ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คาร์ล มากซ์และลัทธิมากซ์
คาร์ล มากซ์และลัทธิมากซ์ มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชนชั้นกระฎุมพีชนกรรมาชีพฟรีดริช เองเงิลส์ลัทธิคอมมิวนิสต์วิภาษวิธีสังคมนิยมทุนนิยมประวัติศาสตร์
ชนชั้นกระฎุมพี
กระฎุมพี (/กฺระดุมพี/) เป็นชนชั้นทางสังคมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางหรือชนชั้นพ่อค้าวาณิช ซึ่งได้สถานะทางสังคมหรืออำนาจมาจากหน้าที่การงาน การศึกษา หรือความมั่งมี (ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกอภิชน) เป็นชนชั้นที่มีฐานะจากการค้าขายหรืองานช่างฝีมือ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งอาจหมายรวมถึง นายทุน นายทุนน้อย คนชั้นกลาง ส่วน "ไพร่กระฎุมพี" นั้น หมายถึงชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่ากระฎุมพีแต่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม เป็น "พลเมืองที่มีเงินพอใช้เลี้ยงชีวิตไม่เป็นทาสบุคคลผู้ใด"ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ,, มติชน, 1 กันยายน..
คาร์ล มากซ์และชนชั้นกระฎุมพี · ชนชั้นกระฎุมพีและลัทธิมากซ์ ·
ชนกรรมาชีพ
นกรรมาชีพ (proletariat) เป็นคำใช้อธิบายชนชั้นลูกจ้าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนงานอุตสาหกรรม) ในสังคมทุนนิยมซึ่งครอบครองมูลค่าทางวัตถุ (material value) ที่สำคัญอย่างเดียว คือ พลังแรงงาน (labour-power) หรือความสามารถในการทำงาน สมาชิกของชนชั้นนี้เรียก ชนกรรมาชี.
คาร์ล มากซ์และชนกรรมาชีพ · ชนกรรมาชีพและลัทธิมากซ์ ·
ฟรีดริช เองเงิลส์
ฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels) เป็นนักคิดนักเขียนชาวเยอรมัน และนักทฤษฎีสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ เป็นเพื่อนร่วมงานและคู่คิดที่ใกล้ชิดของ คาร์ล มาร์กซ์ โดยร่วมกันวางรากฐานของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และลัทธิมาร์กซ และมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงหลักการของลัทธิมาร์กซว่าด้วยวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ และวัตถุนิยมวิภาษวิธี ให้ก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปในขบวนการสังคมนิยม.
คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ · ฟรีดริช เองเงิลส์และลัทธิมากซ์ ·
ลัทธิคอมมิวนิสต์
ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.
คาร์ล มากซ์และลัทธิคอมมิวนิสต์ · ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิมากซ์ ·
วิภาษวิธี
วิภาษวิธี (dialectic) เป็นวิธีการถกเถียงเพื่อระงับความไม่ลงรอยซึ่งอยู่กลางปรัชญายุโรปและอินเดียมาแต่สมัยโบราณ คำว่า dialectic กำเนิดในกรีซโบราณ และเพลโตทำให้แพร่หลายในบทสนทนาโสเครตีส วิภาษวิธีเป็นวจนิพนธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีมุมมองต่างกันเกี่ยวกับหัวเรื่องหนึ่ง ซึ่งปรารถนาสถาปนาความจริงของสสารที่มีการถกเถียงด้วยเหตุผลชี้นำ คำว่า วิภาษวิธี ไม่เป็นไวพจน์กับคำว่า การอภิปราย (debate) แม้ตามทฤษฎี ผู้อภิปรายไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์ร่วมในมุมมองของตน แต่ในทางปฏิบัติ ผู้อภิปรายมักแสดงความยึดติดทางอารมณ์ซึ่งอาจบดบังการตัดสินด้วยเหตุผลได้ ผู้อภิปรายชนะโดยการโน้มน้าวฝ่ายตรงข้าม พิสูจน์ว่าการให้เหตุผลของตัวถูกต้อง หรือพิสูจน์ว่าการให้เหตุผลของฝ่ายตรงข้ามผิดรวมกัน การอภิปรายไม่จำเป็นต้องระบุผู้ชนะหรือผู้แพ้ชัดเจนในทันที ทว่า บ่อยครั้งผู้ชนะชัดเจนมักตัดสินโดยผู้พิพากษา คณะลูกขุนหรือโดยการเห็นพ้องต้องกันของกลุ่ม คำว่า วิภาษวิธี ยังไม่เป็นไวพจน์กับคำว่า วาทศิลป์ คือ วิธีหรือศาสตร์วจนิพนธ์ซึ่งมุ่งโน้มน้าว แจ้งหรือกระตุ้นผู้ฟัง นักวาทศิลป์มักใช้มโนทัศน์ เช่น logos หรือการอุทธรณ์เหตุผล pathos หรือการอุทธรณ์อารมณ์ และ ethos หรือการอุทธรณ์จริยศาสตร์ โดยเจตนาเพื่อชักจูงผู้ฟัง หมวดหมู่:ปรัชญาสังคม หมวดหมู่:วาทศิลป์ หมวดหมู่:วิธีวิทยาปรัชญา.
คาร์ล มากซ์และวิภาษวิธี · ลัทธิมากซ์และวิภาษวิธี ·
สังคมนิยม
ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.
คาร์ล มากซ์และสังคมนิยม · ลัทธิมากซ์และสังคมนิยม ·
ทุนนิยม
"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..
คาร์ล มากซ์และทุนนิยม · ทุนนิยมและลัทธิมากซ์ ·
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ คาร์ล มากซ์และลัทธิมากซ์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง คาร์ล มากซ์และลัทธิมากซ์
การเปรียบเทียบระหว่าง คาร์ล มากซ์และลัทธิมากซ์
คาร์ล มากซ์ มี 104 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลัทธิมากซ์ มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 7.02% = 8 / (104 + 10)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คาร์ล มากซ์และลัทธิมากซ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: