โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ

ดัชนี คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ

ซุโนะกิ มะซะชิเงะ (ค.ศ. 1294 ถึง ค.ศ. 1336) เป็นซะมุไรในช่วงต้นยุคมุโระมะชิ เป็นซะมุไรคนสำคัญซึ่งสู้รบอยู่ในฝ่ายของพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ อนุสาวรีย์ของคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ในสวนของพระราชวังอิมพีเรียลนครโตเกียว ชีวิตในวัยเยาว์ของคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ และความเป็นมาของตระกูลคุซุโนะกิ ไม่ได้รับการบันทึกไว้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เป็นซะมุไรระดับล่าง อาศัยอยู่ในแคว้นคะวะชิ (จังหวัดโอซะกะในปัจจุบัน) เมื่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงประกาศเชื้อเชิญให้บรรดาซะมุไรทั้งหลายที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลโชกุนคะมะกุระเข้าร่วมกับกองกำลังของพระองค์ในการล้มล้างรัฐบาลโชกุนฯ ในปีค.ศ. 1331 คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ประกาศตนเข้ากับฝ่ายของพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ และสร้างกองกำลังอยู่ที่ป้อมอะกะซะกะ ในแคว้นคะวะชิ ซึ่งเจ้าชายโมะริโยะชิ พระโอรสของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จมายังป้อมอะกะซะกะเพื่อทรงร่วมนำทัพในการต่อต้านรัฐบาลโชกุน แต่ทว่าตระกูลโฮโจแห่งรัฐบาลโชกุนฯส่งกองทัพมาเข้าล้อมป้อมอะกะซะกะและสามารถยึดป้อมได้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ นำเจ้าชายโมะริโยะชิเสด็จหนีออกจากป้อมอะกะซะกะ จากนั้นมะซะชิเงะรวบรวมกำลังได้อีกครั้งที่ป้อมชิฮะยะ ทัพของตระกูลโฮโจเข้าล้อมป้อมชิฮะยะแต่ไม่สำเร็จ เมื่อไม่สามารถปราบกองกำลังของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะได้ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระจึงส่งอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพมาปราบกองกำลังของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ แต่ทว่าอะชิกะงะ ทะกะอุจิ แปรพักตร์มาเข้ากับฝ่ายของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ และเข้ายึดนครหลวงเคียวโตะถวายแด่พระจักรพรรดิ ส่วนนิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพเข้ายึดเมืองคะมะกุระ ทำให้รัฐบาลโชกุนคะมะกุระสิ้นสุดลง พระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงฟื้นฟูการปกครองซึ่งมีราชสำนักเมืองเกียวโตเป็นศูนย์กลางขึ้นมาใหม่ เรียกว่า การฟื้นฟูเป็นเค็มมุ (Kemmu Restoration) และลดอำนาจของชนชั้นซะมุไร สร้างความไม่พอใจให้แก่ชนชั้นซะมุไรโดยทั่วไป ในค.ศ. 1335 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ แยกตนออกไปเพื่อก่อตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ และนิตตะ โยะชิซะดะ ยังคงจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพเข้าประชิดเมืองเกียวโตในค.ศ. 1335 คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ สามารถขับไล่ทัพของอะชิกะงะออกไปได้ แต่ทว่าในปีต่อมาค.ศ. 1336 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถรวบรวมกำลังพลขนาดใหญ่ทั้งทางน้ำและทางบกเข้ามายังเมืองเกียวโต คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ถวายคำแนะนำแด่จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ว่าควรจะเสด็จออกจากนครเกียวโตไปก่อนเพื่อไปทำการตั้งรับนอกเมือง เนื่องจากทัพของอะชิกะงะมีขนาดใหญ่เกินรับมือ แต่จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและนิตตะ โยะชิซะดะ ยืนกรานที่จะตั้งรับอยู่ภายในนครหลวงเกียวโต แม้จะทราบดีว่าการสู้รบในครั้งนี้มีโอกาสชนะน้อย แต่คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ยังคงปฏิบัติตามพระราชโองการของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ยกทัพออกไปตั้งรับต่อกรกับอะชิกะงะ ในยุทธการที่มินะโตะงะวะ ทัพของนิตตะ โยะชิซะดะ ถูกโจมตีจนถอยร่นไป เหลือเพียงคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เผชิญหน้ากับทัพขนาดใหญ่ของอะชิกะงะ ทะดะโยะชิ ( ) ซึ่งเป็นน้องชายของอะชิกะงะ ทะกะอุจิ เพื่อประสบกับความพ่ายแพ้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ จึงทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต หลังจากที่คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เสียชีวิตไปแล้ว อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ ก่อตั้งรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ บุตรชายของมะซะชิเงะ คือ คุซุโนะกิ มะซะซึระ รับช่วงต่อหน้าที่การนำทัพของพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ในรัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ คุซุโนะกิ มะซะซึระ เสียชีวิตระหว่างสงครามในค.ศ. 1348 จากนั้นบุตรชายอีกคนของมะซะชิเงะ คือ คุซุโนะกิ มะซะโนะริ ขึ้นเป็นผู้นำทัพของพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ต่อมา นักวิชาการในยุคเมจิยกย่องเชิดชู คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ให้เป็นตัวอย่างของความจงรักภักดีต่อสถาบันพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ในยุคเมจิมีการสร้างอนุสาวรีย์ของคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ขึ้นในพระราชวังอิมพีเรียลเมืองโตเกียว และคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ยังเป็นแบบอย่างให้แก่กองกำลังคะมิกะเซะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้ว.

19 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1837พ.ศ. 1874พ.ศ. 1878พ.ศ. 1879พ.ศ. 1891พระราชวังหลวงโตเกียวยุคมุโระมะชิยุคเมจิรัฐบาลโชกุนอาชิกางะรัฐบาลโชกุนคะมะกุระสงครามโลกครั้งที่สองอะชิกะงะ ทะกะอุจิจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิจักรพรรดิโกะ-ไดโงะจังหวัดโอซากะคะมิกะเซะคามากูระนิตตะ โยะชิซะดะเกียวโต (นคร)

พ.ศ. 1837

ทธศักราช 1837 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและพ.ศ. 1837 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1874

ทธศักราช 1874 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและพ.ศ. 1874 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1878

ทธศักราช 1878 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและพ.ศ. 1878 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1879

ทธศักราช 1879 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและพ.ศ. 1879 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1891

ทธศักราช 1891 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและพ.ศ. 1891 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังหลวงโตเกียว

ระราชวังหลวง (ปล. ห้ามแปลว่า พระราชวังอิมพีเรียล) ในกรุงโตเกียวนั้น ปัจจุบันเป็นพระราชวังหลวงที่ประทับของจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในแขวงชิโยะดะ กรุงโตเกียว ใกล้กับสถานีรถไฟโตเกียว ภายในพระราชวังประกอบด้วยพระราชมนเทียร, พระตำหนัก (宮殿 คีวเด็ง) ของพระราชวงศ์ พิพิธภัณฑ์ของสะสมในพระองค์, สำนักพระราชวัง, และพระราชอุทยานขนาดใหญ่ พระราชวังนี้แต่เดิมเป็นที่ตั้งของปราสาทเอะโดะ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ แต่พระราชวังเดิมถูกระเบิดทำลายลงไปมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมาในปี ค.ศ. 1964 ก็ได้รับการบูรณะ ซึ่งตัวพระราชวังมีขนาดที่ดินทั้งหมด 3.41 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในภาวะฟองสบู่อสังหสริมทรัพย์ของญี่ปุ่นในทศวรรษที่ 1980 มูลค่าของพระราชวังโตเกียวนั้นมีมูลค่าสูงมากกว่ามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกาเสียอีก.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและพระราชวังหลวงโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมุโระมะชิ

มุโระมะชิ ตรงกับค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1568 ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่ เคียวโตะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลานานถึงสองศตวรรษเศษอันเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืนวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญ ๆ ตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่างลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงคราม ภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิงด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกส และสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและยุคมุโระมะชิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเมจิ

มจิ เป็นยุคสมัยของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912 ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ ยุคใหม่ (Modern Era) ของญี่ปุ่น ยุคเมจิเริ่มต้นหลังจากที่กลุ่มหัวก้าวหน้าในแคว้นโชชูและแคว้นซะสึมะ ผนึกกำลังกันล้มล้างระบอบโชกุนและระบบซะมุไร หลังจากล้มระบอบโชกุนได้แล้ว ก็สถาปนารัฐธรรมนูญและรัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ จักรพรรดิทรงย้ายเมืองหลวงจากเคียวโตะไปยังเอโดะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว คณะรัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิได้ร่วมมือกันปฏิรูปญี่ปุ่นในทุกๆด้าน มีการทำสงครามกับจักรวรรดิรัสเซียและมีชัยเหนือรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจในขณะนั้น รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิ์และมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ในกรุงโตเกียว มีการสถาปนาสภานิติบัญญัติในสมเด็จพระจักรพรรดิขึ้นมาตามแบบอย่างของรัฐสภาอังกฤษ อันประกอบด้วยสภาขุนนาง (สภาสูง) และสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ที่เหล่าขุนนางในสภาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเก็นโรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในระบบการเมือง มีการประกาศยกเลิกการครอบครองที่ดินในระบบศักดินานำที่ดินแจกจ่ายให้ชาวไร่ชาวนาทรงสร้างระบบการคมนาคมทั้งถนน ทางรถไฟ ระบบขนส่งทางทะเล เพื่อเสริมสร้างการค้าภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบไปรษณีย์ การเงินและธนาคาร และวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสนับสนุนเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน..

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและยุคเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลโชกุนอาชิกางะ

รัฐบาลโชกุนอาชิกางะ หรือที่มักรู้จักในชื่อ รัฐบาลโชกุนมูโรมาจิ เป็นระบอบการปกครองโดยกลุ่มทหารในญี่ปุ่นระหว่างปี..

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและรัฐบาลโชกุนอาชิกางะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ

รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ (鎌倉幕府 Kamakura bakufu) เป็นระบอบการปกครองโดยทหารในญี่ปุ่น อันมีประมุขของรัฐบาลคือโชกุน ตั้งแต..

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อะชิกะงะ ทะกะอุจิ

อะชิกะงะ ทะกะอุจิ (Ashikaga Takauji,足利尊氏) เป็น โชกุน คนแรกแห่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะง.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและอะชิกะงะ ทะกะอุจิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ

มเด็จพระจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ (ค.ศ. 1328 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1368) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นรัชกาลที่ 97 ตามการสืบราชบัลลังก์ตามแบบแผนดั้งเดิม และทรงเป็นสมาชิกในราชสำนักฝ่ายใต้ระหว่างยุคนันโบะกุ-โช ของราชสำนักฝ่ายเหนือ พระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1339 ถึงวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1368 (ปีโชเฮย์ที่ 23, วันที่ 11 เดือน 3).

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ

ักรพรรดิโกะ-ไดโงะ (Emperor Go-Daigo) จักรพรรดิองค์ที่ 96 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น ตามที่ได้บันทึกไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิโกะ-ไดโงะครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1861 - พ.ศ. 1882 โดยพระนามของพระองค์นั้นนำมาจากพระนามของ จักรพรรดิไดโงะ ที่ครองราชย์ในช่วง ศตวรรษที่ 9 โดยเมื่อใส่คำว่า โก ที่แปลว่า สอง หรือ ยุคหลัง เข้าไปทำให้พระนามของพระองค์แปลได้ว่า จักรพรรดิไดโงะที่สอง หรือ จักรพรรดิไดโงะยุคหลัง.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดโอซากะ

ลากลางจังหวัดโอซากะ จังหวัดโอซากะ เป็นส่วนหนึ่งของเขตแดนคันไซ ภูมิภาคคิงกิ เกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น มีเมืองเอกคือโอซากะ เป็นใจกลางของพื้นที่เคียวโตะ-โอซากะ-.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและจังหวัดโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

คะมิกะเซะ

รื่องบิน 52c Zeroes ถูกส่งจากเกาหลีสู่เกาะคีวชู (ต้นปี พ.ศ. 2488) คะมิกะเซะ หรือ เรียกอย่างเป็นทางการว่า กองกำลังจู่โจมพิเศษ (特別攻撃隊 โทะกุเบะสึโคเกะกิไต) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่าลมสวรรค์ หรือลมแห่งเทวะ คะมิกะเซะในภาษาญี่ปุ่น ถูกนำมาใช้เรียกลมสลาตัน และนำมาใช้เป็นชื่อฝูงบินและนักบินคะมิกะเซะเท่านั้น ต่างไปจากในภาษาอังกฤษที่ชาวตะวันตกนำคำๆ นี้มาใช้เรียกการโจมตีแบบพลีชีพ (suicide attacks) คำ ๆ นี้ได้ถูกนำมาใช้เรียกอากาศยานพลีชีพของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งบรรทุกระเบิดและพุ่งเข้าชนเรือ และคำนี้ยังหมายถึงนักบินผู้บังคับอากาศยานประเภทนี้ด้วย ญี่ปุ่นใช้ยุทธวิธีพลีชีพด้วยฝูงบินคะมิกะเซะนี้เป็นอย่างมาก ในช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นบุกฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) และเพื่อหยุดยั้งการบุกของกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตร และที่เมืองโอะกินะว.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและคะมิกะเซะ · ดูเพิ่มเติม »

คามากูระ

"คามากูระ" อาจหมายถึง ยุคคะมะกุระ หรือ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ คามากูระ เป็นเมืองในจังหวัดคะนะงะวะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 50 กิโลเมตร จากโตเกียว มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 39.60 ตารางกิโลเมตร และในปี..

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและคามากูระ · ดูเพิ่มเติม »

นิตตะ โยะชิซะดะ

นิตตะ โยะชิซะดะ ( ค.ศ. 1300 ถึง ค.ศ. 1338) ซะมุไรซึ่งมีช่วงชีวิตอยู่ในปลายยุคคะมะกุระและต้นยุคมุโระมะชิ เป็นผู้ล้มล้างรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นิตตะ โยะชิซะดะ นิตตะ โยะชิซะดะ เป็นโกะเกะนิง ( ) หรือซะมุไรผู้ปกครองผืนดินอยู่ที่เมืองนิตตะ (ปัจจุบันอยู่ที่เมืองโอตะ จังหวัดกุมมะ) ในแคว้นโคซุเกะ ตระกูลนิตตะสืบเชื้อสายมาจากตระกูลเซวะเง็งจิ ( ) เฉกเช่นเดียวกับตระกูลอะชิกะงะ ในค.ศ. 1333 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงประกาศเชื้อเชิญให้บรรดาซะมุไรทั้งหลายที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลโชกุนเมืองคะมะกุระเข้าร่วมกับกองกำลังของพระองค์ในการล้มล้างรัฐบาลโชกุนฯ เรียกว่า สงครามปีเก็งโก ในขณะที่อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ( ) ยึดเมืองเคียวโตะถวายแด่พระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะนั้น นิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพจากแคว้นโคซุเกะทางไปทางใต้เพื่อเข้ายึดเมืองคะมะกุระ หลังจากที่มีชัยชนะเหนือทัพของรัฐบาลโชกุนในยุทธการที่บุบะอิงะวะระ (เขตฟุชู เมืองโตเกียวในปัจจุบัน) นิตตะ โยะชิซะดะจึงยกทัพเข้าประชิดเมืองคะมะกุระ แต่ทว่าชัยภูมิของเมืองคะมะกุระมีภูเขาล้อมรอบสามด้าน การโจมตีเมืองคะมะกุระนั้นต้องผ่านทางทะเลผ่านแหลมอินะมุระงะซะกิ นิตตะ โยะชิซะดะ จึงทำพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งทะเล โดยการโยนดาบลงไปในทะเล หลังจากเสร็จสิ้นพิธีคลื่นทะเลกลับเปลี่ยนทิศไปในทางที่ส่งเสริมทัพของโยะชิซะดะ โยะชิซะดะจึงสามารถยึดเมืองคะมะกุระได้ ผู้สำเร็จราชการคนสุดท้ายคือ โฮโจ ทะกะโตะกิ ทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปพร้อมกับขุนนางซะมุไรทั้งหลายในรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นิตตะ โยะชิซะดะ ทำพิธีบวงสรวงเทพเจ้าแห่งทะเล ที่แหลมอินะมุระงะซะกิ หลังจากการล่มสลายของรัฐบาลคะมะกุระ จักรพรรดิโกะ-ไดโงะทรงก่อตั้งการปกครองขึ้นมาใหม่โดยมีอำนาจและศูนย์กลางอยู่ที่ราชสำนักเมืองเกียวโต ดังที่เคยเป็นมาในยุคเฮอัง และลดอำนาจของชนชั้นซะมุไร เรียกว่า การฟื้นฟูปีเค็มมุ (Kemmu Restoration) สร้างความไม่พอใจให้แก่ชนชั้นซะมุไรโดยทั่วไป ในค.ศ. 1335 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ แยกตนออกไปเพื่อก่อตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่นิตตะ โยะชิซะดะ ยังคงจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ โดยที่นิตตะ โยะชิซะดะ เป็นคู่แข่งคนสำคัญของอะชิกะงะทะกะอุจิ นิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพไปปราบอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ที่เมืองคะมะกุระแต่พ่ายแพ้ ทำให้อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถยกทัพเข้าประชิดเมืองเกียวโตได้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ป้องกันเมืองเกียวโตได้สำเร็จทำให้ทะกะอุจิต้องถอยร่นไป ในค.ศ. 1336 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพมาอีกครั้งเป็นทัพขนาดใหญ่ทั้งทางบกและทางทะเลเข้ามายังเมืองเกียวโต คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เสนอว่าควรจะให้จักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จออกจากนครเกียวโตไปก่อนเพื่อไปทำการตั้งรับนอกเมือง เนื่องจากทัพของอะชิกะงะมีขนาดใหญ่ แต่นิตตะ โยะชิซะดะ ยืนกรานที่จะตั้งรับอยู่ภายในนครหลวงเกียวโต ในยุทธการที่มินะโตะงะวะ ทัพของนิตตะ โยะชิซะดะ ถูกโจมตีจนถอยร่นไป ส่งผลให้ทัพของฝ่ายพระจักรพรรดิพ่ายแพ้ต่อทัพของอะชิกะงะ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถเข้ายึดนครเกียวโตได้ นิตตะ โยะชิซะดะ จึงนำองค์จักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จหลบหนีไปยังวัดเขาฮิเอ ชานเมืองเกียวโต และเสด็จหนีต่อไปยังเมืองโยะชิโนะ (จังหวัดนะระในปัจจุบัน) เพื่อก่อตั้งราชสำนักขึ้นมาใหม่ที่นั่น กลายเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ ในขณะที่อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ก็ตั้งองค์จักรพรรดิขึ้นใหม่อีกองค์ที่เมืองเกียวโต ซึ่งต่อมากลายเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของ ยุคราชวงศ์เหนือใต้ ในค.ศ. 1337 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะมีพระราชโองการให้นิตตะ โยะชิซะดะ นำพระโอรสสองพระองค์คือ เจ้าชายทะกะนะกะ และเจ้าชายซึเนะนะกะ เสด็จไปยังแคว้นเอะชิเซ็ง (จังหวัดฟุกุอิในปัจจุบัน) ทางตะวันออกอันห่างไกลเพื่อสร้างกองกำลังขึ้นมาเพื่อยึดอำนาจคืนจากรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ แต่ทว่าทัพของรัฐบาลโชกุนใหม่ยกทัพติดตามมา ทำให้นิตตะ โยะชิซะดะ และเจ้าชายทั้งสองถูกทัพของรัฐบาลโชกุนฯห้อมล้อมอยู่ที่ป้อมคะเนะงะซะกิ ต่อมาป้อมคะเนะงะซะกิแตกทัพของรัฐบาลโชกุนฯสามารถเข้ายึดป้อมได้ นิตตะ โยะชิอะกิ บุตรชายคนโตของโยะชิซะดะ ทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต เจ้าชายทั้งสองพระองค์ถูกปลงพระชนม์ ส่วนนิตตะ โยะชิซะดะนั้น หลบหนีออกไปได้ ในค.ศ. 1338 โยะชิซะดะรวบรวมกำลังเข้าโจมตีป้อมคุโระมะรุ ซึ่งเป็นป้อมของรัฐบาลโชกุนฯ ในขณะการสู้รบที่ป้อมคุโระมะรุ ม้าของโยะชิซะดะต้องธนูและล้มทับร่างของโยะชิซะดะทำให้ไม่สามารถขยับได้ เมื่อเห็นว่าตนเองกำลังพ่ายแพ้ ตามวรรณกรรมเรื่อง "ไทเฮกิ" นิตตะ โยะชิซะดะ ได้ใช้ดาบตัดศีรษะของตนเอง จนถึงแก่ความตายในที่สุด หลังจากที่นิตตะ โยะชิซะดะ เสียชีวิตไปแล้ว บุตรหลานที่ยังคงมีชีวิตรอดของโยะชิซะดะ เปลี่ยนชื่อสกุลจากนิตตะเป็น อิวะมะซึ และกลับไปครองเมืองนิตตะที่แคว้นโคซุเกะตามเดิมไปตลอดจนถึงยุคเอ.

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและนิตตะ โยะชิซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

เกียวโต (นคร)

แผนที่ ไดไดริ (แบบจำลอง) ของนครเฮอังเกียว เกียวโต, 1891 นักท่องเที่ยวที่วัดคิโยะมิซุ นครเกียวโต (ออกเสียง: เคียวโตะ) เป็นเมืองหลักของจังหวัดเกียวโต และเป็นอดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดว่าเป็นศูนย์กลางของเกาะฮนชู นอกจากนี้ นครเกียวโตยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ กลุ่มเมืองใหญ่ "เคฮันชิง" และนครเกียวโต ยังจัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 11 ของโลก ในปี..

ใหม่!!: คุซุโนะกิ มะซะชิเงะและเกียวโต (นคร) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »