โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอน

ดัชนี คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอน

ู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอน (Βασιλικὸν Δῶρον, Basilikon Doron) เป็นศาสตรนิพนธ์เกี่ยวกับการปกครองราชอาณาจักรที่เขียนโดยสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1599 “Βασιλικὸν Δῶρον” เป็นภาษากรีกที่แปลว่า “สิ่งที่พระราชทาน” ลักษณะการเขียนเป็นแบบจดหมายส่วนตัวและจดหมายลับถึงพระราชโอรสองค์โตเฮนรี เฟรเดอริค เจ้าชายแห่งเวลส์ ผู้มีพระชนมพรรษาสี่พรรษา หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเฮนรี เฟรเดอริคในปี..

18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2142พ.ศ. 2146พระเจ้าพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพันธสัญญาใหม่พันธสัญญาเดิมพิวริตันลอนดอนศาสตรนิพนธ์ศาสนาคริสต์ข้าราชสำนักคัมภีร์นอกสารบบคัมภีร์ไบเบิลประวัติศาสตร์อังกฤษเอดินบะระเฮนรี เฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์เทวสิทธิราชย์

พ.ศ. 2142

ทธศักราช 2142 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและพ.ศ. 2142 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2146

ทธศักราช 2146 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและพ.ศ. 2146 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ (19 มิถุนายน พ.ศ. 2109 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2168) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม..

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและพันธสัญญาใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาเดิม

ันธสัญญาเดิม (Old Testament) เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและพันธสัญญาเดิม · ดูเพิ่มเติม »

พิวริตัน

อห์น เฮาว์ (John Howe) และ ริชาร์ด แบ็กซ์เตอร์ (Richard Baxter) พิวริตัน (Puritan) จาก คริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนที่สนับสนุนความเชื่อทางปรัชญาและการกระทำพิธีทางศาสนาที่ “บริสุทธิ์” (“Purity”) กว่า และความเคร่งครัดส่วนบุคคล กลุ่มพิวริตันเชื่อว่าการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ (English Reformation) ยังไม่เพียงพอและคริสตจักรแห่งอังกฤษยังทำพิธีศาสนาที่ไม่ต่างไปจากพิธีศาสนาของศาสนจักรโรมันคาทอลิกเท่าใดนัก คำว่า “พิวริตัน” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่า “คาร์ธาร์” ที่ใช้เรียกผู้ที่มีหัวรุนแรงที่เป็นผู้นับถือลัทธิคาร์ธาริสม์ (Catharism) ในฝรั่งเศส บางครั้งกลุ่มเพียวริตันก็ร่วมมือกับคณะเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ในการตั้งข้อเสนอเพื่อที่จะทำให้นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ใกล้กับคริสตจักรปฏิรูป (Reformed Churches) บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปมากขึ้น.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและพิวริตัน · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสตรนิพนธ์

ตรนิพนธ์ (Treatise) หมายถึงสัมพันธสาร (discourse) ว่าด้วยเรื่องต่างๆ ที่เขียนขึ้นอย่างเป็นระบบ ปกติจะมีความยาวค่อนข้างมาก.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและศาสตรนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าราชสำนัก

มาดาม เดอ ปองปาดูร์ข้าราชสำนักในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสผู้ต่อมาได้เป็นพระสนม ข้าราชสำนัก หรือ ข้าประจำสำนัก (Courtier) คือบุคคลที่รับราชการหรือมีหน้าที่ในราชสำนัก หรือ ในสำนักของขุนนาง หรือ สำนักของผู้มีอำนาจ ในประวัติศาสตร์ราชสำนักคือศูนย์กลางของรัฐบาลและสังคมและที่ประทับของพระมหากษัติรย์หรือที่พำนักของผู้มีอำนาจ ชีวิตทางด้านการเมืองและการสังคมจะมารวมอยู่ในที่เดียวกัน พระมหากษัตริย์หรือผู้มีอำนาจก็จะต้องให้ผู้ใกล้ชิดหรือขุนนางข้าราชการคนสำคัญๆ มาเฝ้าแหนหรือมาทำงานเป็นระยะเวลาหลายเดือนต่อปีภายในสำนัก ข้าราชสำนักไม่จำเป็นต้องเป็นขุนนาง แต่อาจจะเป็นนักบวช, ทหาร, เลขาธิการ หรือผู้แทนทางเศรษฐกิจหรือกิจการในสาขาและระดับต่างๆ การได้เลื่อนฐานะอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นราชสำนัก/สำนักจึงเป็นสถานที่ที่ผู้มีความทะเยอทยานต่างก็พยายามเข้ามาปรากฏตัวเพื่อให้เป็นที่ใกล้ชิดบุคคลสำคัญ สิ่งที่สำคัญในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองภายในราชสำนัก/สำนักคือการเข้าถึงตัวผู้มีอำนาจ และ “ข้อมูล” ชีวิตภายในราชสำนัก/สำนักแบ่งเป็นหลายฝักหลายฝ่ายและหลายระดับ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอาจจะไม่ต้องมีการติดต่อโดยตรงกับประมุขของสำนักเลยก็ได้ สตรีที่มีหน้าที่ในราชสำนักเรียกว่า “สตรีในราชสำนัก” (Courtesan) แต่ในปัจจุบันคำนี้แผลงไปใช้ในทางสตรีที่ใช้ความงามในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองที่อาจจะเรียกว่า “สตรีงามเมือง” ราชสำนักของยุโรปที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ได้แก่ราชสำนักแวร์ซายส์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แต่ราชสำนักที่ใหญ่ที่สุดคือพระราชวังต้องห้ามแห่งกรุงปักกิ่งที่ยิ่งแยกจากสังคมภายนอกมากไปกว่าราชสำนักแวร์ซายส์ นอกจากราชสำนักหลักของราชอาณาจักรแล้ว ขุนนางหรือนักบวชในบางราชอาณาจักรในยุโรปก็อาจจะมีอำนาจที่เป็นอิสระจากพระมหากษัตริย์มากบ้างน้อยบ้าง ที่บางครั้งก็อาจจะมีสำนักของตนเองที่มีอำนาจอิสระจะอำนาจกลางของราชอาณาจักร ซึ่งทำให้ระบบราชสำนักของยุโรปออกจะเป็นระบบที่ซับซ้อนอยู่บ้าง ในปัจจุบันคำว่า “Courtier” มักจะใช้เป็นคำอุปลักษณ์สำหรับผู้เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้นำ หรือ ผู้ติดสอยห้อยตามผู้นำอย่างแยกไม่ได้.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและข้าราชสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์นอกสารบบ

ัมภีร์นอกสารบบ (Apocrypha; ἀπόκρυφα สิ่งที่ซ่อนเร้น, ยากที่จะเข้าใจ, หลอกลวง, จากแหล่งข้อมูลที่ไม่อาจยืนยันได้) ในทางศาสนาคริสต์ หมายถึง หนังสือเกี่ยวกับประวัติชีวิตของพระเยซู แต่ไม่ได้บรรจุในสารบบคัมภีร์ไบเบิล และไม่ได้รับการยอมรับจากคริสตจักรส่วนใหญ่ คัมภีร์ดังกล่าวมักเขียนไม่สอดคล้องกับหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์กระแสหลัก โดยทั่วไปแล้วจะเป็นคำที่ใช้กับวรรณกรรมทางศาสนาคริสต์ที่ถือว่ามีประโยชน์แต่อาจจะไม่มีคุณสมบัติที่เรียกว่าการดลใจจากพระเจ้า ฉะนั้นการที่จะกล่าวว่าพระวรสารชาวฮีบรูหรืองานเขียนเชิงอไญยนิยมเป็นงาน “คัมภีร์นอกสารบบ” จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวรรณกรรมเหล่านี้จะไม่จัดอยู่ในกลุ่มคัมภีร์นอกสารบบโดยคริสตชนนิกายออร์ทอดอกซ์ งานวรรณกรรมที่ไม่ใช่พระวรสารคืองานวรรณกรรมที่ความเที่ยงแท้ของเนื้อหาเป็นที่น่ากังขาหรือการเขียนที่เป็นยังคงเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เมื่อพิจารณาถึงความเชื่อของลัทธิหรือแนวต่างๆ ในการระบุว่าวรรณกรรมฉบับใดเป็นของแท้แล้ว ก็จะสรุปได้ว่างานเขียนหลายฉบับก็จะถือว่าเป็น “คัมภีร์นอกสารบบ” นิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ใช้คัมภีร์พันธสัญญาเดิมตามสารบบเซปตัวจินต์ จึงยอมรับ "คัมภีร์อธิกธรรม" เป็นคัมภีร์สารบบที่สองในพันธสัญญาเดิมด้วย แต่นิกายโปรเตสแตนต์ใช้สารบบคัมภีร์ตามสภาแจมเนียซึ่งไม่ยอมรับคัมภีร์ชุดดังกล่าว จึงถือว่าคัมภีร์อธิกธรรมเป็นคัมภีร์นอกสาร.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและคัมภีร์นอกสารบบ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อังกฤษ

อังกฤษ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสำริด เช่น สโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี..

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เอดินบะระ

อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี เฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์

นรี เฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ (Henry Frederick, Prince of Wales; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1594 - 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1612) เฮนรี เฟรเดอริกเป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและแอนน์แห่งเดนมาร์ก เฮนรี เฟรเดอริกเป็นผู้ที่เห็นกันว่าทรงเป็นชายหนุ่มผู้ทรงมีความเหมาะสมที่จะสืบครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา แต่เมื่อมีพระชนมายุได้ 18 พระองค์ก็ทรงมาด่วนสวรรคตลงด้วยไข้รากสาดน้อย ซึ่งทำให้ตำแหน่งรัชทายาทตกไปเป็นของพระอนุชาผู้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและเฮนรี เฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวสิทธิราชย์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์ เทวสิทธิราชย์ (Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่างๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอนและเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Basilikon Doronบาซิลิคอนโดรอนตำราการปกครองบาซิลิคอนโดรอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »