โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คิเมียราและอีคิดนา (เทพปกรณัม)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คิเมียราและอีคิดนา (เทพปกรณัม)

คิเมียรา vs. อีคิดนา (เทพปกรณัม)

มียรา คิเมียรา (Chimera; Χιμαιρα; ละติน: Chimæra) เป็นสัตว์ในเทพปกรณัมกรีกซึ่งตำนานเล่าว่า เป็นลูกของอีคิดนาและไทฟอน เป็นพี่ชายของเซอร์เบอรัส คิเมียรามีร่างกายกำยำและเป็นที่รวมของสัตว์ร้าย 3 ชนิด คือ ส่วนหัวถึงหน้าอกเป็นสิงโต ลำตัวเป็นแพะ บั้นท้ายเป็นมังกรหรืองู นอกจากนี้ ยังสามารถพ่นไฟได้เหมือนมังกรอีกด้วย คิเมียราถูกวีรบุรุษเบลเลอโรฟอนผู้ขี่ม้าบินเพกาซัสแทงตายด้วยหอก เพราะคิเมียราประกอบด้วยส่วนของสัตว์ร้าย 3 ชนิดที่ไม่น่ารวมกันได้ ปัจจุบันคำว่า คิเมียรา จึงเป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตรูปร่างแปลกประหลาดหลายชนิด เช่น ปลาทะเลน้ำลึกกระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง. อีคิดนา (Echidna) ในตำนานเทพปกรณัมกรีกเป็นสตรีที่งดงาม แต่ท่อนล่างเป็นงูขนาดยักษ์ เป็นภรรยาของไทฟอน และมีลูกด้วยกันหลายตัวเช่นกัน เช่น เซอร์เบอรัส สฟิงซ์ ไคเมร่า และไฮดรา นับเป็นมารดาของเหล่าอสูรกายที่มีชื่อเสียงอีกตนหนึ่งและได้มีลูกกับซุสคือไออาคอสซึ่งต่อมาเป็นกษัตริย์และผู้พิพากษาในนรกของฮาเดส อีคิดน่าถูกยักษ์ร้อยตา อาร์กัส ซึ่งเป็นผู้รับใช้ของเฮร่าสังหาร อีคิดนายังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อตัวกินมดประเภทหนึ่งด้วย หมวดหมู่:มังกร หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตในตำนานเทพปกรณัมกรีก ภรรยาของไทฟอน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คิเมียราและอีคิดนา (เทพปกรณัม)

คิเมียราและอีคิดนา (เทพปกรณัม) มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ไทฟอนเทพปกรณัมกรีกเซอร์เบอรัส

ไทฟอน

ไทฟอน และ เซอุส ไทฟอน (Typhon) เป็นอสูรกายยักษ์ซึ่งได้เกิดมาจากพระแม่ธรณีไกอา (บ้างคัมภีร์บอกว่าเป็นเจอา ไกอา หรือไมอา) กับปีศาจทาร์ทารัสซึ่งถือกำเนิดเป็นไทฟอน (ในหนังสือ Mythology ของเฮดิธ แฮมิลต้น อธิบายไว้ว่าไทฟอนเป็นอสุรกายร้อยหัว ตาลุกไฟ และสามารถพ่นไฟได้)บ้างก็ว่าร่างกายเป็นคน น้ำตาเป็นพิษ มีหัวร้อยหัว ซึ่งเจอาได้สั่งให้ไทฟอนไปโค่นเขาโอลิมปัส พลังของไทฟอนร้ายกาจถึงขั้นสามารถกางปีกปิดโลกได้ เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายจะกลายเป็นพายุขนาดใหญ่ นอกจากนี้ไทฟอนยังเป็นบิดาของปิศาจทั้งปวง ส่วนมารดาของปิศาจทั้งปวงนั้นคืออีคิดน่า และต่อมาผู้คนที่เคยเรียกพายุนี้ว่า ไทฟอน ก็เพี้ยนมาเป็น ไต้ฝุ่น จนถึงทุกวันนี้ หมวดหมู่:ยักษ์กรีก หมวดหมู่:มังกร หมวดหมู่:เทพปกรณัมกรีก.

คิเมียราและไทฟอน · อีคิดนา (เทพปกรณัม)และไทฟอน · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

คิเมียราและเทพปกรณัมกรีก · อีคิดนา (เทพปกรณัม)และเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์เบอรัส

ประติมากรรมเทพเจ้าเฮดีสกับเซอร์เบอรัส เซอร์เบอรัส หรือ เคร์เบรอส (Cerberus; Κέρβερος เคร์เบรอส) ในเทพปกรณัมกรีกและโรมัน เป็นหมาหลายหัว (ปกติมีสาม) มีหางอสรพิษ พังพานงู และกรงเล็บสิงโต มันเฝ้าทางเข้าโลกบาดาลเพื่อป้องกันคนตายมิให้หลบหนีและคนเป็นมิให้เข้า เซอร์เบอรัสปรากฏในวรรณกรรมกรีกและโรมันโบราณหลายงาน และในงานศิลปะและสถาปัตยกรรมทั้งโบราณและสมัยใหม่ แม้การพรรณนาเซอร์เบอรัสแตกต่างกันแล้วแต่ตีความ ความแตกต่างที่สำคัญที่สุด คือ จำนวนหัว แหล่งข้อมูลส่วนมากอธิบายหรือบรรยายไว้สามหัว แต่แหล่งอื่นแสดงเซอร์เบอรัสมีสองหัวหรือหัวเดียว มีแหล่งน้อยกว่านั้นที่แสดงจำนวนต่าง ๆ บ้างว่าห้าสิบหรือกระทั่งหนึ่งร้อย เซอร์เบอรัสเป็นลูกของอีคิดนา ครึ่งสตรีครึ่งอสรพิษ กับไทฟอน สัตว์ประหลาดยักษ์ซึ่งแม้แต่เทพเจ้ากรีกยังขยาด พี่น้องมีเลอร์เนียนไฮดรา, ออร์ธรัส (Orthrus) หมานรกสองหัว และคิเมียรา สัตว์ประหลาดสามหัว การพรรณนาสามัญของเซอร์เบอรัสในเทพปกรณัมและศิลปะกรีก คือ มีสามหัว ในงานส่วนใหญ่ สามหัวนั้นมองและเป็นเครื่องหมายของอดีต ปัจจุบันและอนาคต ขณะที่แหล่งอื่นแนะว่า หัวทั้งสามเป็นสัญลักษณ์ของการเกิด เยาว์วัยและชราวัย กล่าวกันว่า หัวของเซอร์เบอรัสมีความอยากอาหารเฉพาะเนื้อมีชีวิต ฉะนั้นจึงให้วิญญาณผู้วายชนม์เข้าโลกบาดาลได้อย่างเสรี แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใดออก เซอร์เบอรัสเป็นหมาเฝ้าที่ซื่อสัตย์ของเฮดีส และเฝ้าประตูเข้าออกโลกบาดาล ไม่มีบันทึกว่าเซอร์เบอรัสเป็นสุนัขพันธุ์ใด ดังนั้นในทางศิลปะจึงพบเห็นเซอร์บีรัสได้หลากหลายสายพันธุ์มาก.

คิเมียราและเซอร์เบอรัส · อีคิดนา (เทพปกรณัม)และเซอร์เบอรัส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คิเมียราและอีคิดนา (เทพปกรณัม)

คิเมียรา มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ อีคิดนา (เทพปกรณัม) มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 15.79% = 3 / (13 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คิเมียราและอีคิดนา (เทพปกรณัม) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »