โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คูโบซัวและแมงกะพรุน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คูโบซัวและแมงกะพรุน

คูโบซัว vs. แมงกะพรุน

ูโบซัว (ชั้น: Cubozoa; Box jellyfish, Sea wasp) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นหนึ่งของไฟลัมไนดาเรีย มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษเรียกโดยรวมว่า "แมงกะพรุนกล่อง" (Box jellyfish) หรือ "แมงกะพรุนสาหร่าย" หรือ "สาโหร่ง" (Sea wasp) เพราะมีพิษที่ร้ายแรงและมีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์อันเป็นที่มาของชื่อ คูโบซัว จัดเป็นแมงกะพรุนที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับใหญ่ ๆ โดยดูที่ลักษณะของหนวดที่มีพิษเป็นสำคัญ ได้แก่ พวกที่มีหนวดพิษเส้นเดี่ยวที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม เช่น แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) กับพวกที่มีหนวดเป็นกลุ่มที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม มุมละ 15 เส้น ซึ่งจะเป็นหนวดที่ยาวมาก อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ได้แก่ Chironex fleckeri มีเข็มพิษประมาณ 5,000,0000,000 เล่มที่หนวดแต่ละเส้น ซึ่งมีพิษร้ายแรงซึมเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกต่อยได้ โดยมากจะพบตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น ออสเตรเลียทางตอนเหนือ, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะฟิลิปปิน, หมู่เกาะฮาวาย ช่วงที่พบได้มากคือ เดือนตุลาคม-เมษายน และหลังช่วงพายุฝนที่จะถูกน้ำทะเลพัดพาเข้ามาจนใกล้ฝั่ง. แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คูโบซัวและแมงกะพรุน

คูโบซัวและแมงกะพรุน มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พิษการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สัตว์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสปีชีส์ทะเลน้ำทะเลแมงกะพรุนอิรุคันจิไฟลัมไนดาเรียเมษายนเมตรChironex fleckeri

พิษ

พิษ ในบริบทชีววิทยา คือ สสารใด ๆ ที่ก่อการรบกวนแก่สิ่งมีชีวิต มักโดยปฏิกิริยาเคมีหรือกิจกรรมอย่างอื่นในระดับโมเลกุล เมื่อซึมซาบเข้าสู่สิ่งมีชีวิตนั้นในปริมาณที่เพียงพอ สาขาแพทยศาสตร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตวแพทยศาสตร์) และสัตววิทยา มักแยกพิษออกจากชีวพิษ (toxin) และจากพิษสัตว์ (venom) ชีวพิษเป็นพิษที่ผลิตโดยหน้าที่ทางชีวภาพบางอย่างในธรรมชาติ และพิษสัตว์มักนิยามเป็น ชีวพิษที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยการกัดหรือต่อยเพื่อก่อผลของมัน ขณะที่พิษอื่นโดยทั่วไปนิยามเป็นสสารที่ดูดซึมผ่านเยื่อบุผิว อาทิ ผิวหนังหรือลำไส้ หมวดหมู่:เครื่องประหารชีวิต.

คูโบซัวและพิษ · พิษและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และคูโบซัว · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

คูโบซัวและสัตว์ · สัตว์และแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

คูโบซัวและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

คูโบซัวและสปีชีส์ · สปีชีส์และแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

คูโบซัวและทะเล · ทะเลและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำทะเล

้อมูลจากแผนที่มหาสมุทรโลก แสดงค่าความเค็มในแต่ละพื้นที่ น้ำทะเล เป็นของเหลวที่ได้จากทะเลหรือมหาสมุทร โดยทั่วไปมหาสมุทรทั่วโลกมีความเค็ม (salinity) ประมาณ 3.5% หรือ 35 ส่วนต่อพันส่วน นั่นหมายความว่าในน้ำทะเลทุกๆ 1 กิโลกรัม จะพบเกลืออยู่ 35 กรัม (ส่วนมากจะพบในรูปของไอออนโซเดียมคลอไรด์ (Na+, Cl−) ความหนาแน่นเฉลี่ยที่ผิวน้ำของมหาสมุทรอยู่ที่ 1.025 กรัมต่อมิลลิลิตร น้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจืด (น้ำจืดมีความหนาแน่นสูงสุดที่ 1.000 กรัมต่อมิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส) เพราะน้ำทะเลมีความหนักของเกลือและ Electrostriction (ไฟฟ้าที่ไม่นำกระแส แต่อยู่ในเรื่องของสนามไฟฟ้า) จุดเยือกแข็งของน้ำทะเลอยู่ที่อุณหภูมิ −2 องศาเซลเซียสหรือ 28.4 องศาฟาเรนไฮต์ นัลว่ามากกว่าน้ำจืด ในน้ำทะเลที่มีความเข้มข้น 35 ส่วนต่อพันส่วน (35 ppt).

คูโบซัวและน้ำทะเล · น้ำทะเลและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุนอิรุคันจิ

แมงกะพรุนอิรุคันจิชนิด ''Malo kingi'' ในหลอดพลาสติกใส แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Irukandji jellyfish) เป็นชื่อสามัญแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดจำพวกหนึ่งของโลก จัดเป็นแมงกะพรุนจำพวกแมงกะพรุนกล่อง หรือ คูโบซัว โดยแมงกะพรุนอิรุคันจินั้นจะเป็นแมงกะพรุนที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเพียงไม่เกิน 1 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 1 ออนซ์ มีลำตัวโปร่งใส และมีหนวดที่มีเข็มพิษจำนวนมากมายที่มีพิษต่อระบบโลหิต โดยจะทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมงกะพรุนที่อาจเรียกได้ว่าเป็น แมงกะพรุนอิรุคันจินั้นแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ Carukia barnesi, Malo kingi, Alatina alata และชนิดใหม่ คือ Malo maxima (หรืออาจจะมีมากได้ถึง 6 ชนิด) โดยชื่อ "อิรุคันจิ" นั้นมีที่มาจากชาวเผ่าอิรุคันจิ ชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลียที่มีตำนานเล่าขานต่อกันมาเกี่ยวกับความเจ็บปวดและอันตรายของแมงกะพรุนจำพวกนี้หากได้สัมผัสเข้า แมงกะพรุนอิรุคันจิ ได้ถูกศึกษาครั้งแรกทางวิทยาศาสตร์ในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1960 โดยนักวิทยาศาสตร์ที่เคยถูกพิษของมันแทงเข้า ได้ลงไปจับในทะเลทางตอนเหนือของออสเตรเลียเพื่อศึกษา เดิมทีแมงกะพรุนอิรุคันจิ เผยกระจายพันธุ์แต่เฉพาะทางตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันได้มีรายงานพบในหลายพื้นที่มากขึ้น เช่น ฮาวาย, ญี่ปุ่น, ฟลอริดา รวมถึงในประเทศไทย พิษของแมงกะพรุนอิรุคันจิ ทำให้ผู้ที่โดนเข็มพิษของแมงกะพรุนจำพวกนี้แทงถูกมีอาการที่เรียกว่า "อาการอิรุคันจิ" (Irukandji syndrome).

คูโบซัวและแมงกะพรุนอิรุคันจิ · แมงกะพรุนและแมงกะพรุนอิรุคันจิ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

คูโบซัวและไฟลัม · แมงกะพรุนและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไนดาเรีย

ฟลัมไนดาเรีย หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอราตา เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา ส่วนใหญ่พบตามชายฝั่งลงไปจนถึงทะเลลึก บางชนิดพบในน้ำจืด กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้น ภายในหนวดนี้มีเข็มพิษจำนวนมาก เมื่อสัมผัสจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองและพิษจากเข็มพิษบางชนิดทำให้สัตว์เป็นอัมพาตได้ สัตว์กลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยเฉพาะพวกปะการัง เสมือนเป็นป่าใต้น้ำ ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่เจริญเติบโตและหลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน.

คูโบซัวและไนดาเรีย · แมงกะพรุนและไนดาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เมษายน

มษายน เป็นเดือนที่ 4 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน (เขียนย่อ เม.ย. ภาษาปากเรียก เมษา หรือเดือนเมษา) ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนเมษายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพฤษภ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนเมษายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปลาและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวแกะ ชื่อในภาษาอังกฤษ "April" มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แอปปรีริส ("aprilis") และ แอปเปรีเร ("aperire") หมายถึง "กางออก" ซึ่งอาจหมายถึงการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หรืออาจมาจาก Apru ชื่อเทพีแห่งความรักในภาษาของชาวอิทรูเรีย ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนเมษายนใน พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน ตามปฏิทินโรมันดั้งเดิม กำหนดให้เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ 2 ของปี และมี 29 วัน จากนั้นจูเลียส ซีซาร์ได้ปฏิรูประบบปฏิทินใหม่ เมื่อ 45 ปีก่อนคริสตกาล กำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนแรก ทำให้เดือนเมษายนขยับไปเป็นเดือนที่ 4 ของปี และมี 30 วัน.

คูโบซัวและเมษายน · เมษายนและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

คูโบซัวและเมตร · เมตรและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

Chironex fleckeri

Chironex fleckeri (/ไค-โร-เน็ก-เฟลค-เคอ-ไร/) เป็นแมงกะพรุนจำพวกแมงกะพรุนกล่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คำว่า Chironex มีรากศัพท์จากคำว่า "chiro" (Χέρι) ในภาษากรีก แปลว่า "มือ" กับคำว่า "nex" ภาษาละตินแปลว่า "ความตาย" เมื่อโตเต็มที่ จะมีหนวดมากถึง 60 เส้นซึ่งยืดได้ไกลถึง 3 เมตร มีเมดูซ่าขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอล มีดวงตาทั้งหมด 24 ดวงอยู่รอบ ๆ และมีดวงตาหลัก 2 ดวงอยู่ในดวงแต่ละคู่ ที่มีลักษณะคล้ายกับดวงตามนุษย์ คือ มีทั้งเลนส์ตา, ม่านตา และตาดำ ซึ่งทำให้เห็นภาพได้ดี และสามารถมองภาพในแบบตีลังกาได้ และมองได้รอบทิศ 360 องศา และนับเป็นระบบการมองเห็นที่ดีมากเมื่อเทียบกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดถึงการทำงานของตา ในส่วนของหนวดที่ยาวเมื่อสัมผัสกับสิ่งมีชีวิตอื่น กระเปาะเล็ก ๆ หลายล้านอันซึ่งกระจายอยู่เต็มพื้นผิวของหนวดแต่ละเส้นจะแตกตัวออกแล้วปล่อยเหล็กในออกมาใส่เหยื่อ จากนั้นเหล็กในก็จะทำหน้าที่ฉีดสารพิษเข้าไปในร่างกายของเหยื่อ ด้วยแรงที่มากถึง 1.5 ล้านแรงโน้มถ่วง หากเหยื่อเป็นมนุษย์ พิษจะออกฤทธิ์รุนแรงทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และหัวใจหยุดทำงานและคร่าชีวิตเหยื่อได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ปกติ แมงกะพรุนกล่องชนิดนี้อาศัยอยู่ในทะเลทางแถบตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยอาศัยอยู่ในน้ำตื้นรวมถึงป่าโกงกาง และหลีกเลี่ยงการอาศัยอยู่ในน้ำลึก เช่น เกรตแบร์ริเออร์รีฟเชื่อว่าเข้าไปเพื่อหาอาหารซึ่งเป็นปลา แต่บางครั้งก็อาจถูกกระแสน้ำซัดขึ้นไปในแม่น้ำถ้าระดับน้ำลดต่ำและกระแสน้ำไหลช้า แต่จากการศึกษาพบว่า Chironex fleckeri ไม่สามารถที่จะแยกแยะวัตถุที่เป็นสีขาวได้ แต่จะแยกแยะได้ในวัตถุที่เป็นสีดำหรือสีแดง Chironex fleckeri นับเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษที่มีอันตรายที่สุดในโลกและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีพิษร้ายแรงกว่าแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกสหลายเท่า และมีขนาดใหญ่กว่า C. yamaguchii ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันหลายเท่า และถึงแม้จะตายแล้วก็ยังคงมีพิษอยู่ Chironex fleckeri จะขยายพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว และจะเจริญเติบโตเต็มที่ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นฤดูกาลถัดมา กินปลาเป็นอาหาร ด้วยการแทงเหล็กในให้ปลาเป็นอัมพาต โดยกินปลามากถึงน้ำหนักตัวเองถึง 4 เท่า และเหมือนกับแมงกะพรุนกล่องทั่วไป คือ สามารถว่ายน้ำได้ไม่ใช่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำเหมือนแมงกะพรุนจำพวกอื่น ซึ่งมีความเร็วเทียบเท่ากับการว่ายน้ำของมนุษย์ มีการศึกษาพบว่าวัน ๆ หนึ่ง แม้จะว่ายน้ำไกล แต่จะเป็นเส้นทางที่ไม่เป็นเส้นตรง และจะนอนหลับพักผ่อนบนพื้นทะเลในเขตน้ำตื้นในเวลากลางคืน ป้ายเตือนอันตรายจากแมงกะพรุนกล่องในออสเตรเลีย ปัจจุบัน หลายพื้นที่ของออสเตรเลีย มีตาข่ายและป้ายเตือนนักท่องเที่ยวที่ลงเล่นน้ำให้ระวัง แต่กระนั้นก็ยังมีบางส่วนที่หลุดรอดตาข่ายนั้นเข้ามาทำอันตรายได้ รวมถึงแมงกะพรุนอิรุคันจิ ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องเช่นเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่ามากด้วยTV with Teeth - KILLER JELLYFISH, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2556.

Chironex fleckeriและคูโบซัว · Chironex fleckeriและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คูโบซัวและแมงกะพรุน

คูโบซัว มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ แมงกะพรุน มี 69 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 13.27% = 13 / (29 + 69)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คูโบซัวและแมงกะพรุน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »