เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คัมภีร์ไบเบิลและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คัมภีร์ไบเบิลและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

คัมภีร์ไบเบิล vs. พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร. ระวิหารในมโนทัศน์ในหนังสือเอสเซเคียล 40-47 พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม (Temple in Jerusalem) หรือพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ (Holy Temple; בית המקדש (Bet HaMikdash.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คัมภีร์ไบเบิลและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

คัมภีร์ไบเบิลและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระยาห์เวห์พระเจ้าศาสนายูดาห์ศาสนาคริสต์ผู้เผยพระวจนะดาวิดคัมภีร์ฮีบรูซาโลมอนโดมแห่งศิลาเมสสิยาห์เยรูซาเลมเยเรมีย์

พระยาห์เวห์

หรียญเงินราวสี่ศตวรรษก่อนคริสตกาลที่พบในอิสราเอล เชื่อว่าบุคคลที่ประทับอยู่บนสุริยบัลลังก์มีปีกนั้นคือพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 647-8 (Yahweh) พระเยโฮวาห์ (Jahovah) พระยะโฮวา (ศัพท์พยานพระยะโฮวา) (Yahova) ยฮวฮ (ศัพท์ศาสนายูดาห์) (יהוה; YHWH) เป็นพระนามของพระเป็นเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (ทานัค) ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยเล่มเก่านั้นปรากฏพระนามนี้อยู่หลายครั้ง ในคัมภีร์ดั้งเดิมเขียนด้วยอักษร 4 ตัว แต่เนื่องจากอักษร 4 ตัว (ยฮวฮ|YHWH) นั้นผู้เขียนไม่ได้ใส่สระไว้ ทำให้การออกเสียงที่ถูกต้องถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยการพูด คัมภีร์ดั้งเดิมหรือต้นฉบับปรากฏพระนามนี้ประมาณ 7 พันครั้ง ในฉบับภาษาไทยเล่มเก่า ๆ ยังปรากฏพระนามนี้อยู่ การแปลในยุคต่อ ๆ มาได้เปลี่ยนพระนามมา 3 ครั้ง ปัจจุบันสะกดพระนามนี้ว่า ยาห์เวห์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahweh การทับศัพท์ เยโฮวาห์ มีต้นกำเนิดมาจากการที่นักวิชาการชาวยุโรปถอดอักษรฮีบรู יהוה เป็นอักษรโรมัน 4 ตัวได้เป็น YHWH แล้วผสมสระจึงได้การออกเสียงเป็น "เยโฮวาห์" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Jehovah การทับศัพท์นี้แพร่หลายไปในภาษาต่าง ๆ รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยฉบับเก่า ๆ เช่น ฉบับ 1971 ยังปรากฏพระนาม "เยโฮวาห์" นี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีการทับศัพท์ว่า "ยะโฮวา" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahovah ในคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ 1940 อีกด้วย แต่ในปัจจุบันนักวิชาการนิยมทับศัพท์ใหม่ว่า ยาห์เวห์ ตามหลักฐานที่ค้นพบและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ยฮวฮ คือพระนามของพระเป็นเจ้าสูงสุด ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ "เยโฮวาห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ "ยาห์เวห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 แต่เพื่อให้เกิดความเป็นสากลในทุกนิกาย ทั้งใน โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อออกพระนามพระเป็นเจ้าจะออกเสียงว่า "พระเจ้า" และ "ยฮวฮ" ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) ทุกฉบับ ในภาษาฮีบรู ยาห์เวห์ แปลว่า เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น หรือแปลได้อีกว่า เราอยู่(ด้วย) ซึ่งก็คือ พระองค์ทรงฤทธิ์ที่จะเป็นอะไรก็ได้ตามพระประสงค์ของพระอง.

คัมภีร์ไบเบิลและพระยาห์เวห์ · พระยาห์เวห์และพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

คัมภีร์ไบเบิลและพระเจ้า · พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมและพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

คัมภีร์ไบเบิลและศาสนายูดาห์ · พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

คัมภีร์ไบเบิลและศาสนาคริสต์ · พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผยพระวจนะ

''อิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ'' วาดโดยเบนจามิน เวสต์ (1782, Bob Jones University Museum and Gallery). ผู้เผยพระวจนะ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) ประกาศก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ศาสดาพยากรณ์ (prophet; προφήτης,: จากคำนิบาต προ- pro- แปลว่า เบื้องหน้า และ φημί แปลว่า พูด, กล่าวออกไป) หมายถึง ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเจิมตั้งไว้เพื่อการรับพระดำรัสของพระองค์มาถ่ายทอดสู่มวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำนายอนาคต ผู้บอกเล่าอนาคต หรือประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า ปรากฏในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ภาคผนวกจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยได้อธิบายคำว่า “ผู้เผยพระวจนะ” ไว้ว่า “กระบอกเสียงของพระเจ้า คนที่ได้รับข่าวสารหรือพระดำรัสของพระเจ้าและประกาศให้แก่กลุ่มคนที่เจาะจง”.

คัมภีร์ไบเบิลและผู้เผยพระวจนะ · ผู้เผยพระวจนะและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวิด

กษัตริย์ดาวิด หรือ พระเจ้าดาวิด (David; דָּוִד ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: Davíd; ภาษาฮีบรูไทบีเรียน: Dāwíð; داوود or داود, Dāwūd,; หมายถึง เป็นที่รัก) (1037 - 967 ก่อนคริสต์ศักราช; ปกครองราชอาณาจักรยูดาห์และราชอาณาจักรอิสราเอล 1005 - 967 ก่อนคริสต์ศักราช) ดาวิด เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองของราชอาณาจักรอิสราเอล กล่าวกันว่ามีคุณธรรมและเป็นนักการทหารที่มีความสามารถ นอกจากนี้ยังเป็นนักดนตรี กวี (เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียนเพลงสดุดีหลายเพลง) ดาวิดในวัยเด็กเป็นเพียงเด็กเลี้ยงแกะธรรมดา แต่เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกและมีอุปนิสัยกล้าหาญไม่เกรงกลัวใคร โดยอาสาเข้าต่อสู้ตัวต่อตัวกับ โกไลแอ็ธ นักรบร่างมหึมาผู้เป็นทหารเอกของชาวฟิลิสทีน และสามารถสังหารโกไลแอ็ธลงได้ จึงมีความดีความชอบได้มารับใช้พระเจ้าซาอูล (Saul) ในฐานะนายพลและที่ปรึกษาทางทหารคนสนิท และยังเป็นเพื่อนสนิทกับ โจนาธาน ราชบุตรของซาอูล ต่อมาพระเจ้าซาอูลเกิดระแวงว่าดาวิดจะแย่งชิงราชบัลลังก์ จึงพยายามกำจัดดาวิด แต่ซาอูลและโจนาธานพ่ายแพ้เสียชีวิตในการรบ ดาวิดจึงได้รับการเจิมขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของอิสราเอล ต่อมาพระเจ้าดาวิดทรงพิชิตเยรูซาเลมได้ และนำหีบแห่งพันธสัญญาเข้ามาประดิษฐานในเมือง แต่เนื่องจากทรงประพฤติผิดทางเพศต่อนางแบธชีบา ทำให้พระองค์ถูกพระเจ้าตำหนิติเตียนและทำให้ทรงหมดความชอบธรรมที่จะสร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในเยรูซาเลม ชาวยิวถือว่าดาวิดและกษัตริย์โซโลมอน พระราชบุตรของพระองค์ เป็นผู้ก่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้น ดาวิดถือเป็นต้นแบบของกษัตริย์ในอุดมคติของชาวอิสราเอล นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า พระเมสสิยาห์ หรือพระผู้ไถ่ ที่จะมาจุติในอนาคตจะเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพระองค์ ชีวิตของกษัตริย์ดาวิดที่บันทึกไว้ในหนังสือซามูเอล เล่มที่ 1 ในพันธสัญญาเดิมตั้งแต่บทที่ 16 เป็นต้นไปและหนังสือพงศาวดาร ดาวิดเป็นบุคคลสำคัญในศาสนาอับราฮัม.

คัมภีร์ไบเบิลและดาวิด · ดาวิดและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

คัมภีร์ฮีบรูและคัมภีร์ไบเบิล · คัมภีร์ฮีบรูและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

ซาโลมอน

ซาโลมอน (ศัพท์คริสต์ศาสนา) หรือ โซโลมอน (ศัพท์ประวัติศาสตร์) (ละติน: Solomon; שְׁלֹמֹה) มาจากราก S-L-M ที่แปลว่า ความสงบ ในอิสลามว่า สุลัยมาน หรือตามฉายาคือ ซาโลมอนผู้ทรงปัญญา ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ใช้ในคัมภีร์ฮีบรูคือ เจดิดิอา (יְדִידְיָהּ) ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งอิสราเอล ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูหมวดทานัคของศาสนายูดาห์ คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ และในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กล่าวว่ากษัตริย์ซาโลมอนเป็นบุตรของดาวิด และกล่าวว่าเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของสหราชอาณาจักรอิสราเอลและกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่จะแยกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือและราชอาณาจักรยูดาห์ทางใต้ หลังจากการแยกตัวผู้ที่สืบเชื้อสายก็ปกครองแต่เพียงราชอาณาจักรยูดาห์เท่านั้น พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าซาโลมอนเป็นผู้สร้างวิหารแห่งซาโลมอน ในกรุงเยรูซาเลมที่ถือกันว่าเป็นพระวิหารแห่งเยรูซาเลมหลังแรก และเป็นผู้มีความฉลาด มั่งคั่ง และอำนาจอย่างมากในยุคนั้น.

คัมภีร์ไบเบิลและซาโลมอน · ซาโลมอนและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

โดมแห่งศิลา

quote.

คัมภีร์ไบเบิลและโดมแห่งศิลา · พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมและโดมแห่งศิลา · ดูเพิ่มเติม »

เมสสิยาห์

ระเมสสิยาห์ (Messiah; מָׁשִיַח มาซียาห์; ܡܫܝܚܐ; Μεσσίας; مشيح) หมายถึง พระผู้ช่วยให้รอดตามความเชื่อในกลุ่มศาสนาอับราฮัม ได้แก่ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ในคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ พระเมสสิยาห์ หมายถึง พระมหากษัตริย์หรือมหาปุโรหิต ซึ่งได้รับแต่งตั้งด้วยการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ พระเมสสิยาห์อาจไม่ใช่ชาวยิวเสมอไป เช่น พระเจ้าไซรัสมหาราช ผู้ปลดปล่อยชาวยิวจากการเป็นเชลยก็ถือว่าเป็นพระเมสสิยาห์ด้วย ต่อมาความหมายของเมสสิยาห์เปลี่ยนไป ใช้หมายถึงกษัตริย์ยิวผู้ปกครองโลกในยุคสุดท้ายไปตลอดชั่วนิรันดร์ ตามความเชื่อและอวสานวิทยาของชาวยิว พระเมสสิยาห์จะเป็นคนในเชื้อสายดาวิดและได้เป็นผู้นำของชาวยิวในอนาคต ตลอดจนทั้งโลกในยุคพระเมสสิยาห์ คำว่า เมสสิยาห์ ตรงกับภาษากรีกว่า คริสตอส ซึ่งแปลว่า พระคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนจึงใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซู เพราะเชื่อว่าพระผู้ช่วยให้รอดที่คัมภีร์ฮีบรูหรือคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมได้กล่าวถึงนั้น คือ พระเยซูคริสต์ ในตำราหะดีษของศาสนาอิสลามก็ระบุว่าอีซา (เยซู) บุตรนางมัรยัม (มารีย์) ก็คือนบีและมะซีฮ์ (เมสสิยาห์) ที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาช่วยวงศ์วานอิสราเอลตามพันธสัญญา และเชื่อว่าท่านจะกลับมายังโลกอีกครั้งพร้อมกับอิมามมะฮ์ดี และร่วมกันกำจัดมะซีห์ อัด-ดัจญาล (ศัตรูของพระคริสต์)http://muttaqun.com/dajjal.html.

คัมภีร์ไบเบิลและเมสสิยาห์ · พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมและเมสสิยาห์ · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

คัมภีร์ไบเบิลและเยรูซาเลม · พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เยเรมีย์

ผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์บนเพดานในชาเปลซิสตินโดยไมเคิล แอนเจโล เยเรมีย์ (Jeremiah, יִרְמְיָהוּ: - Yirməyāhū, ความหมาย "Yhwh will raise"; Ἰερεμίας) เป็นหนึ่งในผู้เผยพระวจนะใหญ่ในคัมภีร์ฮีบรู เป็นบุตรของฮิลคิยะห์ (Hilkiah) นักบวชจากอนาโธธ และเป็นผู้เขียนหนังสือเยเรมีย์ เยเรมีย์เป็นหนึ่งในหมู่ปุโรหิตเมืองอานาโธทในแผ่นดินของเผ่าเบนยามิน เยเรมีย์ผู้เผยพระวจนะ มีชีวิตอยู่ในช่วงหลังของศตวรรษที่เจ็ดต่อเนื่องถึงช่วงแรกของศตวรรษที่หกก่อนคริตส์ศักราช ในระหว่างการทำพันธกิจอันยาวนาน เยเรมีย์เตือนประชากรของพระเจ้าถึงวิบัติภัยที่จะเกิดแก่ชาติเนื่องด้วยพวกเข้ากราบไหว้รูปเคารพและทำบาป เยเรมีย์มีชีวิตอยู่จนได้เห็นคำพยากรณ์นี้เกิดขึ้นจริงเมื่อกรุงเยรูซาเลมล่มสลายด้วยมือเนบูคัดเนสซาร์กษัตริย์บาบิโลน ทั้งนครกับพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมถูกทำลาย และกษัตริย์กับคนยูดาห์จำนวนมากตกไปเป็นเชลยที่บาบิโลน เยเรมีย์ได้ทำนายด้วยว่าในที่สุดประชาชนจะกลับมาจากการเป็นเชลยและฟื้นฟูบูรณะชาติขึ้นใหม่ หนังสือเยเรมีย์อาจแบ่งเป็นส่วน ๆ ได้ดังนี้ 1) ข่าวสารจากพระเจ้าถึงชาติยูดาห์กับบรรดาผู้นำระหว่างรัชสมัยของโยสิยาห์ เยโฮยาคิม เยโฮยาคีน และเศเดคียาห์ 2) เนื้อหาจากบันทึกของบารุคผู้เป็นเลขานุการของเยเรมีย์ รวมทั้งการเผยพระวจนะและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ จากชีวิตของเยเรมีย์ 3) ข่าวสารจากองค์เจ้านายเกี่ยวกับประเทศอื่นๆ 4) ภาคผนวกเชิงประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องราวการล่มสลายของกรุงเยรูซาเลมและการเป็นเชลยของบาบิโลน เยเรมีย์เป็นคนละเอียดอ่อน ท่านรักประชาชนในชาติอย่างลึกล้ำ และเกลียดที่จะต้องประกาศการพิพากษาซึ่งจะเกิดแก่พวกเขา ในข้อพระคัมภีร์หลายตอนเยเรมีย์พูดจากความรู้สึกลึก ๆ ถึงความทุกข์อันเนื่องมาจากการที่พระเจ้าทรงเรียกให้ท่านเป็นผู้เผยพระวจนะ พระวจนะขององค์เจ้านายเหมือนไฟเผาหัวใจจนท่านไม่อาจเก็บถ้อยคำเหล่านั้นไว้ได้ พระวจนะที่ยิ่งใหญ่บางตอนในพระธรรมชี้ไปไกลกว่ายุคสมัยอันทุกข์ยากวุ่นวานของเยเรมีย์เอง ชี้ถึงวันเวลาที่จะมีพันธสัญญาใหม่ เป็นพันธสัญญาที่ประชากรของพระเจ้าจะถือรักษาโดยไม่ต้องมีธรรมมาจารย์มาคอยเตือน เพราะพันธสัญญานั้นจารึกบนหัวใจของเขาเอง.

คัมภีร์ไบเบิลและเยเรมีย์ · พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมและเยเรมีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คัมภีร์ไบเบิลและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

คัมภีร์ไบเบิล มี 94 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 9.76% = 12 / (94 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คัมภีร์ไบเบิลและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: