โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จดีเมนยา

ดัชนี จดีเมนยา

ีเมนยา (Zhdi menya) เป็นภาพยนตร์แนวชีวิตและสงครามของสหภาพโซเวียต กำกับโดย Boris Ivanov และ Aleksandr Stolper นำแสดงโดย Boris Blinov, Valentina Serova และ Lev Sverdlinโดยภาพยนตร์ถ่ายทำที่นครอัลมา-อะตา คาซัคโซเวียต เนื่องจากสตูดิโอภาพยนตร์มอสฟีล์มได้ย้ายสตูดิโอไปยังอัลมา-อะตาเพราะสงครามโลกครั้งที่สอง.

5 ความสัมพันธ์: ภาษารัสเซียมอสฟิล์มสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคสงครามโลกครั้งที่สองอัลมาตี

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: จดีเมนยาและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

มอสฟิล์ม

มอสฟิล์ม (Мосфильм, Mosfil’m) เป็นค่ายภาพยนตร์ที่เก่าแก่ของรัสเซียและยุโรป ผลงานของค่ายภาพยนตร์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุคโซเวียตตั้งแต่ผลงานของผู้กำกับอย่างเซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์ และ อันเดรย์ ตาร์คอฟสกี (เป็นที่รู้จักในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์โซเวียตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด), ภาพยนตร์แนวแดงตะวันตก (Red Westerns), ภาพยนตร์ร่วมมือกัน เดียร์ซูอูซาลา ของอะกิระ คุโรซาวะ และภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ วอยนาอีมีร.

ใหม่!!: จดีเมนยาและมอสฟิล์ม · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (คาซัคҚазақ Кеңестік Социалистік Республикасы, Qazaq Keñestik Socïalïstik Respwblïkası;รัสเซีย (Казахская Советская Социалистическая Республика - КССР, Kazakhskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika - KSSR) เป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของ สหภาพโซเวียต ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1920 เริ่มแรกถูกเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองคีร์กีซ (Kirghiz ASSR) และเป็นส่วนหนึ่งของ สหภาพโซเวียต ต่อมาวันที่ 15-19 เมษายน ปีค.ศ. 1925 ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองโซเวียตคาซัค และในวันที่ 5 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1936 ถูกยกระดับให้กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (Kazakh SSR) ในช่วงระหว่าง ปี ค.ศ. 1950 – 1960 พลเมืองโซเวียตถูกกระตุ้นให้ตั้งถิ่นฐานยังโครงการดินแดนบริสุทธิ์ฮรุชชอฟของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค การไหลหลั่งเข้ามาของผู้อพยพย้ายถิ่นเช่น รัสเซีย (อพยพเข้ามาเป็นส่วนใหญ่) ยูเครน เยอรมัน ยิว เบลารุส เกาหลี ทำให้เกิดการผสมผสานในหลายเชื้อชาติจนมีจำนวนของชาวต่างชาติมากกว่าชาวพื้นเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้มีการใช้ภาษาคาซัคน้อยลงแต่ก็ถูกนำกลับมาใช้อีกตั้งแต่ถูกแยกตัวออกมาเป็นอิสระ วันที่ 10 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1991 Kazakh SSR ถูกเรียกใหม่ว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Republic of Kazakhstan) และแยกตัวเป็นอิสระจาก สหภาพโซเวียต ในวันที่ 16 ธันวาคม ปีเดียวกัน ซึ่งคาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐสุดท้ายที่แยกตัวออกมาก่อนที่จะเกิดการล่มสลายของ สหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: จดีเมนยาและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: จดีเมนยาและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อัลมาตี

อัลมาตี (คาซัค: Алматы) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคาซัคสถาน มีประชากร 1,226,000 คน ซึ่งคิดเป็น 8% ของประชากรในประเทศคาซัตสถาน และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ เมืองอัลมาตีเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศคาซัคสถานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 ถึง พ.ศ. 2541.

ใหม่!!: จดีเมนยาและอัลมาตี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จีดเมนยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »