โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จอห์น คริสซอสตอม

ดัชนี จอห์น คริสซอสตอม

นักบุญจอห์น คริสซอสตอม (Ἰωάννης ὁ Χρυσόστομος, John Chrysostom; ราว ค.ศ. 347 - 14 กันยายน ค.ศ. 407) เป็นอาร์ชบิชอปแห่งคอนสแตนติโนเปิลและเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรคนสำคัญ นักบุญจอห์น คริสซอสตอมมีชื่อเสียงว่าเป็นนักเทศน์และนักปาฐกถาผู้มีฝีปากดี ในการประกาศต่อต้านของการใช้อำนาจในทางที่ผิดของทั้งผู้นำทางการเมืองและทางศาสนา, "คริสต์ศาสนพิธีฉบับนักบุญจอห์น คริสซอสตอม" และ หลักการปฏิบัติทางศาสนา หลังจากการเสียชีวิตของแล้วนักบุญจอห์นก็ได้รับนามสกุลเป็นภาษากรีกว่า "Chrysostomos" ที่แปลว่า "วจนะน้ำผึ้ง" ที่แผลงมาเป็นภาษาอังกฤษว่า "Chrysostom" ชาวโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นคาทอลิกถือว่าจอห์น คริสซอสตอมเป็นนักบุญและเป็นหนึ่งในไฮเออราร์คผู้ศักดิ์สิทธิ์สามองค์ ร่วมกับ นักบุญเบซิลแห่งเซซาเรียและนักบุญเกรกอรีแห่งนาเซียนซัส นิกายออร์ทอดอกซ์และนิกายโรมันคาทอลิกถือว่าเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร ส่วนคอปติกออร์ทอดอกซ์ถือว่าเป็นนักบุญ.

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 890พ.ศ. 950พระวรสารพอนตัสการเคลื่อนย้ายเรลิกมรณสักขีในศาสนาคริสต์รูปเคารพสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลอัครมุขนายกอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์คอปติกออร์ทอดอกซ์คอนสแตนติโนเปิลนักปราชญ์แห่งคริสตจักรนิกายลูเทอแรนแองกลิคันแอนติออกโรมันคาทอลิกเซนต์14 กันยายน

พ.ศ. 890

ทธศักราช 890 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 347.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและพ.ศ. 890 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 950

ทธศักราช 950 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 407.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและพ.ศ. 950 · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พอนตัส

อนตัส (Pontus; Πόντος) เป็นอดีตภูมิภาคกรีกทางฝั่งทะเลตอนใต้ของทะเลดำที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศตุรกีปัจจุบัน.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและพอนตัส · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนย้ายเรลิก

ฟรซิงในเยอรมนี (ภาพเขียนในคริพท์ของมหาวิหารไฟรซิง) การเคลื่อนย้ายวัตถุมงคล (Translation of relics) ในคริสต์ศาสนา "การเคลื่อนย้ายวัตถุมงคล" คือการโยกย้ายสิ่งของศักสิทธิ์ (เช่นการโยกย้ายอัฐิ หรือ มงคลวัตถุที่เป็นของนักบุญ) จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งที่อาจจะเป็นคริสต์ศาสนสถานอื่น หรือ มหาวิหาร การโยกย้าย หรือ "Translation" ทำได้หลายวิธีที่รวมทั้งการทำสนธยารำลึกตลอดคืน หรือ การแบกมงคลวัตถุอันมีค่าในหีบที่ทำด้วยเงินหรือทอง ภายใต้กลดคล้ายไหม การเคลื่อนย้ายอันเป็นพิธีรีตอง (elevatio corporis) ของมงคลวัตถุถือกันว่าเป็นพิธีที่เป็นการแสดงความยกย่องในความศักดิ์สิทธิ์ของผู้ที่ถูกเคลื่อนย้าย ที่เท่าเทียมกับการรับการแต่งตั้งให้เป็นนักบุญในสถาบันออร์ธอด็อกซ์ พิธีเคลื่อนย้ายในนิกายโรมันคาทอลิกมีจุดประสงค์เดียวกันจนกระทั่งมามีพิธีประกาศการเป็นนักบุญกันขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นมาตรฐานและตามพระประสงค์ของพระสันตะปาปา วันเคลื่อนย้ายมงคลวัตถุของนักบุญเป็นวันที่จะฉลองแยกจากวันสมโภชน์ เช่นวันที่ 27 มกราคมเป็นวันฉลองการเคลื่อนย้ายมงคลวัตถุของนักบุญจอห์น คริสซอสตอมจากหมู่บ้านโคมานาในอาร์มีเนียที่ทรงเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและการเคลื่อนย้ายเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีในศาสนาคริสต์

การทรมานของนักบุญเอรัสมุส โดยเดียริค เบาท์ ราวปี ค.ศ. 1458 ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists).

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปเคารพ

“พระเยซู” โดยอันเดร รูเบลฟ (Andrei Rublev) ราวปี ค.ศ. 1410 รูปเคารพทำจากเซรามิคจากราวปีค.ศ. 900 จากเพรสลาฟ ประเทศบัลกาเรีย รูปเคารพ (ภาษาอังกฤษ: icon; ภาษากรีก: εἰκών, eikon) คือรูป, รูปเหมือน หรือสิ่งที่สร้างแทน ที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน “รูปเคารพ” โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยทั่วไปจะหมายถึงสัญลักษณ์เช่นชื่อ, หน้า, รูป หรือคนที่เป็นที่รู้จักที่มีชื่อเสียงที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้สิ่งของหรือรูปเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่มีความสำคัญเหนือกว่าไม่ว่าจะเป็นตามตัวอักษรหรือตามการตีความหมายมักจะใช้ในศาสนา, วัฒนธรรม, การเมือง, หรือทางเศรษฐกิจ ในประวัติศาสตร์ลัทธินิยมทางศาสนาหรือวัฒนธรรมทางศาสนารูปเคารพจะมีอิทธิพลมาจากรูปที่เป็นตัวเป็นตนไม่ว่าจะเป็นรูปสองหรือสามมิติ ความประสงค์ของรูปเคารพไม่ว่าจะเป็นเพื่อการสั่งสอนหรือเป็นแรงบันดาลใจ หรือวิธีใช้เช่นเพื่อการบูชาหรือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือความสำคัญของการใช้รูปเคารพก็ขึ้นอยู่กับสถาบันที่ใช้และสมัยของการใช้.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและรูปเคารพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

มเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (Benedictus XVI, Benedict XVI) พระสันตะปาปากิตติคุณ อดีตประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นชาวเยอรมัน มีพระนามเดิมว่า โยเซฟ รัทซิงเงอร์ (Joseph Ratzinger) เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927).

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ (Oriental Orthodoxy) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ตะวันออกที่ยอมรับมติสภาสังคายนาสากลเฉพาะ 3 ครั้ง ได้แก่ สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง สังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง และสังคายนาแห่งเอเฟซัส และไม่ยอมรับมติของสภาสังคายนาแห่งแคลซีดัน ดังนั้นกลุ่มคริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จึงมีอีกชื่อว่าคริสตจักรออเรียนทัลเก่า คริสตจักรไมอาฟิไซต์ หรือคริสตจักรนอน-แคลซีโดเนียน ฝ่ายคริสตจักรตะวันตกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรียกว่าคริสตจักรกลุ่มนี้ว่าพวก "เอกธรรมชาตินิยม" (Monophysitism) คริสตจักรในนิกายนี้ไม่ได้ร่วมสามัคคีธรรมกับคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์แต่อยู่ระหว่างการเสวนาเพื่อกลับไปรวมกันเป็นเอกภาพ คนมักเข้าใจสับสนระหว่าง ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ กับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เพราะคำว่า Oriental และ Eastern มีความหมายเหมือนกันว่า "ตะวันออก" แต่ในความจริงเป็นคนละกลุ่มกัน ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ คอปติกออร์ทอดอกซ์ เอธิโอเปียนออร์ทอดอกซ์ เอริเทรียนออร์ทอดอกซ์ ซีเรียกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียน ห้าคริสตจักรนี้แม้จะรวมอยู่ในคอมมิวเนียนเดียวกันแต่ก็มีระบบการปกครองแยกกันเป็นเอกเทศ คริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์แยกออกมาจากคริสตจักรอื่น ๆ เพราะมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการใช้ศัพท์บางคำอธิบายลักษณะของพระคริสต์ (เรียกว่าปัญหาทางศัพทวิทยาทางคริสตวิทยา) สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง มีมติว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้า กล่าวคือพระคริสต์ผู้เป็นพระบุตรมีสาระเดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา และสังคายนาแห่งเอเฟซัส มีมติว่าพระเยซูผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ทรงมีภาวะเดียว ต่อมาอีก 20 ปี สังคายนาแคลซีดันได้มีมติว่าพระเยซูทรงมีทั้งธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ในตัวบุคคลเดียว หลายคนไม่ยอมรับเพราะเห็นว่ามตินี้เป็นคำสอนนอกรีตแแบบเดียวกับลัทธิเนสทอเรียสซึ่งถูกประณามไปแล้วที่เอเฟซัสเพราะเห็นว่าพระคริสต์มีของสองภาวะแตกต่างกัน ภาวะหนึ่งคือพระเจ้า อีกภาวะคือมนุษ.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล

อัครมุขนายกแห่งคอนสแตนติโนเปิล (โรมใหม่) และอัครบิดรสากล (Archbishop of Constantinople New Rome and Ecumenical Patriarch) มักเรียกโดยย่อว่าอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Patriarch of Constantinople) เป็นตำแหน่งอัครบิดรที่สำคัญที่สุดตำแหน่งหนึ่งในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แม้แต่ละประเทศที่นับถือนิกายออร์ทอดอกซ์จะมีอัครบิดรเป็นประมุขของตน และอัครบิดรทุกองค์มีฐานะเสมอกัน แต่อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลอันดับหนึ่ง ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ปัจจุบันคือ อัครบิดรสากลบาร์โธโลมิวที่ 1 แห่งคอนสแตนติโนเปิล นับเป็นลำดับที่ 270 นอกจากคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แล้ว คริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียนและคริสตจักรโรมันคาทอลิกก็ตั้งตำแหน่งอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลของตนเช่นกัน โดยรัฐบาลตุรกีเรียกอัครบิดรฝ่ายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ว่าอัครบิดรกรีกแห่งคอนสแตนติโนเปิล ฝ่ายอัครทูตอาร์มีเนียนว่าอัครบิดรอาร์มีเนียนแห่งคอนสแตนติโนเปิล และฝ่ายโรมันคาทอลิกว่าอัครบิดรละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล แต่ตำแหน่งอัครบิดรละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิลถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต..

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอปติกออร์ทอดอกซ์

วิหารของศาสนาคริสต์คอปติกในอียิปต์ พระเยซูในศิลปะคอปติก คริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรีย (คอปติก: Ϯⲉⲕ̀ⲕⲗⲏⲥⲓⲁ ̀ⲛⲣⲉⲙ̀ⲛⲭⲏⲙⲓ ̀ⲛⲟⲣⲑⲟⲇⲟⲝⲟⲥ ti.eklyseya en.remenkimi en.orthodoxos ente alexandhrias; Coptic Orthodox Church of Alexandria) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอียิปต์และภูมิภาคตะวันออกกลาง เป็นส่วนหนึ่งของนิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ซึ่งแยกออกมาจากนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์หลังการสังคายนาแห่งแคลซีดันในปี..

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและคอปติกออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

นักปราชญ์แห่งคริสตจักร

นักบุญอีซีโดโรแห่งเซบียา กับหนังสือซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมกันในการแสดงรูปของนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักปราชญ์แห่งคริสตจักร (Doctor of the Church; Doctor Ecclesiae) (คำว่า “docere” หรือ “doctor” ในภาษาละตินหมายถึง “สอน”) เป็นตำแหน่งที่คริสตจักรแต่งตั้งให้ผู้ที่มีความสำคัญด้านคำสอนหรือเทววิทยาศาสนาคริสต์เป็นพิเศษ.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

แอนติออก

ที่ตั้งของ “แอนติออก” ในประเทศตุรกีปัจจุบัน แอนติออก (Ἀντιόχεια ἡ ἐπὶ Δάφνῃ, Ἀντιόχεια ἡ ἐπὶ Ὀρόντου หรือ Ἀντιόχεια ἡ Μεγάλη; Antiochia ad Orontem; Antioch หรือ Great Antioch หรือ Syrian Antioch) เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนฝั่ง แม่น้ำออรอนตีส ในประเทศตุรกีปัจจุบัน แอนติออกตั้งอยู่ใกล้กับเมืองใหม่อันทาเคีย แอนติออกก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชโดยเซลิวคัสที่ 1 นิคาเตอร์ขุนพลในพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แอนติออกเจริญขึ้นมาจนในที่สุดก็เป็นเมืองคู่แข่งของอะเล็กซานเดรีย และเป็นเมืองเอกของตะวันออกใกล้ และเป็นเมืองศูนย์กลางของประวัติศาสตร์ยุคแรกของคริสต์ศาสน.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและแอนติออก · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

14 กันยายน

วันที่ 14 กันยายน เป็นวันที่ 257 ของปี (วันที่ 258 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 108 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จอห์น คริสซอสตอมและ14 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ChrysostomJohn ChrysostomJohn ChrysostomosSaint John ChrysostomSt John ChrysostomSt. ChrysostomSt. John Chrysostomคริสซอสตอมนักบุญจอห์น คริสซอสตอมนักบุญคริสซอสตอม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »