โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ค่าคงที่จักรวาลและมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ค่าคงที่จักรวาลและมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์

ค่าคงที่จักรวาล vs. มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา ค่าคงที่จักรวาล (Cosmological constant; มักเขียนย่อด้วยอักษรกรีกตัวใหญ่ แลมบ์ดา: Λ) คือค่าคงที่ที่นำเสนอโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เพื่อปรับปรุงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเองให้สามารถได้ผลสอดคล้องกับแบบจำลองเอกภพสถิตที่ไอน์สไตน์เชื่อ ในภายหลังไอน์สไตน์ก็ละทิ้งแนวคิดนี้ไปหลังจากมีผลสังเกตการณ์การเคลื่อนไปทางแดง ของ เอ็ดวิน ฮับเบิล ซึ่งบ่งชี้ว่าเอกภพไม่ได้มีสภาวะสถิตหรือหยุดนิ่งกับที่ แต่เอกภพกำลังขยายตัว อย่างไรก็ดี การค้นพบ ความเร่งของจักรวาล (cosmic acceleration) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้รื้อฟื้นความสนใจเกี่ยวกับค่าคงที่จักรวาลขึ้นมาใหม. มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ (Friedmann–Lemaître–Robertson–Walker; FLRW) คือผลลัพธ์จากการคำนวณสมการสนามในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ซึ่งอธิบายถึงการเชื่อมโยงแบบเรียบง่าย ความกลมกลืน และความสมมาตรในทุกทิศทางของเอกภพที่กำลังขยายตัวหรือกำลังหดตัว ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์สี่คนคือ อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน, จอร์จ เลอแมตร์, โฮวาร์ด เพอร์ซี โรเบิร์ตสัน และ อาเทอร์ เจฟฟรีย์ วอล์กเกอร์ ในบางครั้งก็มีการเรียกชื่อแบบสับเซ็ตต่างๆ เช่น ฟรีดแมน-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ (FRW) หรือ โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ (RW) หรือ ฟรีดแมน-เลอแมตร์ (FL) แบบจำลองนี้ในบางครั้งเรียกกันว่า แบบจำลองมาตรฐาน (Standard Model) ในการศึกษาจักรวาลวิทยาสมัยใหม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ค่าคงที่จักรวาลและมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์

ค่าคงที่จักรวาลและมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จักรวาลวิทยาทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ค่าคงที่จักรวาลและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยา

ักรวาลวิทยา (cosmology) เป็นการศึกษาเอกภพโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นฐานที่สุดในเวลาเดียวกัน จักรวาลวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพ พร้อมกับพยายามที่จะอธิบายความเป็นมาของเอกภพในอดีต และทำนายความเป็นไปของเอกภพในอนาคต เอกภพเป็นอย่างไร เอกภพมีขอบเขตจำกัดหรือไม่ เอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเอกภพจึงมีรูปร่างลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าเอกภพจะเป็นอย่างไร ปัญหาเหล่านี้คือสิ่งที่นักจักรวาลวิทยาทั้งหลายสนใจ จักรวาลวิทยาในความหมายที่กว้างที่สุด จะหมายถึงการทำความเข้าใจเอกภพโดยอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หรือศิลปะ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน จักรวาลวิทยาจะหมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นสองเครื่องมือสำคัญในการใช้ศึกษาเอกภพ เป็นที่ยอมรับกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ยิ่งเรามีความรู้ทางด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะยิ่งมีความเข้าใจในเอกภพมากขึ้นเท่านั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลก คือ เทพเจ้าชื่อเก็บ ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือ นัท ต่อมาเมื่อชาวกรีกโบราณศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า (หลักการของออคแคม) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะในศตวรรษนี้มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัว หรือการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.

ค่าคงที่จักรวาลและจักรวาลวิทยา · จักรวาลวิทยาและมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

การทดสอบสัมพัทธภาพทั่วไปความเที่ยงสูงโดยยานอวกาศแคสซินี สัญญาณวิทยุที่ส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกหน่วงโดยการบิดของปริภูมิ-เวลา (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ สัมพัทธภาพทั่วไปหรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity หรือ general theory of relativity) เป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงแบบเรขาคณิตซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จัดพิมพ์ใน..

ค่าคงที่จักรวาลและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปและมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ค่าคงที่จักรวาลและมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์

ค่าคงที่จักรวาล มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 18.75% = 3 / (10 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าคงที่จักรวาลและมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »