โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คโลนะเซแพมและลอราเซแพม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คโลนะเซแพมและลอราเซแพม

คโลนะเซแพม vs. ลอราเซแพม

ลนะเซแพม (Clonazepam) เป็นยากันชักและรักษาโรคตื่นตระหนก และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า อาการนั่งไม่ติดที่ (akathisia) เป็นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน --> ใช้โดยการรับประทาน มีผลภายในหนึ่ง ชม. ลอราเซแพม (Lorazepam) หรือชื่อทางการค้าคือ อะทีแวน (Ativan) เป็นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ใช้เพื่อรักษาโรควิตกกังวล, การนอนไม่หลับ ตลอดจนกลุ่มอาการชักอย่าง ภาวะชักต่อเนื่อง, โรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา และอาการคลื่นไส้-อาเจียนจากการให้เคมีบำบัด ยาลอราเซแพมอาจถูกใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะเสียความจำ และใช้เป็นยานอนหลับสำหรับผู้ป่วยที่เครื่องช่วยหายใจ อาจมีการยานี้เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมใช้ยามิดาโซแลมมากกว่า นอกจากนี้ อาจมีการใช้ลอราเซแพมเป็นยาควบคู่ในการรักษากลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจากการเสพโคเคน สามารถรับยานี้ได้โดยวิธีรับประทาน, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดหนึ่งครั้งสามารถออกฤทธิได้ทั้งวัน ผู้รับยาโดยวิธีฉีดควรอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้แก่อาการอ่อนแรง, ง่วงนอน, ความดันเลือดต่ำ และลดอัตราการหายใจ การใช้ยาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจเพิ่มความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย การใช้ยาในระยะยาวอาจก่อให้เกิดการเสพติด การหยุดการใช้ยาอย่างกะทันหันในผู้ที่ใช้ยาระยะยาวอาจก่อให้เกิดอาการกระวนกระวาย, สั่นเพ้อ, สับสน, อาเจียน อาการข้างเคียงที่แสดงในผู้สูงอายุมักแย่กว่าที่แสดงในคนหนุ่ม นอกจากนี้ การใช้ลอราเซแพมยังอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุล้มจนกระดูกสะโพกหัก ด้วยเหตุเหล่านี้ แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยานี้เป็นเวลาราว 2 สัปดาห์ และเต็มที่ไม่เกิน 4 สัปดาห์ ลอราเซแพมได้รับการจดสิทธิบัตรใน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คโลนะเซแพมและลอราเซแพม

คโลนะเซแพมและลอราเซแพม มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การชักการนอนไม่หลับภาวะชักต่อเนื่องภาวะเสียความจำตับโรควิตกกังวลไตเบ็นโซไดอาเซพีน

การชัก

ัก (seizure) มีนิยามทางการแพทย์หมายถึงภาวะซึ่งมีภาวะกระตุ้นของเซลล์ประสาทในสมองอย่างมากผิดปกติ (abnormal excessive or synchronous neuronal activity in the brain) ซึ่งอาจแสดงอาการให้เห็นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นการชักเกร็งกระตุกอย่างรุนแรง ไปจนถึงเพียงเหม่อลอยชั่วขณ.

การชักและคโลนะเซแพม · การชักและลอราเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

การนอนไม่หลับและคโลนะเซแพม · การนอนไม่หลับและลอราเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะชักต่อเนื่อง

ภาวะชักต่อเนื่องหรือโรคลมชักชนิดต่อเนื่องคือภาวะที่เกิดอาการชักติดต่อกันนานเกิน 30 นาที หรือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการชักสั้นๆ แต่หลายครั้ง ติดต่อกันนานเกิน 30 นาที โดยระหว่างการชักแต่ละครั้งผู้ป่วยไม่ได้ฟื้นคืนสติเป็นปกติ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคลมชัก หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์.

คโลนะเซแพมและภาวะชักต่อเนื่อง · ภาวะชักต่อเนื่องและลอราเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียความจำ

วะเสียความจำ (amnesia) เป็นการขาดความจำที่เกิดจากความเสียหายต่อสมอง โรคหรือการบาดเจ็บทางใจGazzaniga, M., Ivry, R., & Mangun, G. (2009) Cognitive Neuroscience: The biology of the mind.

คโลนะเซแพมและภาวะเสียความจำ · ภาวะเสียความจำและลอราเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

คโลนะเซแพมและตับ · ตับและลอราเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

คโลนะเซแพมและโรควิตกกังวล · ลอราเซแพมและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

คโลนะเซแพมและไต · ลอราเซแพมและไต · ดูเพิ่มเติม »

เบ็นโซไดอาเซพีน

รงสร้างทางเคมีของเบ็นโซไดอาเซพีน เบ็นโซไดอาเซพีน (Benzodiazepine) หรือเรียกสั้นๆว่า "เบ็นโซส" เป็นกลุ่มยาในหมวดสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เกิดขึ้นจากการทำพันธะโครงสร้างทางเคมีระหว่างเบนซีนกับไดอาเซพีน ทั้งนี้ในปี..

คโลนะเซแพมและเบ็นโซไดอาเซพีน · ลอราเซแพมและเบ็นโซไดอาเซพีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คโลนะเซแพมและลอราเซแพม

คโลนะเซแพม มี 99 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลอราเซแพม มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 7.14% = 8 / (99 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คโลนะเซแพมและลอราเซแพม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »