ความคล้ายคลึงกันระหว่าง งูหัวจิ้งจกและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู
งูหัวจิ้งจกและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์ย่อยงูเขียววงศ์งูพิษเขี้ยวหลังสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์อันดับกิ้งก่าและงูคาโรลัส ลินเนียสงูงูเขียวหัวจิ้งจกงูเขียวปากแหนบ
วงศ์ย่อยงูเขียว
ำหรับงูเขียวจำพวกอื่น ดูที่: งูเขียวหางไหม้ วงศ์ย่อยงูเขียว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Colubrinae) เป็นวงศ์ย่อยของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) ซึ่งนับเป็นวงศ์ใหญ่ที่มีจำนวนของงูในโลกนี้ประมาณร้อยละ 70 โดยในวงศ์ย่อยงูเขียวนี้ ก็ถือเป็นวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลังอีกเช่นกัน มีความหลากหลายและความต้องการทางนิเวศวิทยาและพฤติกรรมหลากหลายที่สุด อีกทั้งไม่มีลักษณะจำเฉพาะที่จะใช้ระบุได้ โดยมีสกุลประมาณ 100 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 650 ชนิด แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะบางเกาะในมหาสมุทรเท่านั้นที่ไม่มีงูในวงศ์ย่อยนี้ โดยชนิดที่ตัวเล็กที่สุด คือ Tantilla reticta ที่มีความยาวลำตัวประมาณ 16-19 เซนติเมตร และใหญ่ที่สุดคือ Ptyas carinatus ที่มีความยาว 3.7 เมตร ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีน้อยมากที่ออกลูกเป็นตัว มีหลายชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเนื่องจากมีสีสันที่สวยงามและอุปนิสัยไม่ดุร้าย รวมทั้งมีพิษอ่อนหรือไม่มีพิษเลย อาทิ งูคิงเสน็ก (Lampropeltis spp.) หรืองูคอนสเน็ก (Pantherophis guttatus) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง เป็นต้น ส่วนในประเทศไทย งูในวงศ์ย่อยนี้ โดยมากจะถูกเรียกชื่อสามัญว่างูเขียว (ยกเว้น งูเขียวหางไหม้ ซึ่งอยู่ในวงศ์ Viperidae) มีอยู่ประมาณ 74 ชนิด อาทิ งูเขียวปากแหนบ (Ahaetulla nasuta), งูเขียวปากจิ้งจก (A. prasina), งูเขียวปากจิ้งจกมลายู (A. mycterizans), งูเขียวดอกหมาก (Chrysopelea ornata), งูแม่ตะงาว (Boiga multimaculata), งูปล้องทอง (B. dendrophila), งูพงอ้อท้องเหลือง (Calamaria pavimentata) เป็นต้น.
งูหัวจิ้งจกและวงศ์ย่อยงูเขียว · งูเขียวหัวจิ้งจกมลายูและวงศ์ย่อยงูเขียว ·
วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubrid, Typical snake) เป็นวงศ์ของงูมีพิษวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colubridae นับเป็นวงศ์ของงูที่มีปริมาณสมาชิกในวงศ์มากที่สุด ด้วยมีมากมายถึงเกือบ 300 สกุล และมีทั้งหมดในปัจจุบัน (ค.ศ. 2014) 1,938 ชนิด และจำแนกออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 12 วงศ์ (ดูในตาราง) โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Colubridae รูปร่างโดยรวมของงูในวงศ์นี้คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟันชนิดที่ต่างกันไป แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ aplyph, opisthoglyph, proteroglyph ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปิดข้างซ้ายหรือมีแต่ก็น้อยมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน โดยรวมแล้วพิษของงูในวงศ์นี้เมื่อเทียบกับงูพิษวงศ์อื่นแล้ว เช่น วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) หรือวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) นับว่ามีพิษร้ายแรงน้อยกว่ามาก หรือบางชนิดก็ไม่มีพิษเลย คำว่า "Colubridae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษาละตินว่า "coluber" แปลว่า "งู".
งูหัวจิ้งจกและวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง · งูเขียวหัวจิ้งจกมลายูและวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง ·
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
งูหัวจิ้งจกและสัตว์ · งูเขียวหัวจิ้งจกมลายูและสัตว์ ·
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
งูหัวจิ้งจกและสัตว์มีแกนสันหลัง · งูเขียวหัวจิ้งจกมลายูและสัตว์มีแกนสันหลัง ·
สัตว์เลื้อยคลาน
ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.
งูหัวจิ้งจกและสัตว์เลื้อยคลาน · งูเขียวหัวจิ้งจกมลายูและสัตว์เลื้อยคลาน ·
สปีชีส์
ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).
งูหัวจิ้งจกและสปีชีส์ · งูเขียวหัวจิ้งจกมลายูและสปีชีส์ ·
อันดับกิ้งก่าและงู
อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.
งูหัวจิ้งจกและอันดับกิ้งก่าและงู · งูเขียวหัวจิ้งจกมลายูและอันดับกิ้งก่าและงู ·
คาโรลัส ลินเนียส
รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.
คาโรลัส ลินเนียสและงูหัวจิ้งจก · คาโรลัส ลินเนียสและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู ·
งู
งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.
งูและงูหัวจิ้งจก · งูและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู ·
งูเขียวหัวจิ้งจก
งูเขียวหัวจิ้งจก หรือ งูเขียวปากจิ้งจก (Oriental whipsnake) เป็นงูที่มีพิษอ่อนมากชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ahaetulla prasina ในวงศ์ Colubridae มีลักษณะลำตัวเรียวยาว หัวหลิม ปลายปากแหลม ขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 2 เมตร พื้นลำตัวโดยมากเป็นสีเขียว มักจะมีเส้นสีขาวข้างลำตัวบริเวณแนวต่อระหว่างเกล็ดตัวกับเกล็ดท้อง เส้นขาวยาวตั้งแต่บริเวณคอ จนถึงโคนหาง ท้องขาว ส่วนหางตั้งแต่โคนหางถึงปลายหางจะมีสีน้ำตาลหรือสีชมพู ตามีขนาดใหญ่ ม่านตาอยู่ในแนวนอน อาศัยอยู่ตามต้นไม้ พบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ในป่าทุกประเภท แม้กระทั่งสวนสาธารณะหรือสวนในบริเวณบ้านเรือนของผู้คนที่อยู่ในเมือง มีพิษอ่อนมาก โดยพิษจะสามารถทำอันตรายได้เฉพาะสัตว์เล็กที่เป็นอาหาร เช่น จิ้งจก, กิ้งก่า, นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เป็นต้น ขณะที่ลูกงูจะกินแมลงเป็นอาหาร โดยเป็นงูที่ออกลูกเป็นตัว ระยะเวลาการตั้งท้อง 4 เดือน ออกลูกได้ครั้งละ 6-10 ตัว การผสมพันธุ์จะเริ่มขึ้นในช่วงต้นฤดูฝน งูเขียวหัวจิ้งจก มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับงูอีก 2 ชนิด ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน คือ งูเขียวปากแหนบ (A. nasuta) และงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู (A. mycterizans) โดยงูทั้ง 3 ชนิด นี้ จะมีความหลากหลายทางสีสันมาก โดยจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายออกไป ทั้งสีเขียว, สีส้ม, สีเหลือง, สีน้ำตาล, สีเทา, สีฟ้า หรือ สีเหล่านี้ผสมกัน เป็นต้น โดยงูที่มีโทนสีส้ม จะถูกเรียกว่า "กล่อมนางนอน" ขณะที่งูที่มีโทนสีเทาจะถูกเรียกว่า "ง่วงกลางดง" ซึ่งชาวบ้านโดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง แต่หาใช่เป็นความจริงไม่ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งมีราคาซื้อขายที่ไม่แพง.
งูหัวจิ้งจกและงูเขียวหัวจิ้งจก · งูเขียวหัวจิ้งจกและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู ·
งูเขียวปากแหนบ
งูเขียวปากแหนบ (Long-nosed whip snake, Green vine snake) เป็นงูพิษอ่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ahaetulla nasuta ในวงศ์ Colubridae เป็นงูที่มีลักษณะคล้ายกับงูเขียวปากจิ้งจก (A. prasina) มาก โดยลำตัวเรียวยาวมีพื้นลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีเขียว ตามีขนาดใหญ่ ม่านตาอยู่ในแนวนอน หางมีสีเขียวกับลำตัว แต่มีคความแตกต่างคือ งูเขียวปากแหนบจะมีจะงอยปากที่เรียวเล็กและแหลมกว่างูเขียวปากจิ้งจก และมีติ่งแหลมยื่นที่ปลายหัว ใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ กินอาหารสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก กบ เขียด นก และหนูเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยพบทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้ พบในป่าทุกประเภท รวมถึงสวนสาธารณะหรือสวนในบ้านเรือนผู้คนทั่วไปในเมืองใหญ่ด้วย นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน เช่นเดียวกับงูเขียวปากจิ้งจก โดยมีราคาซื้อขายที่ไม่แพง.
งูหัวจิ้งจกและงูเขียวปากแหนบ · งูเขียวปากแหนบและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ งูหัวจิ้งจกและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง งูหัวจิ้งจกและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู
การเปรียบเทียบระหว่าง งูหัวจิ้งจกและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู
งูหัวจิ้งจก มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ งูเขียวหัวจิ้งจกมลายู มี 36 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 19.64% = 11 / (20 + 36)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง งูหัวจิ้งจกและงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: