เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จอภาพผลึกเหลวและหลอดรังสีแคโทด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จอภาพผลึกเหลวและหลอดรังสีแคโทด

จอภาพผลึกเหลว vs. หลอดรังสีแคโทด

อภาพผลึกเหลวแบบ Reflective twisted nematic ฟิล์มตัวกรองแนวตั้ง จะปรับโพลาไรซ์แสง เมื่อแสงผ่านเข้ามา ซับสเตรตแก้ว ที่มีขั้วอินเดียมทินออกไซด์ (Indium tin oxide: ITO) รูปของขั้วไฟฟ้าจะบอกรูปทรงมืดที่จะปรากฏ เมื่อเปิดหรือปิดจอผลึกเหลวนี้ ส่วนขอบแนวตั้งที่ตัดบนพื้นผิวจะเรียบ ผลึกเหลวแบบ Twisted nematic ซับสเตรตแก้วที่มีฟิล์มอิเล็กโตรดร่วมที่ใช้ ITO ซึ่งมีขอบแนวนอน จะเรียงตัวตามตัวกรองแนวนอน ฟิล์มตัวกรองแนวนอน จะกั้น/ยอมให้แสงผ่าน พื้นผิวสะท้อนแสง จะส่งแสงกลับไปยังผู้ชม พิกเซลย่อยของจอผลึกเหลวสี จอภาพผลึกเหลว (liquid crystal display: LCD) เป็นอุปกรณ์จอภาพแบบแบน บาง สร้างขึ้นจากพิกเซลสี หรือพิกเซลโมโนโครมจำนวนมาก ที่เรียงอยู่ด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง หรือตัวสะท้อนแสง นับเป็นจอภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีแหล่งจ่ายไฟเป็นแบตเตอรี่ แต่ละพิกเซลของจอผลึกเหลวนั้นประกอบด้วยชั้นโมโลกุลผลึกเหลวที่แขวนลอยอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าโปร่งแสงสองขั้ว ที่ทำด้วยวัสดุอินเดียมทินออกไซด์ (Indium tin oxide) และตัวกรอง หรือฟิลเตอร์แบบโพลาไรซ์สองตัว แกนโพลาไรซ์ของฟิลเตอร์นั้นจะตั้งฉากกัน เมื่อไม่มีผลึกเหลวอยู่ระหว่างกลาง แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่งก็จะถูกกั้นด้วยตัวกรองอีกตัวหนึ่ง ก่อนที่มีการจ่ายประจุไฟฟ้าเข้าไป โมเลกุลผลึกเหลวจะอยู่ในสภาวะไม่เป็นระบบ (chaotic state) ประจุบนโมเลกุลเหล่านี้ทำให้โมเลกุลทั้งหลายปรับเรียงตัวตามร่องขนาดเล็กจิ๋วบนขั้วอิเล็กโตรด ร่องบนขั้วทั้งสองวางตั้งฉากกัน ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เรียงตัวในลักษณะโครงสร้างแบบเกลียว หรือไขว้ (ผลึก) แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่ง จะถูกหมุนปรับทิศทางเมื่อมันผ่านทะลุผลึกเหลว ทำให้มันผ่านทะลุตัวกรองโพลาไรซ์ตัวที่สองได้ แสงครึ่งหนึ่งถูกดูดกลืนโดยตัวกรองโพลาไรซ์ตัวแรก แต่อีกครึ่งหนึ่งผ่านทะลุตัวกรองอีกตัว เมื่อประจุไฟฟ้าถูกจ่ายไฟยังขั้วไฟฟ้า โมเลกุลของผลึกเหลวก็ถูกถึงขนานกับสนามไฟฟ้า ทำให้ลดการหมุนของแสงที่ผ่านเข้าไป หากผลึกเหลวถูกหมุนปรับทิศทางโดยสมบูรณ์ แสงที่ผ่านทะลุก็จะถูกปรับโพลาไรซ์ให้ตั้งฉากกับตัวกรองตัวที่สอง ทำให้เกิดการปิดกั้นแสงโดยสมบูรณ์ พิกเซลนั้นก็จะมืด จากการควบคุมการหมุนของผลึกเหลวในแต่ละพิกเซล ทำให้แสงผ่านทะลุได้ในปริมาณต่างๆ กัน ทำให้พิกเซลมีความสว่างแตกต่างกันไป โดยปกติการปรับฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อพิกเซลโปร่งแสง เมื่อพักตัว และทึบแสงเมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็เกิดผลตรงกันข้าม สำหรับเอฟเฟกต์แบบพิเศษ. องค์ประกอบของหลอดภาพ CRT สี: '''1.''' Three Electron guns (for red, green, and blue phosphor dots) '''2.''' Electron beams '''3.''' Focusing coils '''4.''' Deflection coils '''5.''' Anode connection '''6.''' Mask for separating beams for red, green, and blue part of displayed image '''7.''' Phosphor layer with red, green, and blue zones '''8.''' Close-up of the phosphor-coated inner side of the screen หลอดรังสีแคโทด (cathode ray tube ชื่อย่อ CRT) เป็นหลอดไฟสุญญากาศที่ประกอบไปด้วย ปืนอิเล็กตรอนซึ่งอาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่งอัน และเครื่องฉายฟลูออเรสเซนท์ ลำแสงอิเล็กตรอนจะปล่อยจากโลหะที่ร้อน แล้วเร่งไปทางด้านที่มีประจุบวกในท่อ โดยหลอดรังสีแคโทดใช้เพื่อสร้างภาพในรูปของแสงที่ปล่อยออกมาจากเครื่องฉายฟลูออเรสเซนท์http://www.neutron.rmutphysics.com/chemistry-glossary/index.php?option.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จอภาพผลึกเหลวและหลอดรังสีแคโทด

จอภาพผลึกเหลวและหลอดรังสีแคโทด มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จอภาพผลึกเหลวและหลอดรังสีแคโทด

จอภาพผลึกเหลว มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ หลอดรังสีแคโทด มี 1 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (4 + 1)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จอภาพผลึกเหลวและหลอดรังสีแคโทด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: