เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คาร์บามาเซพีนและโรคอารมณ์สองขั้ว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คาร์บามาเซพีนและโรคอารมณ์สองขั้ว

คาร์บามาเซพีน vs. โรคอารมณ์สองขั้ว

ร์บามาเซพีน (Carbamazepine) หรือชื่อทางการค้าคือ เทเกรทอล (Tegretol) เป็นยาสามัญใช้สำหรับรักษาโรคลมชักและอาการปวดเส้นประสาท แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้รักษาโรคชักเหม่อและกล้ามเนื้อกระตุกรัว นอกจากนี้ ยังถูกใช้ควบคู่กับยาอื่นๆในการรักษาโรคจิตเภทและเป็นยารองในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว ยาคาร์บามาเซพีนมีการทำงานเหมือนกับยาเฟนิโทอินและวาลโปรเอท ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคาร์บามาเซพีนได้แก่คลื่นไส้และง่วง ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงได้แก่ เป็นผื่นคัน, ไขกระดูกลดลง, คิดฆ่าตัวตาย หรือเกิดภาวะสับสน ยาชนิดนี้ไม่เหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคเกี่ยวกับไขสันหลัง สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงยาชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคชักเหม่อไม่ควรหยุดใช้ยาชนิดนี้โดยทันที ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตหรือตับควรใช้อย่างระมัดระวังภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ยาชนิดนี้ยังทำให้การได้ยินเสียงผิดเพี้ยนไปจากเดิมได้ด้วย คาร์บามาเซพีนถูกค้นพบในปี.. รคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) เดิมเรียก ความเจ็บป่วยฟุ้งพล่าน-ซึมเศร้า (manic-depressive illness) เป็นโรคจิตซึ่งมีลักษณะ คือ มีช่วงที่ครึ้มใจและช่วงที่ซึมเศร้า อารมณ์ครึ้มใจมีความสำคัญและเรียก อาการฟุ้งพล่าน (mania) หรือภาวะไฮโปเมเนีย (hypomania) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือมีโรคจิตหรือไม่ ระหว่างภาวะฟุ้งพล่าน ปัจเจกบุคคลรู้สึกหรือแสดงออกว่ามีความสุข มีกำลังหรือหงุดหงิดผิดปกติ มักตัดสินใจไม่ดีโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ ความต้องการนอนหลับมักลดลง ระหว่างช่วงซึมเศร้า อาจมีการร้องไห้ เลี่ยงการสบตากับผู้อื่นและมองชีวิตในแง่ลบ ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคนี้สูงที่กว่า 6% ในเวลา 20 ปี ขณะที่การทำร้ายตัวเองเกิด 30–40% โรคนี้ปกติสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอื่น เช่น โรควิตกกังวลและโรคการใช้สารเสพต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คาร์บามาเซพีนและโรคอารมณ์สองขั้ว

คาร์บามาเซพีนและโรคอารมณ์สองขั้ว มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): โรคลมชัก

โรคลมชัก

รคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู (epilepsy มีรากศัพท์จากἐπιλαμβάνειν หมายถึง ยึด ครอบครอง หรือ ทำให้เจ็บป่วย) เป็นกลุ่มโรคทางประสาทวิทยาซึ่งถูกจำกัดความโดยอาการชักอันมีต้นเหตุจากการทำงานอย่างสอดคล้องกันมากเกินไปของเซลล์ประสาท ระยะเวลาและความรุนแรงของโรคลมชักสามารถมีได้ตั้งแต่แบบสั้นๆและแทบไม่มีอาการ ไปจนถึงอาการสั่นอย่างรุนแรงเป็นเวลานานๆ อาการชักดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายเช่น กระดูกหัก ลักษณะสำคัญของโรคลมชักคืออาการชักจะเกิดขึ้นซ้ำๆโดยไม่มีสิ่งเร้าหรือกระตุ้น อาการชักซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าอย่างใดหนึ่งอย่างชัดเจน (เช่น ภาวะขาดเหล้า) จะไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคลมชักในบางประเทศมักถูกตีตราจากสังคมเนื่องจากอาการที่แสดงออกมา โรคลมชักในผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ดีโรคลมชักสามารถเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บทางสมอง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีเนื้องอกในสมอง หรือ ได้รับการติดเชื้อทางสมอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า อิพิเลปโตเจเนซิส ความผิดปกติของพันธุกรรมมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคลมชักในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย การชักจากโรคลมชักเป็นผลจากการทำงานที่ผิดปกติหรือมากเกินไปของเซลล์เปลือกสมอง การวินิจฉัยมักจะทำโดยการตัดภาวะอื่นๆซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันออกไปก่อน เช่น เป็นลม นอกจากนี้การวินิจฉัยยังรวมไปถึงการพิจารณาว่ามีสาเหตุอื่นๆของการชักหรือไม่ เช่น การขาดแอลกอฮอล์ หรือ ความผิดปกติของปริมาณอิเล็กโตรไลต์ในเลือด ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสมองผ่านการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และ การตรวจเลือด บ่อยครั้งโรคลมชักสามารถได้รับการยืนยันด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง แต่ผลการตรวจที่ปกติก็ไม่ได้ทำให้แพทย์สามารถตัดโรคดังกล่าวออกไปได้ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยยา ซึ่งบ่อยครั้งตัวเลือกที่ให้ผลการควบคุมอาการดีมีราคาถูก ในกรณีที่อาการชักของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาการผ่าตัด การกระตุ้นระบบประสาท และ การเปลี่ยนอาหารได้เป็นกรณีไป โรคลมชักมิได้คงอยู่ตลอดไปในผู้ป่วยทุกราย มีผุ้ป่วยหลายรายที่อาการดีขึ้นจนถึงขั้นไม่ต้องใช้ยา ข้อมูลในปี..

คาร์บามาเซพีนและโรคลมชัก · โรคลมชักและโรคอารมณ์สองขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คาร์บามาเซพีนและโรคอารมณ์สองขั้ว

คาร์บามาเซพีน มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคอารมณ์สองขั้ว มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.76% = 1 / (9 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คาร์บามาเซพีนและโรคอารมณ์สองขั้ว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: