โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จดหมายเหตุและโบราณคดี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จดหมายเหตุและโบราณคดี

จดหมายเหตุ vs. โบราณคดี

หอจดหมายเหตุ (archive) หมายถึงบันทึก หรือรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยผู้บันทึกอาจเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลทั่วไปก็ได้ เพื่อบันทึกไว้สำหรับใช้อ้างอิงในอนาคต ตั้งแต่ครั้งอดีต พระมหากษัตริย์ไทย โปรดเกล้าฯให้มีธรรมเนียมการจดบันทึกเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยผู้มีหน้าที่จดบันทึกดังกล่าวเรียกว่าอาลักษณ์ จดหมายเหตุนี้จะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในหอจดหมายเหตุหรือหอหลวง เพื่อให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อคนรุ่นหลัง จดหมายเหตุในราชวงศ์นี้ บางทีก็เรียกพระราชพงศาวดาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่า และพระราชพงศาวดารเหนือในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จดหมายเหตุที่บันทึกโดยบุคคลในอดีตก็มีความสำคัญไม่น้อย มีทั้งการบันทึกเหตุการณ์ทั่วไป การบันทึกเรื่องราวของตนเองอย่างลักษณะไดอารี่ ฯลฯ บางฉบับมีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมาก เช่น จดหมายเหตุบางกอก (อังกฤษ: Bangkok Recorder) ของหมอบรัดเลย์ จดหมายเหตุลาลูแบร์ (ฝรั่งเศส: Du Royaume de Siam) เขียนโดยมองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.116 ของพระยาศรีสหเทพ (เส็ง) จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี จดหมายเหตุจีนว่าด้วยกรุงสยาม เป็นต้น จดหมายเหตุในอดีตพบว่ามีการบันทึก โดยการเขียน การพิมพ์ ลงบนวัสดุต่างๆตามยุคสมัย เช่น แผ่นหิน ใบลาน กระดาษ เป็นต้น. การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จดหมายเหตุและโบราณคดี

จดหมายเหตุและโบราณคดี มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พงศาวดาร

พงศาวดาร

งศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับเถื่อน ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น.

จดหมายเหตุและพงศาวดาร · พงศาวดารและโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จดหมายเหตุและโบราณคดี

จดหมายเหตุ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ โบราณคดี มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.33% = 1 / (20 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จดหมายเหตุและโบราณคดี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »