เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จรมุขและจุดตัดกลางโบสถ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จรมุขและจุดตัดกลางโบสถ์

จรมุข vs. จุดตัดกลางโบสถ์

รมุข (Ambulatory) “Ambulatory” มาจากภาษาลาตินกลาง “Ambulatorium” ที่แปลว่าสถานที่สำหรับการเดิน จากคำว่า “ambulare” ที่แปลว่าเดิน คือบริเวณภายในสิ่งก่อสร้างที่คลุมด้วยหลังคาในระเบียงคด หรือบางครั้งก็หมายถึงทางเดินของขบวนนักแสวงบุญรอบมุขตะวันออกของคริสต์ศาสนสถานที่เป็นมหาวิหารหรือวัดขนาดใหญ่ที่อยู่หลังแท่นบูชาเอก บางครั้งรอบทางเดินครึ่งวงกลมก็อาจจมีมุขโค้งด้านสกัดก็อาจจะมีชาเปลย่อยที่กระจายออกไปจากมุข ซึ่งทำให้ผู้เดินรอบแท่นบูชาเดินได้โดยไม่ต้องรบกวนนักบวชหรือผู้เข้าร่วมพิธีที่ทำพิธีอยู่ในชาเปลย่อย จรมุขมักจะปรากฏในคริสต์ศาสนสถานขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่มีองควัตถุของนักบุญ เพื่อใช้เป็นที่สำหรับนักแสวงบุญจำนวนมากสามารถเดินเวียนมาสักการะวัตถุที่ต้องการได้. แผนผังคริสต์ศาสนสถานที่แสดง “จุดตัด” เป็นสีเทา จุดตัด (crossing) ในคริสต์ศาสนสถานคือจุดที่ช่องทางเดินกลางตัดกับแขนกางเขนของวัดที่มีผังเป็นรูปกางเขน ถ้าเป็นวัดตั้งตามหลักตะวันตก-ตะวันออกโดยเฉพาะวัดแบบโรมาเนสก์ และกอธิค) แล้ว “จุดตัด” ก็จะเป็นจุดที่เป็นทางไปสู่ช่องทางเดินกลางทางตะวันตก (ด้านหน้าวัด) มุขข้างโบสถ์เหนือและใต้ และบริเวณร้องเพลงสวดทางตะวันออก เหนือกางเขนบางครั้งก็จะมีหอหรือโดม หอจุดตัดเป็นสิ่งที่นิยมสร้างกันในสถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารของสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษ เมื่อมาถึงสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสิ่งตกแต่งเหนือจุดตัดก็มักจะนิยมสร้างเป็นโดม หอเหนือจุดตัดอาจจะเป็น “หอโคม” (lantern tower) ที่ยกสูงขึ้นไปและเปิดข้างเพื่อให้แสงส่องลงมายังบริเวณจุดตัด การที่จุดตัดเปิดออกไปทั้่งสี่ด้านทำให้น้ำหนักของหอหรือโดมเหนือจุดตัดหนักลงมาตรงมุมรอบหอหรือโดม ฉะนั้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงและสามารถรับน้ำหนักของหอได้โดยไม่พังทลายลงมาจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของสถาปนิก เรื่องหอพังทลายลงมาเกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะเกิดจากความทะเยอทะยานในการสร้างหอที่สูงใหญ่แต่หนักเกินกว่าที่โครงสร้างจะรับได้ หรือจากการทรุดของพื้นดินที่อยู่ภายใต้ตัวอาคาร หรือจากภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหวเป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จรมุขและจุดตัดกลางโบสถ์

จรมุขและจุดตัดกลางโบสถ์ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหาวิหารสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ผังอาสนวิหารโบสถ์คริสต์

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

จรมุขและมหาวิหาร · จุดตัดกลางโบสถ์และมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

จรมุขและสถาปัตยกรรมกอทิก · จุดตัดกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

จรมุขและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · จุดตัดกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

จรมุขและผังอาสนวิหาร · จุดตัดกลางโบสถ์และผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

จรมุขและโบสถ์คริสต์ · จุดตัดกลางโบสถ์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จรมุขและจุดตัดกลางโบสถ์

จรมุข มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ จุดตัดกลางโบสถ์ มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 18.52% = 5 / (10 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จรมุขและจุดตัดกลางโบสถ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: