบเหรียญตราและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เนื่องจากเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ของพระองค์ทำให้พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในเวลาต่อมา ถึงแม้ว่าจะมีเหตุผลอื่น ในการประสบความสำเร็จของพระองค์จะเป็นในด้านการทหาร หรือกองเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็ตาม พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2245 ด้วยโรคปอดอักเสบ อันเนื่องจากการที่พระองค์ทรงตกจากม้าของพระองค์เอง และเป็นที่เชื่อกันว่าม้าของพระองค์ นั้นได้ก้าวเท้าพลาดไปสะดุดกับรังของตัวตุ่นเข้า และนี่คงเป็นเหตุผลหนึ่งของที่มา ในการดื่มอวยพร Make a toasted ซึ่งมักจะมีการนิยมกล่าวกันในระหว่างที่ดื่มอวยพรว่า "the little gentleman in the black velvet waistcoat." และในปีถัดมา ท่านเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ก็ได้เพิ่มเติมลงไปอีกว่า "opened the trapdoor to a host of lurking foes".

จอห์น แวนบรูห์และพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ · พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษหรือพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ พระเจ้าเจมส์ที่ 2แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2228 – พ.ศ. 2232) หรือ พระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ และพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2228 ถึง 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์สุดท้ายที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเจมส์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ประสูติที่พระราชวังเซนต์เจมส์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในปี..

จอห์น แวนบรูห์และพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

วิก

วิก อาจจะหมายถึง.

จอห์น แวนบรูห์และวิก · วังเบลนิมและวิก · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ

อห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ (John Churchill, 1st Duke of Marlborough) เป็นแม่ทัพและรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้รับราชการในพระเจ้าแผ่นดิน 5 พระองค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 18 เขาเป็นแม่ทัพคนสำคัญในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ซึ่งทำให้อังกฤษได้เข้าครอบครองช่องแคบยิบรอลตาร์และเกาะมินอร์กา จอห์น เชอร์ชิลเริ่มขีวิตการทำงานด้วยการเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของราชวงศ์สจวตในราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ความเก่งกล้าสามารถในสนามรบทำให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากเจ้าชายเจมส์ ดยุกแห่งยอร์ค เมื่อเจ้าชายเจมส์ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1685 เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เชอร์ชิลได้มีบทบาทสำคัญในการพ่ายแพ้ของการกบฏที่นำโดยเจมส์ สกอตต์ ดยุกแห่งมอนม็อธที่ 1 แต่สามปีต่อมาจอห์น เชอร์ชิลได้ละทิ้งพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ผู้เปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกไปเข้าข้างพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ผู้เป็นโปรแตสแตนท์ ในพระราชพิธีราชาภิเษกจอห์น เชอร์ชิลได้รับแต่งตั้งให้เป็น “เอิร์ลแห่งมาร์ลบะระ” และได้รับราชการมีผลงานดีเด่นในราชอาณาจักรไอร์แลนด์ และฟลานเดอร์สระหว่างสงครามเก้าปี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างลอร์ดแห่งมาร์ลบะระและภรรยาซาราห์ กับพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ตลอดรัชสมัยของทั้งสองพระองค์ไม่ค่อยดีนัก หลังจากที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนสมรู้ร่วมคิดกับอดีตพระเจ้าแผ่นดิน ลอร์ดมาร์ลบะระก็ถูกปลดจากตำแหน่งทุกตำแหน่งทั้งการทหารและพลเรือนและถูกจำคุกที่หอคอยลอนดอนอยู่ชั่วระยะหนึ่ง หลังจากพระราชินีนาถแมรีที่ 2 สวรรคตและอังกฤษเผชิญกับสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรป ลอร์ดมาร์ลบะระจึงได้กลับมาเป็นคนโปรดอีกครั้งหนึ่ง ลอร์ดมาร์ลบะระมีอิทธิพลในราชสำนักมากที่สุดในรัชการของพระราชินีนาถแอนน์ผู้เป็นสหายสนิทของซาราห์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็น “ผู้บัญชาการทหารสูงสุด” (Captain-General) ของกองทัพอังกฤษ แต่ต่อมาได้รับเลื่อนขึ้นเป็นดยุก ดยุกแห่งมาร์ลบะระมีชื่อเสียงจากการต่อสู้ในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนในยุทธการเบล็นไฮม์ (Battle of Blenheim) ยุทธการรามิลีส์ (Battle of Ramillies) และ ยุทธการอูเดนาร์ด (Battle of Oudenarde) แต่เมื่อซาราห์ไม่ได้กลายเป็นสหายสนิทของพระราชินีนาถแอนน์และพรรคทอรี จึงต้องมีการสงบศึกกับฝรั่งเศสซึ่งทำให้ดยุกแห่งมาร์ลบะระหมดอำนาจลง ดยุกแห่งมาร์ลบะระถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกงจึงถูกปลดจากตำแหน่งทุกตำแหน่งทั้งการทหารและพลเรือนอีกครั้งหนี่ง แต่ก็มารุ่งเรืองขึ้นอีกเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 1 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1714 แต่สุขภาพของดยุกได้เริ่มเสื่อมโทรมลง หลังจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองเกิดขึ้นสองสามครั้ง ในที่สุดก็เสียชีวิตที่บ้านวินด์เซอร์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1722.

จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระและจอห์น แวนบรูห์ · จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ฮาวเวิร์ด

หาสน์ฮาวเวิร์ด หรือ ปราสาทฮาวเวิร์ด (Castle Howard) เป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่ในเทศมณฑลนอร์ทยอร์กเชอร์ในอังกฤษราว 24 กิโลเมตรเหนือเมืองยอร์ก “ปราสาทฮาวเวิร์ด” เป็นคฤหาสน์ส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษที่ส่วนใหญ่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1699 ถึงปี ค.ศ. 1712 สำหรับชาลส์ ฮาวเวิร์ด เอิร์ลที่ 3 แห่งคาร์ไลล์ (Charles Howard, 3rd Earl of Carlisle) คฤหาสน์ออกแบบโดยเซอร์จอห์น แวนบรูห์ อันที่จริงแล้ว "ปราสาทฮาวเวิร์ด" ไม่ใช่ "ปราสาท" ที่แท้จริงตามความหมายของคำว่าปราสาทตามตัวหนังสือแต่เป็นสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า "คฤหาสน์ชนบท" ที่สร้างขึ้นหลังสมัยการก่อสร้างปราสาทราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 และไม่มีจุดประสงค์ที่จะใช้ในทางการทหารแต่อย่างใด ปราสาทฮาวเวิร์ดเป็นที่พำนักอาศัยส่วนหนึ่งของตระกูลฮาวเวิร์ดมาเป็นเวลากว่า 300 ปี และมาเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเมื่อใช้เป็น “คฤหาสน์ชนบทไบรด์สเฮด” ในการสร้างละครโทรทัศน์ที่สร้างจากบทละครที่เขียนอีฟลิน วอ (Evelyn Waugh) โดยเรื่อง "Brideshead Revisited" และในภาพยนตร์ชื่อเดียวกันที่สร้างสองปีต่อมา ในปัจจุบันปราสาทฮาวเวิร์ดเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ.

คฤหาสน์ฮาวเวิร์ดและจอห์น แวนบรูห์ · คฤหาสน์ฮาวเวิร์ดและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

ซาราห์ เชอร์ชิล ดัชเชสแห่งมาร์ลบะระ

ซาราห์ เชอร์ชิล ดัชเชสแห่งมาร์ลบะระ (Sarah Churchill, Duchess of Marlborough) หรือชื่อเดิมคือ ซาราห์ เจ็นนิงส์ (Sarah Jennings) เป็นสตรีสูงศักดิ์ชาวอังกฤษ เป็นผู้มีบทความสำคัญในการเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ ในรัชสมัยของพระองค์ซาราห์ได้รับตำแหน่งสูงสุดสำหรับสตรีในราชสำนักในฐานะเจ้ากรมพระภูษามาลา ความสัมพันธ์อันสนิทสนมของแอนน์และพระนางเจ้าแอนน์เป็นที่รู้กันทั่วไปจึงทำให้ผู้ที่ต้องการอะไรจากพระนางเจ้าแอนน์ต้องเข้ามาขอให้ซาราห์ช่วย นอกจากนั้นซาราห์ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างวังเบลนิมเพื่อเป็นเกียรติแก่สามีผู้เป็นวีรบุรุษในการสงคราม ในสมัยที่การแต่งงานของผู้มีฐานะเป็นการแต่งงานเพื่อเพิ่มฐานะทางการเงินแต่ซาราห์มีความสัมพันธ์อันดีกับสามี จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ ผู้ที่ซาราห์สมรสด้วยเมื่อปีค.ศ. 1677 ซาราห์เข้าข้างเจ้าหญิงแอนน์ระหว่างการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์และหลังจากที่พระเจ้าเจมส์ที่ 2สละราชสมบัติ เมื่อเจ้าหญิงแอนน์ขึ้นเสวยราชย์หลังจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 3สวรรคตในปี ค.ศ. 1702 เป็นพระนางเจ้าแอนน์ ดยุกแห่งมาร์ลบะระและ ซิดนีย์ โกโดลฟิน เอิร์ลแห่งโกโดลฟินที่ 1 (Sidney Godolphin, 1st Earl of Godolphin) ก็ได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างซาราห์กับพระนางเจ้าแอนน์ เมื่อดยุกแห่งมาร์ลบะระนำทัพไปต่อสู้ในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนในยุโรป ซาราห์ก็เขียนจดหมายไปถึงสามีเล่าถึงความเป็นไปในราชสำนัก และนอกจากนั้นซาราห์ก็ยังเป็นผู้มีอิทธิพลในการให้คำปรึกษาแก่พระนางเจ้าแอนน์เมื่อดยุกแห่งมาร์ลบะระส่งรายงานการสงครามกลับมาถวายจากสนามรบ ความเป็นหัวแข็งและความเป็นคนชอบเอาชนะของซาราห์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระนางเจ้าแอนน์และซาราห์มาสิ้นสุดลงในที่สุดในปี ค.ศ. 1711 ซาราห์และสามีถูกปลดจากหน้าที่ในราชสำนัก แต่ก็ได้กลับรับราชการอีกครั้งในสมัยราชวงศ์ฮาโนเวอร์หลังจากพระนางเจ้าแอนน์เสด็จสวรรคต แต่ต่อมาซาราห์ก็ยังคงมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับคนสำคัญๆ รอบข้างอีกหลายคนเช่น เฮ็นเรียตตา โกโดลฟิน ดัชเชสแห่งมาร์ลบะระ (Henrietta Godolphin, 2nd Duchess of Marlborough) ลูกสาวคนที่สอง; จอห์น แวนบรูห์ (John Vanbrugh) สถาปนิกผู้ออกแบบและสร้างวังเบลนิม; โรเบิร์ต วอลโพล เอิร์ลแห่งอ็อกฟอร์ดที่ 1 (Robert Walpole, 1st Earl of Orford) ผู้มักจะถูกบรรยายว่าเป็น “นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร”คนแรก; พระเจ้าจอร์จที่ 2 และ พระราชินีคาโรลีน หลังจากที่ดยุกแห่งมาร์ลบะระถึงแก่อสัญกรรมซาราห์ก็ได้รับเงินจำนวนที่มากพอที่จะทำให้เป็นผู้หญิงที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปคนหนึ่งฟอล์คเนอร์,. สืบค้นวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ซาราห์เสียชีวิตราววันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1744 เมื่ออายุได้ 84 ปี.

จอห์น แวนบรูห์และซาราห์ เชอร์ชิล ดัชเชสแห่งมาร์ลบะระ · ซาราห์ เชอร์ชิล ดัชเชสแห่งมาร์ลบะระและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

จอห์น แวนบรูห์และประเทศอังกฤษ · ประเทศอังกฤษและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จอห์น แวนบรูห์และวังเบลนิม

จอห์น แวนบรูห์ มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ วังเบลนิม มี 119 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 5.07% = 7 / (19 + 119)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จอห์น แวนบรูห์และวังเบลนิม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »